บล.คันทรี่ กรุ๊ป:

KEX: สงครามราคาจะยืดเยื้อไปถึง 2H22 เป็นอย่างน้อย

คาดถึงผลงาดทุนสุทธิอย่างน้อยอีก 2 ไตรมาสข้างหน้า ขณะที่ประเมินว่าจะมีการรวมตลาดในอุตสาหกรรมจัดส่งพัสดุด่วนในไทย ซึ่งจะเป็นผลดีกับเพียงผู้เล่นหลัก 2 ราย

  • บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิเป็นครั้งแรกที่ 604 ล้านบาทใน 4Q21 ตั้งแต่จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ เนื่องจากเผชิญแรงกดดันจากการตัดราคา และต้นทุนที่สูงขึ้นจากสำรองกำลังแรงงานและการขนส่ง ซึ่งไปฉุดอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) แตะ -8.9% หรือจุดต่ำสุดตั้งแต่จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์
  • ภาพรวมทั้งปี 2021 มีกำไรสุทธิที่ 47 ล้านบาท (-98%YoY) สืบเนื่องจากสงครามด้านราคาที่ทำให้ราคาขายเฉลี่ยลดฮวบลง 20-25%YoY ในปี 2021
  • ปรับลดประมาณการกำไรปี 2022-23 ลง 64% และ 34% ตามลำดับ

ลดคำแนะนำลงเป็น “ถือ” ด้วยมูลค่าพื้นฐานที่ลดลงเป็น 24.60 บาท จาก 43.0 บาท หลังจากปรับลดกำไรต่อหุ้น (EPS) ลง มูลค่าพื้นฐานคำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) อิง 42.0xPE’23E คิดเป็นส่วนลด 15% ต่อค่าเฉลี่ยกลุ่มจนส่งไทย

สงครามราคาจะยืดเยื้อไปถึง 2522 เป็นอย่างน้อย

ที่ผ่านมาบริษัทได้เจาะตลาดการจัดส่งพัสดุทั่วประเทศผ่านกลยุทธ์การกำหนดราคาเชิงรุก ทำให้ยอดและส่วนแบ่งตลาดโตขึ้นมากหรือ +30%YoY ในปี 2021 แต่ก็ต้องแลกไปกับต้นทุนที่ทำให้รายได้เฉลี่ยต่อพัสดุลดฮวบลง 20-25%YoY ในปี 2021

คาดถึงผลขาดทุนสุทธิอย่างน้อยอีก 2 ไตรมาสข้างหน้า ขณะที่ประเมินว่าจะมีการรวมตลาดในอุตสาหกรรมจัดส่งพัสดุด่วนในไทย ซึ่งจะเป็นผลดีกับเพียงผู้เล่นหลัก 2 ราย โดยคาดว่าราคาเฉลี่ยต่อพัสดุของบริษัทในปี 2022 จะลดลง 20% ซึ่งจะใกล้เคียงกับผู้เล่นในตลาดโลกอย่างในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่มีค่าบริการค่อนข้างต่ำ ขณะที่คาดว่ายอดจัดส่งจะโตขึ้น 30% ในช่วงเวลาเดียวกัน สอดคล้องกับเป้าหมายผู้บริหารและประมาณการของอุตสาหกรรม

ในด้านต้นทุนการดำเนินงานนั้น ปรับเพิ่มขึ้นจากสำรองกำลังแรงงานและต้นทุนเชื้อเพลิงการขนส่งที่สูงขึ้น แต่คาดว่าจะลดลงในปี 2022 จึงคาดว่าส่วนต่างราคาต่อพัสดุจะปรับดีขึ้น และกลับสู่แดนบวกตั้งแต่ปลายปี 2022 ไปถึงปี 2023

สรุปผลประกอบการ

  • ผลประกอบการ 4Q21 ออกมาขาดทุนสุทธิที่ 604 ล้านบาท ต่ำสุดตั้งแต่จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ ซึ่งนับว่าต่ำกว่าคาดมาก
  • ผลขาดทุนสุทธิครั้งแรกที่ 604 ล้านบาทใน 4Q21 สืบเนื่องจากการตัดราคาและต้นทุนที่สูงขึ้นจากสำรองกำลังแรงงานและการขนส่ง ซึ่งไปฉุด GPM แตะ -8.9% หรือจุดต่ำสุดตั้งแต่จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์
  • รายได้โต 11%YoY เป็น 4.7 พันล้านบาท แต่ลดลง QoQ จากจุดสูงในรอบ 6 ไตรมาสใน 3Q21 ที่ 5.3 พันล้านบาท
  • GPM ลดลงสู่แดนลบเป็นครั้งแรกจากต้นทุนที่สูงขึ้น เพราะมีการเพิ่มกำลังแรงงานเข้ามาในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และต้นทุนเชื้อเพลิงการขนส่งที่สูงขึ้น
  • อัตราส่วนค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ต่อยอดขายแตะจุดสูงในรอบ 6 ไตรมาสที่ 8% จากต้นทุน ส่วนเพิ่มที่เกิดขึ้นจากการรักษาส่วนแบ่งตลาด

ปรับลดประมาณการกำไรปี 2022-23 ลง 64% และ 34% ตามลำดับ

ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2022-23 ลง 64% และ 34% ตามลำดับ เพื่อสะท้อนถึงการปรับสมมติฐานดังนี้

1) ปรับลดรายได้ลง 18% เป็น 1.96 หมื่นล้านบาทสำหรับปี 2022 และ 2.32 หมื่นล้านบาทสำหรับปี 2023 จากการแข่งขันที่สูงกว่าคาด ซึ่งไปฉุดราคาเฉลี่ยต่อพสัดลงอย่างต่อเนื่อง

2) ปรับ GPM ปี 2022-23 ลงเป็น 9.8% และ 12.0% ตามลำดับ จากราคาต่อพัสดุที่ลดลง และ

3) ปรับเพิ่ม SG&A ต่อยอดขายสำหรับปี 2022-23 เป็น 6.8% และ 6.4% ตามลำดับ จากประโยชน์ของความประหยัดต่อขนาด (economies of scale) ที่ต่ำกว่าคาด

Revenue Breakdown

บุคคล-ส่งถึงบุคคล หรือ C2C (คิดเป็นสัดส่วน 53% ของรายได้รวม) บริษัทมีบริการจัดส่งพัสดุสําหรับลูกค้าทั่วไปด้วยเครือข่ายจุดบริการกว่า 15,000 แห่ง และศูนย์กระจายสินค้า 1,200 แห่ง

ธุรกิจ-ส่งถึงบุคคล หรือ B2C (คิดเป็นสัดส่วน 45% ของรายได้รวม) บริษัทเป็นคู่ค้ากับแพลตฟอร์มคอมเมิร์ซเกือบทั้งหมดที่มีอยู่ในตลาด รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจ Home Shopping เจ้าต่างๆ โดยบริษัทบริการจัดส่งพัสดุและผลิตภัณฑ์จากผู้ค้าถึงที่บ้านและที่ทำงานของผู้ซื้อทั่วประเทศ

ธุรกิจ-ส่งถึงธุรกิจ หรือ B2B (คิดเป็นสัดส่วน 2% ของรายได้รวม) บริษัทยังให้บริการจัดส่งพัสดุสำหรับลูกค้าองค์กรต่างๆ เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทกฎหมาย ผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ร้านค้าในเครือบริษัท โมเดิร์นเทรด บริษัทขายตรง และบริษัทโทรคมนาคม

- Advertisement -