Daily Focus Earnings and Value Play

ตลาดหุ้นวานนี้ :

SET Index แกว่งตัว Sideways ตลอดทั้งวันก่อนปิดทรงตัว -0.16 จุด โดยนักลงทุนต่างรอดูตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯซึ่งประกาศเมื่อคืนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิในตลาดหุ้นหนาแน่นถึง 8.5 พันลบ. ขณะที่สถาบันในประเทศและรายย่อยขายสุทธิ 4.9 พันลบ.และ 3.7 พันลบ. ตามลำดับ (สถานะใน SET50 Index Futures แต่ละกลุ่มไม่มีนัยยะมากนัก)

แนวโน้มตลาดวันนี้ :

เราคาด SET Index มีแนวโน้มลงระยะสั้นหากรอบ 1,690+- จุด ตามบรรยากาศการลงทุนที่ค่อนข้างเป็นลบ  และเม็ดเงินที่ไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง หลังสหรัฐฯประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ม.ค. ออกมาสูงกว่าตลาดคาด +0.6% M-M +7.5% Y-Y ทำให้ตลาดกังวลว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่ประเมิน โดยปัจจุบันตลาดคาด FED ขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมเดือน มี.ค. ด้วยความน่าจะเป็น 89% และขึ้นครบ 1% ในการประชุมเดือน มิ.ย. เราประเมินว่าหุ้นกลุ่ม Tech และ Growth ที่ปัจจุบันซื้อขายที่ระดับ PER สูงยังคงถูกกดดัน ขณะที่กลุ่ม Domestic และ Value Play จะปรับตัวได้แข็งแรงกว่า โดยเฉพาะแรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่จะเริ่มฟื้นตัวชัดขึ้นใน 2H22 หนุนการเติบโตระยะยาวและหนุนกระแสเงินทุน คาดยังไหลเข้า  กลยุทธ์ยังเน้นลงทุนในหุ้นที่คาดมีกําไร 4Q21 แข็งแกร่ง และ PER/PBV ไม่สูง

กลยุทธ์ : เลือกลงทุนในหุ้น Value และมีแนวโน้มกำไร 4Q21 แข็งแกร่ง

หุ้นเด่นเดือน ก.พ. : GFPT, HMPRO, PJW, SC, TKS

หุ้นเด่นวันนี้ : TTB

  • แนะนํา “ซื้อ” ราคาเป้าหมายจาก FSSIA 1.80 บาท
  • เราคาดกำไรสุทธิปี 2022 ของ TTB จะเติบโตสูงสุดในกลุ่มธนาคาร +27% Y-Y จากประโยชน์หลังการควบรวมเต็มปีทั้งการ Cross Selling รวมถึงลดค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน และเป็นธนาคารเดียวที่ ROE จะสูงเหนือระดับก่อน COVID-19
  • ฐานลูกค้าที่เป็นรายย่อยมากขึ้น ทำให้ Loan Yield สูง และมีโอกาสเกิดการ Rerate Valuation ขึ้น ขณะที่ปัจจุบัน TTB ซื้อขายที่ระดับ PBV เพียง 0.6 เท่า ซึ่งเรามองว่านต่ำเกินไป
  • แนวรับ 1.38//1.31 บาท แนวต้าน 1.47-1.50//1.70 บาท

Fund Flow:

วานนี้กระแสเงินทุนยังคงไหลเข้าภูมิภาคหนาแน่น US$1,128 ล้าน นำโดยเกาหลีใต้และไต้หวัน US$472 ล้านและ US$301 ล้าน ตามลำดับ ส่วนอาเซียนส่วนใหญ่ไหลเข้า นำโดยไทย US$259 ล้าน แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่าจะชะลอการไหลเข้า หลังตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯเดือน ม.ค. ออกมาสูงกว่าคาด กดดันสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง

ประเด็นสำคัญวันนี้

(+) SC แถลงกลยุทธ์ 4 ปี โดยเน้น Thriving Connecting และ Sustaining โดยเติบโต ทั้งธุรกิจอสังหาฯและเกี่ยวเนื่องเชื่อมต่อเทคโนโลยีกับสินค้าและบริการ และสร้างแบรนด์ที่น่าเชื่อถือและใส่ใจสิ่งแวดล้อม ส่วนเป้าหมายปี 2022 ตั้งเป้ารายได้ 2.2 หมื่นลบ. +16% Y-Y และรุกแผนเปิดโครงการใหม่ 27 โครงการรวม 4 หมื่นลบ. มากกว่าที่เราประเมินอย่างมีนัยยะ ทำให้ประมาณการของเรามี Upside รวมถึงราคาเป้าหมาย 4.20 บาท ส่วนระยะสั้นกำไร 4Q21 คาดออกมาโดดเด่น แนะนำ “ซื้อ”

