ปรับฐานตาม US Market เชิงกลยุทธ์รับความเสี่ยงต่ำอาจพิจารณาถือครองเงินสดบ้าง

เมื่อคืนที่ผ่านมาสหรัฐประกาศเงินเฟ้อ (CPI) ประจำเดือน ม.ค. ขยายตัว 7.5%YoY , 0.6%MoM สูงกว่าตลาดคาดที่ +7.3%YoY +0.4%MoM ใส้ในเป็นแรงหนุนจาก (1) ราคาพลังงาน +27%YoY (2) น้ำมันเบนซิน +40%YoY (3) ค่าไฟฟ้า +10.7%YoY อย่างไรก็ตาม หากพิจารณา Core CPI พบว่า +6%YoY +0.5%MoM ใส้ในได้แรงหนุนจาก (1) รถมือสองและรถบรรทุก +40%YoY +1.5%MoM (2) เครื่องแต่งกาย +5.3%YoY +1.1%MoM (3) ค่าขนส่ง +5.6%YoY+1%MoM ภายหลังจากทราบปัจจัยดังกล่าวพบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 2 ปี ปิดทดสอบ 1.58% และ 10 ปีอยู่ที่ 2% ความเห็นจาก Bloomberg Consensus ที่สำรวจนักลงทุนพบว่าเริ่มให้น้ำหนักที่ปี 2022 FED จะขึ้นดอกเบี้ยทั้งหมด 6 ครั้ง และมีโอกาสสูงถึง 76% ที่การประชุม มี.ค. จะปรับขึ้น 0.5% ซึ่งสูงกว่าก่อนหน้านี้ ช่วงต้นสัปดาห์นี้นักลงทุนยังมองดอกเบี้ยเพียง 5 ครั้งในปีนี้ และให้น้ำหนักที่ FED จะขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ในเดือน มี.ค. เพียง 35% เท่านั้น ดังนั้นปัจจัยที่จะปลดล็อคความกังวลนี้ได้คงอยู่ในการประชุม FED ในวันที่ 15-16 มี.ค. ซึ่งหากที่ประชุมในวันดังกล่าวไม่ได้ส่ง สัญญาณเข้มงวดเท่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ก็อาจเห็นการฟื้นตัวได้ แต่หากส่งสัญญาณเข้มงวดกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ก็อาจเผชิญการปรับฐานได้ต่อ ระหว่างนี้เชื่อว่าตลาดจะกลับมาผันผวนอีกครั้งตามการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่จะประกาศออกมา อย่างไรก็ตาม กับ SET INDEX ยังมองว่าผลกระทบไม่สูงมากนัก เพราะโครงสร้างประกอบไปด้วยหุ้นที่ทนทานต่อดอกเบี้ยขาขึ้น และหากพิจารณาตั้งแต่สิ้นปี 21 จนถึงปัจจุบัน (YTD) พบว่า SET INDEX Outperform กว่า NASDAQ ด้วยผลตอบแทน 2.7% กับ -9% ตามลำดับ และหาก SET INDEX ปรับฐานลงมาแนะเป็นโอกาสสะสมมากกว่า โดยเฉพาะ Value Stock ที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อาทิ ธนาคารพาณิชย์ (BBL KBANK SCB TTB) ค้าปลีก (BJC CRC CPALL HMPRO GLOBAL) ประเมิน SET INDEX วันนี้มีโอกาสย่อตัวลงในกรอบ 1695–1702 รับแรงกดดันจากตลาดหุ้น DowJones ที่ปรับฐานลงมา 1.47%

เชิงกลยุทธ์การลงทุน นักลงทุนรับความเสี่ยงต่ำอาจพิจารณาทำกำไรเพื่อถือครองเงินสดบ้างหลัง Valuation ไม่ได้ถูกเท่าใดนัก ส่วน Trading ระยะสั้น กลับมาหาหุ้นที่มีปัจจัยหนุน อาทิ เดินเรือ (PSL) ตามค่าระวางเรือที่เริ่มเห็นการฟื้นตัว ส่วนจังหวะปรับฐานให้มองเป็นโอกาสของการสะสม

PSL (ซื้อ /ราคาเป้าหมาย 21.20 บาท) คาดกำไรสุทธิ 4Q21 ที่ 1,431 ล้านบาท (-5%QoQ, +5,120%YoY) พร้อมคาดอัตราค่าระวางเรือเฉลี่ย (TCE) สำหรับเรือขนาดเล็ก-กลาง (Handysize และ Supramax) จะยังมีระดับที่ทำกำไรได้สูงตลอดทั้งปี 2022-23

ILM (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 21 บาท) คาดผลประกอบการ 4Q21 ที่ 135 ล้านบาท (-6%YoY, +142%QoQ) พร้อมคาดผลประกอบการปี 22 ฟื้นตัว 46%YoY จากรายได้ที่เติบโต 5.6%YoY จากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อขยายกลุ่มลูกค้า และความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นหลังธปท.ผ่อนปรนมาตรการ LTV

- Advertisement -