บล.ทิสโก้:
บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ การควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดี กำไรดีกว่าคาด
กําไรสุทธิ 4Q21 ดีกว่าที่เราคาด จากการควบคุมต้นทุน และค่าใช้จ่ายที่ดี
BEM รายงานกำไรสุทธิ 396 ล้านบาท (-30% YoY, 265% QoQ) ซึ่งดีกว่าเราและตลาดคาดไว้ (248 ล้าน บาท และ 301 ล้านบาท ตามลำดับ) สาเหตุหลักที่ดีกว่าคาดมาจากการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้ดีกว่าที่เราคาดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่าย SG&A สำหรับปี 2021 BEM รายงานกำไรสุทธิลดลง 51% YoY อยู่ที่ 1,010 ล้านบาท
- รายได้เป็นไปตามคาด : รายได้รวมอยู่ที่ 3,060 ล้านบาท (-16% YoY, 42% QoQ) จากรายได้จากธุรกิจทางด่วนอยู่ที่ 1,898 ล้านบาท (-13% YoY, 48.4% QoQ) ตามจำนวนรถใช้ทางด่วนที่ลดลงมาอยู่ที่ 9.84 แสนคันต่อวัน (-13% YoY, 47% QoQ) รายได้จากธุรกิจรถไฟฟ้าอยู่ที่ 931 ล้านบาท ( 23% YoY, 33% QoQ) โดยจำนวนผู้โดยสารที่ลดลงมาอยู่ที่ 1.75 แสนเที่ยวต่อวัน (-40% YoY, 120% QoQ) ธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์ลดลงเล็กน้อย -3% YoY, 32% QoQ
- บริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้ดีกว่าคาด : BEM บริหารจัดการต้นทุนได้ดี ซึ่งต้นทุนทางด่วนลดลง -10% YoY ต้นทุนรถไฟฟ้าลดลง -16% YoY รวมทั้งธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์ก็ลดลงเช่นกัน -14% YoY ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นดีกว่าที่เราคาดไว้อยู่ที่ 42.1% (เราคาดไว้ที่ 38%) เพิ่มขึ้นจาก 28.6% ใน 3Q21 และใกล้เคียง YoY นอกจากนี้ BEM ยังบริหาร SG&A ได้ดีโดยลดลงถึง -24% YoY โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายบริหารที่ลดลง -17% YoY ส่งผลให้ EBITDA margin ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 45.3% ใกล้เคียงกับ 4Q20
- เรายังคงแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าที่เหมาะสม 2.80 บาท (SOTP) จากคาดผลประกอบการปี 2022F จะเติบโตมากกว่าเท่าตัว จากการฟื้นตัวของจำนวนรถใช้ทางด่วนและผู้โดยสาร โดย BEM เปิดเผยจำนวนรถใช้ทางด่วนในช่วงต้นเดือน ก.พ. อยู่ที่ 1 ล้านคันต่อวัน จาก 9.3 แสนคันต่อวันใน ม.ค. และผู้โดยสารวันทำงานอยู่ที่ 2.3 แสนเที่ยว จาก 1.7 แสนเที่ยวต่อวัน ซึ่งเราคาดจะเห็นแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง เราคาดปี 2022 จำนวนรถใช้ทางด่วนที่ 1.09 ล้านคัน (จาก 8.49 แสนคันต่อวันในปี 2021) และผู้โดยสาร 2.92 แสนเที่ยวต่อวัน (จาก 1.46 แสนเที่ยวต่อวัน)