ความขัดแย้งในยูเครนกดตลาด

สรุปภาวะตลาด

วันจันทร์ที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวลงแรงถึงประมาณ -20 จุด จากแรงขายในหุ้นกลุ่มพลังงาน ธนาคาร และไอซีที คาดเป็นแรงขายทำกำไร หลังจากหุ้นกลุ่มดังกล่าวปรับตัวข้ึนมามาก ในขณะท่ีหุ้นกลุ่มค้าปลีกสามารถปรับตัวขึ้นได้เล็กน้อย ยืนแข็งกว่าตลาด ปัจจัยกดดันยังมาจากสถานการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดท่ี 1,694.32 จุด -18.88 จุด -1.10% มูลค่าการซื้อขาย 104,944 ลบ.ต่างชาติ +1,466.22 ลบ. TFEX -18,265 สัญญา ตราสารหน้ี +7,226.25 ลบ.

ปัจจัยบวก

+/- ตลาดหุ้น ตลาดเงิน ตลาดทองคำ และตลาดน้ำมัน นิวยอร์ก ปิดทำการวันจันทร์ที่ 21 ก.พ.เนื่องในวันปธน. สหรัฐ

+ ออสเตรเลียเปิดพรมแดนเต็มรูปแบบเพื่อรับผู้เดินทางจากต่างประเทศที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หลังจากปิด ประเทศไปเกือบสองปี

+ อังกฤษเตรียมยกเลิกการบังคับใช้ข้อจำกัดในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามกลยุทธ์ “อยู่ร่วมกับโควิด” ท่ีหวังกลับไปใช้ชีวิตตามปกติรวดเร็วกว่าประเทศเศรษฐกิจหลักอื่นๆ

+ ธปท.เผยสินเชื่อระบบแบงก์พาณิชย์ปี 64 กำไร 1.81 แสนล้านบาท +6.5%YoY จากปีก่อนโต 5.1% สินเช่ือ โต 6.5%

+ สภาพัฒน์คาดการณ์ GDP ปี 65 ขยายตัว 3.5-4.5%

+ ตั้งแต่ 1 ม.ค.65 มีบริษัทระดมทุนมูลค่ารวม 2,324 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แสดงให้เห็นว่าตลาดทุนไทยเป็นแหล่งเงินทุนท่ีสำคัญและยังมีการระดมทุนผ่านตลาดทุนอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยลบ

– ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด- 19 ในประเทศวันน้ี พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 18,363 ราย ATK 14,605 ราย ผู้เสียชีวิต 35 ราย รักษาหาย 15,651 ราย

– สธ.เตือนภัยโควิดระดับ 4 ทั่วประเทศ โดยคาดการณ์ว่าภายใน 1-2 สัปดาห์จำนวนผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มคงตัวในระดับสูง โดยกว่า 90% ของผู้ติดเชื้อเป็นสายพันธ์ุโอมิครอน

– ปธน.สหรัฐลงนามคำสั่งห้ามไม่ให้ชาวอเมริกันทำการค้าและการลงทุนกับสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคดอนบาส ของยูเครน หลังจากผู้นารัสเซียให้การรับรองเอกราชของสองแคว้นดังกล่าว

– ผู้นำรัสเซียส่ังการให้กองกำลังทหารรัสเซียเข้าประจำการในสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์และสาธารณรัฐประชาชน ลูฮันสก์ ของยูเครน หลังจากปธน.ปูตินลงนามรับรองสถานะการเป็นรัฐอิสระและความเป็นเอกราชทั้งสองแคว้น

-ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เผยถึงรายละเอียดของมาตรการคว่ำบาตรที่รัสเซียจะต้องเผชิญหากรุกราน ยูเครน ข้อสำคัญคือรัสเซียจะโดนตัดขาดจากตลาดการเงินโลกและสินค้าส่งออกสำคัญหลายรายการ

– คามาลา แฮร์ริส รองปธน.สหรัฐ ยืนยันพยายามใช้การทูตกับรัสเซีย แต่พร้อมคว่ำบาตรหากบุกยูเครน

– คณะกรรมการดูแลเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศ เตือนว่าวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของตลาดคริปโทเคอรเ์รนซีย์มีแนวโน้มกลายเป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินโลก

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันน้ีมีโอกาสปรับตัวลงตามทิศทางตลาดโลก โดยมีแรงกดดันจากปธน.ปูตินได้ลงนามในกฤษฎีกาเพื่อ รับรองสถานะการเป็นรัฐอิสระ และความเป็นเอกราชของ 2 แคว้นในยูเครน ประกอบกับตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในประเทศยังอยู่ในระดับสูง มองกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,680-1,700 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • ชุดตรวจ ATK : SMD WINMED TM
  • หุ้น Value Play : KBANK BBL SCB EA GULF ADVANC TRUE DTAC
  • หุ้นได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น : PTTEP PTT TOP PTTGC
  • มาตรการอุดหนุน EV : EA NEX BYD GPSC NDR
  • FTSE Global Equity Index Series (ใช้ราคาปิด 18 มี.ค.65) : Large Cap : – , Mid Cap : – , Small Cap หุ้นเข้า : TIPH JTS SINGER หุ้นออก: UV WHART , Micro Cap หุ้นเข้า : 2S, ACC, AQ, APCO, B, BIG, CEN, CTW, CMR, CV, CGH, ECL, EE, FORTH, GJS, IT, MILL, MTI, METCO, NTV, PAP, PTL, SUC, CFRESH, SF, SKY, BFIT, SCM, TOG, TVI, TRC, UBE, UVAN, UV, VNG, WICE หุ้นออก : BYD, TIPH, MK, NEX, OISHI, QHHR, SABUY, SINGER, SYNEX, XPG
หุ้นรายงานพิเศษ JUBILE (ซื้อ ราคาเหมาะสม 26.50)
  • คาดผลประกอบการ 4Q64 เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ QoQ และ +3%YoY หลังคลายล็อกดาวน์ โดยจะเร่งตัวขึ้นแตะระดับสูงท่ีสุดในปีน้ีท้ังรายได้และกำไร เนื่องจากมีการจัดงานใหญ่ 3 งานอีเว้นท์ในเดือน พ.ย.-ธ.ค. 64 ช่วยกระตุ้นยอดขาย ทั้งน้ีเราคาดว่ารายได้ และกำไรสุทธิอยู่ท่ีราว 550-570 ลบ. และ 85-95 ลบ. ตามลำดับ โดยกำไร 4Q64 จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ QoQ และเติบโต 3% YoY
  • ฝ่ายวิจัยคาดรายได้ปี 64 อยู่ที่ 1.5 พันลบ. ลดลง 18% เนื่องจากบริษัทได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในไตรมาส 2-3/64 และคาดกำไรจะลดลง 21%YoY สู่ 211 ลบ. อย่างไรก็ตาม เราคาดว่ารายได้และกำไรปี 65 จะกลับมาขยายตัว 20%YoY และ 24%YoY สู่ 1.8 พันลบ. และ 263 ลบ. ตามลำดับ เนื่องจากคาดว่าโอกาสในการล็อกดาวน์ลดลงหลังกระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ COVID-19 เป็นโรคประจาถิ่น และสามารถรักษาตัวที่บ้านได้หากอาการไม่รุนแรง
  • ความเห็น เราแนะนำ ซื่อ เนื่องจากผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และยังมี upside จากราคาเหมาะสมอีกราว 15% พร้อมคาดหวังอัตราเงินปันผล 2.1%ต่อปี (บริษัทปรับลด Payout ratio จาก 60% เหลือ 40% ตั้งแต่ปี 63 เพื่อสำรองสภาพคล่องในภาวะ COVID-19)

หุ้นมีข่าว

(+) OR (Bloomberg Consensus 27.50 บาท) คาดปิดดีล M&A-JV ไม่ต่ำกว่า 3-4 ดีลภายในปีนี้ คาดยอดขายน้ำมันโตตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว คาดราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีที่ 78.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล วางงบลงทุน 5 ปี 9.3 หมื่นล้านบาท เน้นปรับโครงสร้างรายได้ เพิ่ม EBITDA รองรับขยายสาขาท้ังในประเทศ-ตปท. รับศึกษาเรื่องโทเคนและกัญชง-กัญชา (ที่มา ทันหุ้น)

(+) NEX (Bloomberg Consensus 24.25 บาท) ปักธงผลงานปี 2565 เทิร์นอะราวด์ ล้างขาดทุนสะสม แย้มภาครัฐ-เอกชน เล็งเปลี่ยนใช้รถไฟฟ้า (EV Car) ปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจาไม่ต่ำกว่า 1 พันคัน คาดเดือนมิถุนายนนี้สรุปขยายโรงงานประกอบรถไฟฟ้าเพิ่ม มองโอกาสเติบโตสูง รองรับดีมานด์ต่อเนื่อง (ที่มา ทันหุ้น)

(+) PJW (Bloomberg Consensus 6.20 บาท) อวดกำไรปี 2564 แตะ 169.47 ล้านบาท เพิ่มข้ึน 47.30% ขานรับการฟื้นตัวของภาคธุรกิจ หนุนยอดขายโตเด่น พร้อมแจกจ่ายปันผล 0.08 บาทต่อหุ้น ด้านผู้บริหารประกาศพลิกเกมรุกบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ ปรับโครงสร้างกิจการ Spin Off ธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ให้กับบริษัทย่อย “PJW AutoEV” แทน พร้อมลุยธุรกิจ EV (ที่มา ทันหุ้น)

(+) CWT (Bloomberg Consensus – บาท) ไฟเขียวบริษัทลูก “ชัยวัฒนา กรีน แมนเนจเม้นท์” รุกธุรกิจใหม่ ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ศึกษาการสร้างเหมืองขุดบิทคอยน์จากการใช้พลังงานหมุนเวียน (Green Bitcoin Mining) ท่ีมีอยู่ในกลุ่มบริษัท ด้านบิ๊กบอส “วีระพล ไชยธีรัตต์” มองเห็นโอกาสหวังสร้าง New S-Curve หนุนธุรกิจเติบโตแข็งแกร่ง (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 22 ก.พ.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์
  • สัปดาห์ที่ 4 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
  • 28 ก.พ. กำหนดวันสุดท้าย บจ. ส่งงบการเงินปี 64 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 22 ก.พ. สหรัฐรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิต – ภาคบริการขั้นต้นเดือน ก.พ.
  • 23 ก.พ. อียูรายงานอัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค.
  • 24 ก.พ.สหรัฐเปิดเผยจำนว ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่ GDP 4Q64 (ประมาณการครั้งที่ 2) ดัชนีกิจกรรมเศรษฐกิจท่ัวประเทศเดือน ม.ค. ยอดขายบ้านใหม่เดือนม.ค.และสต็อกน้ำมัน
  • 25 ก.พ. อียูรายงานความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.พ.

สหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือน ม.ค.

  • 2-3 มี. ค. นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะแถลงนโยบายการเงินรายครึ่งปีต่อคณะกรรมการด้านบริการการเงินของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐและวุฒิสภา
  • 15-16 มี.ค. กำหนดประชุม FED

 

- Advertisement -