(+) TWPC ปัจจุบันอยู่ในช่วง High Season ของธุรกิจ คาดกำไร 4Q21 +36% Q-Q, +489% Y-Y ราคาขายแป้งมันยังอยู่ในระดับสูง และแนวโน้มกำไร 1Q22 จะเร่งตัวขึ้นแรงต่อเนื่องจาก Demand การส่งออกแป้งมันยังแข็งแกร่ง เพราะถูกใช้แทนแป้งข้าวโพดและแป้งสาลีที่ปรับตัวขึ้น แม้ต้นทุนหัวมันขยับขึ้น แต่ราคาส่งออกแป้งมันยังดีกว่า ล่าสุดทําจุดสูงสุดในรอบ 3 ปี และจะเริ่มรับรู้รายได้เม็ดไบโอพลาสติกที่ทำจากแป้งมันตั้งแต่ 1Q22 เป็นต้นไป ซึ่งมองบวกต่อความต้องการใช้ในระยะยาว เราคาดกำไรปี 2021-2022 +671% Y-Y และ +30% Y-Y คงราคาเป้าหมาย 6.20 บาท แนะนำ “ซื้อ”

(0) COM7 เราคาดกำไร 4Q21 +15% Q-Q, +18% Y-Y จากยอดขาย iPhone13 ที่หนุน รวมถึงสินค้า Margin ดีอื่นๆ เช่น กลุ่มคอมประกอบ D.I.Y. แนวโน้ม 1Q22 คาดยังแข็งแรง และได้อานิสงส์จากช้อปดีมีคืน  เราคงประมาณการกำไรปี 2021-2022 +60% Y-Y และ +23% Y-Y แต่ Re-Rate PER ลงเป็น 33 เท่าจาก 35 เท่า สะท้อนการเติบโตที่ผ่านพีคไปแล้ว ทำให้ราคาเป้าหมายขยับลงเหลือ 80 บาท จึงลดคำแนะนำลงเป็น “ถือ”

(0) IRC กำไร 1Q22 (ต.ค.-ธ.ค. 2021) -7% Q-Q, -78% Y-Y จากต้นทุนวัตถุดิบที่สูง แต่ถือว่าดีกว่าคาดและเชื่อว่าเป็นจุดต่ำสุดแล้ว จุดที่ดีคือคือรายได้ที่สูงขึ้นสะท้อน Demand ที่แข็งแกร่ง กำไรใน 2Q22 (ม.ค.-มี.ค. 2022) จะยังถูกกระทบจากต้นทุน Polymer และ Chemical ที่ยังสูง แต่เริ่มเห็นการทยอยปรับราคาได้ เราคงประมาณการกำไรปี 2022 -11% Y-Y และกลับมาเติบโตในปี 2023 +7% Y-Y คงราคาเป้าหมาย 18.50 บาท แนะนำ “ซื้อ”

(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 526.47 จุด หรือ 1.47% ปิดที่ 35,241.59 จุด หลังเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับขึ้น 7.5% Y-Y ในเดือนม.ค. 2022 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนก.พ. 1982 และสูงกว่านักวิเคราะห์คาดที่ 7.2% และ 7.0% ในเดือนธ.ค. 2021 รวมถึงกดดันจากนายเจมส์ บูล ลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ ส่งสัญญาณสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรงถึง 1% ภายในเดือนก.ค.นี้

(-) ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ กดดันจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับขึ้น และการเปิดเผยผลประกอบการที่อ่อนแอ

(-) ตลาดหุ้นเอเชียปรับลง กดดันจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 40 ปี อาจเร่งให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดทำการเนื่องในวันสถาปนาประเทศ

(-) ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 32.74 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX เพิ่มขึ้น 22 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 89.88 ดอลลาร์/บาร์เรล หลัง EIA รายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง 4.8 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา สวนทางกับนักวิเคราะห์คาดเพิ่มขึ้น 100,000 บาร์เรล

(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 80 เซนต์ หรือ 0.1% ปิดที่ 1,837.40 ดอลลาร์/ออนซ์ จากการแข็งค่าของดอลลาร์ และการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 1,015.96 / +-

- Advertisement -