บล.คันทรี่ กรุ๊ป:

DELTA: กําไร 4Q21 แข็งแกร่งและดีกว่าคาด

คงคำแนะนำ “ขาย” แต่เพิ่มมูลค่าพื้นฐานขึ้น 17% เป็น 264.5 บาท เพื่อสะท้อนการปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2022 มูลค่าพื้นฐานนี้อิงจาก 42xPE’22E บนฐานค่าเฉลี่ย PE ของ DELTA ก่อนเข้า SET50 ราคาปิดล่าสุดที่ซื้อขายกันในระดับ 78xPE’22E ถือว่าแพง แม้จะมีภาพการเติบโตของกำไรที่แข็งแกร่งในปี 2022

  • กำไรสุทธิ 4Q21 อยู่ที่ 2.1 พันล้านบาท (+33%YoY, +76%QoQ) สูงกว่าคาด 10% จากรายได้ที่โตดีกว่าคาด
  • ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2022-23 ขึ้น หลังจากปรับเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ขึ้น เพื่อสะท้อนผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งในปี 2021 อุปสงค์ในกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และดาต้าเซ็นเตอร์ที่สดใสช่วยสร้างภาพรวมเชิงบวกต่อบริษัทในปี 2022 และถัดๆ ไป
  • คงมุมมองเชิงบวกต่อภาพรวมปี 2022 คาด GPM จะกลับสู่ระดับเดียวกับ 1H21 ภายใน 2H22 จากโรงงานบางปูที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยใน 3Q21 จะกลับมาดำเนินได้ตามปกติ ขณะที่จะมีการปรับเพิ่มราคาขายเฉลี่ยเพื่อชดเชยต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นในปี 2022 ด้วยเช่นกัน

สรุปผลประกอบการ

  • กำไรสุทธิ 4Q21 อยู่ที่ 2.1 พันล้านบาท (+33%YoY, +76%QoQ) แตะจุดสูงรอบ 5 ไตรมาส
  • รายได้ 4Q21 แตะจุดสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 2.3 พันล้านบาท (+26%YoY, +9%QoQ)
  • GPM โตแตะ 20.1% (+0.9 ppts) ฟื้นตัวจากสถานการณ์อุทกภัยที่กระทบต่อบริษัทเล็กน้อย
  • กำไรสุทธิปี 2021 อยู่ที่ 6.7 พันล้านบาท (-6%YoY) ที่ลดลง YoY เป็นผลจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น และผลกระทบจากเหตุอุทกภัยที่กระทบกลุ่ม EV และดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีอัตรากำไรสูง ส่วนกลุ่มพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์มีการเติบโตมากที่สุดในระดับ 36%YoY มาอยู่ที่ 6.14 หมื่นล้านบาท

ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2022-23 ขึ้นหลังปรับเพิ่ม GPM

ปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2022 เป็น 7.7 พันล้านบาท (+14%YoY) หนุนจากการขยายกำลังการผลิตและสินค้าอัตรากำไรสูง แม้จะปรับเพิ่มประมาณการแต่ยังต่ำกว่าตัวเลขของตลาดอยู่ 16% เพราะไม่คาดว่า GPM จะฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจนแตะระดับ 1H21 ได้ใน 1H22 จึงมีโอกาสที่ GPM อาจฟื้นตัวเร็วไว้เป็นเพียง upside risk ที่อาจเกิดขึ้น

ปรับเพิ่ม GPM ปี 2022 ขึ้น 1.7ppts ประมาณการชุดเดิมมีสมมติฐาน GPM ที่รัดกุมเกินไป โดยเฉพาะการที่บริษัทมีการผลิตชิ้นส่วนที่ใช้ในธุรกิจที่มีอัตรากำไรสูงอย่าง EV ดาต้าเซ็นเตอร์ และคลาวด์ การปรับเพิ่ม GPM ในครั้งนี้อิงจากสมมติฐานดังนี้ 1) บริษัทฟื้นตัวจากเหตุอุทกภัยใน 3Q21 และ 2) การปรับเพิ่มราคาขายเฉลี่ยขึ้นเพื่อชดเชยต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น

ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2023 ขึ้น 5.6% เพื่อสะท้อน GPM ที่สูงขึ้น คาดเมกะเทรนด์ด้าน EV และอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (IoT) จะโตเร็วต่อเนื่องจนถึงปี 2025 เป็นอย่างน้อย ซึ่งบริษัทจะได้ประโยชน์จากแนวโน้มดังกล่าวด้วยเช่นกัน

Revenue Breakdown

ธุรกิจกลุ่มพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นสัดส่วน 73% ของรายได้รวมของบริษัท ซึ่งเกี่ยวข้องกับออกแบบ ผลิต และจำหน่ายพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้ในคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, อุปกรณ์ระบบอัตโนมัติในสำนักงาน เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับรถยนต์ โดยมีผลิตภัณฑ์หลักคือตัวแปลงไฟฟ้า DC/DC เพาเวอร์ซัพพลายสำหรับคอมพิวเตอร์ พัดลม และเซิร์ฟเวอร์ ผลิตภัณฑ์ระบบความร้อน โซลินอยด์ และอีเอ็มไอฟิลเตอร์

ธุรกิจระบบโครงสร้างพื้นฐานคิดสัดส่วน 25% ของรายได้รวม โดยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและระบบของโรงไฟฟ้าประเภทต่างๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักนั้นใช้ในระบบ โทรคมนาคม พลังงานทดแทน การจัดเก็บพลังงาน และระบบไฟฟ้าแรงสูง

ธุรกิจระบบอัตโนมัติคิดเป็นสัดส่วน 3% ของรายได้รวม โดยบริษัทได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติที่มี ประสิทธิภาพสูงและเชื่อถือได้ประกอบด้วย รวมถึงไดรฟ์ระบบควบคุมการเคลื่อนไหว ระบบควบคุมทาง อุตสาหกรรมและการสื่อสาร การปรับปรุงคุณภาพพลังงาน การเชื่อมต่อเครื่องจักรและมนุษย์ ระบบเซ็นเซอร์ มิเตอร์ และโซลูชั่นหุ่นยนต์

- Advertisement -