สรุปภาวะตลาด

วันพุธท่ีผ่านมา ดัชนีฟื้นตัว +24 จุด โดยดัชนีปิดตลาดเป็นจุดสูงสุดของวัน จากแรงซื้อกลับในหุ้นขนาดใหญ่ที่ราคาปรับตัวลงไปแรง เมื่อวานท่ีผ่านมา ตลาดหุ้นตอบรับเชิงบวกที่ยูเครนยอมไม่เข้าร่วม NATO ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ข้อเรียกร้องของรัสเซีย ติดตามการเจรจาระหว่างรัสเซียและยูเครนในวันพฤหัสบดี ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดท่ี 1,643.64 จุด +24.54 จุด +1.52% มูลค่าการซื้อ ขาย 115,052 ลบ. ต่างชาติ -3,986.45 ลบ. TFEX +7,344 สัญญา ตราสารหน้ี -13,848.35 ลบ.

ปัจจัยบวก

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มข้ึน 653.61 จุด +2.00% ขานรับการเจรจาระหว่างรัสเซียและยูเครนมีความคืบหน้า ซึ่ง อาจจะปูทางให้สงครามในยูเครนยุติลง โดยหุ้นกลุ่มธนาคาร และกลุ่มเทคโนโลยีพุ่งขึ้นนำตลาด ขณะท่ีการร่วงลงของราคาน้ำมันช่วยหนุนหุ้นธุรกิจการเดินทาง

+ บริษัทโมเดอร์นา อิงค์ ประกาศแผนจัดต้ังโรงงานผลิตวัคซีนในเคนยา เพื่อใช้ผลิตวัคซีนประเภท mRNA รวมถึง วัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยนับเป็นครั้งแรกท่ีโมเดอร์นาจัดตั้งโรงงานผลิตวัคซีนในทวีปแอฟริกา

+ นายอิฮอร์ โซฟวา เจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเครน และเป็นผู้ช่วยของปธน.โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน กล่าวว่ายูเครนเปิดกว้างที่จะหาทางออกตามแนวทางการทูตเพื่อยุติสงครามกับรัสเซีย

+ นายดมิทรี เพสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน กล่าวว่ารัสเซียต้องการที่จะเจรจาสันติภาพรอบใหม่กับยูเครนทันที ที่คณะผู้แทนของยูเครนมีความพร้อม

+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้กลับมาเพิ่มข้ึน พบผู้ติดเชื้อราย ใหม่รวม 23,512 ราย atk 49,494 ราย เสียชีวิต 74 ราย รักษาหาย 24,161 ราย

ปัจจัยลบ

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 15 ดอลลาร์ +12.1% ปิดท่ี 108.70 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ประกาศสนับสนุนการผลิตน้ำมันเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น เพื่อบรรเทาภาวะอุปทานขาดแคลนอันเนื่องมาจากรัสเซียถูกนานาประเทศคว่ำบาตร ฐานใช้กำลังทหารรุกรานยูเครน

– รมว.พาณิชย์สหรัฐให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สว่า บริษัทจีนที่ท้าทายมาตรการจำกัดการส่งออกของสหรัฐท่ีบังคับใช้กับรัสเซียอาจถูกแบนไม่ให้เข้าถึงอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ของสหรัฐที่บริษัทจีนจำเป็นต้องใช้ในการผลิตภัณฑ์สินค้า

– เลขาธิการองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เตือนว่าโลกไม่อาจหาน้ำมันมาทดแทนส่วนแบ่งการส่งออกน้ำมันของรัสเซียได้ โดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการใช้พลังงานมาเป็นเครื่องต่อรองทางการเมือง

– กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก ชี้เป้ากรณีสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างให้อุตสาหกรรมเหล็กวิกฤติไปท่ัวโลก

– ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลกระทบจากกรณีพิพาทรัสเซีย-ยูเครนที่มีต่อเศรษฐกิจไทย คาดเศรษฐกิจไทยกรณีเลวร้ายสุดเสียหายกว่า 2.44 แสนล้านบาท GDP เหลือ 2.7% ด้านดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค- ธุรกิจร่วงยกแผง ปัจจัยกดดันหนักทั้งโอมิครอนพุ่ง-น้ำมันแพง- ค่าครองชีพสูง

– ราคาน้ำมันท่ีพุ่งสูงข้ึนเมื่อเทียบกับปลายปี 64 ส่งผลกระทบให้ต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ทำให้คาดว่านักวิเคราะห์มีแนวโน้มปรับประมาณการในปี 65 ลดลง

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้มีโอกาสปรับตัวขึ้นตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยมีความคาดหวังว่าหากการเจรจาระหว่าง รัสเซียและยูเครนมีความคืบหน้า ซึ่งอาจจะปูทางให้สงครามในยูเครนยุติลง ขณะที่ราคาน้ำมันดิบท่ีปรับตัวลงแรง ยังกดดันหุ้นกลุ่มพลังงาน มองกรอบดัชนีในวันน้ีท่ี 1,635-1,658

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้น Value Play : KBANK BBL SCB EA GULF ADVANC TRUE DTAC
  • มาตรการอุดหนุน EV : EA NEX BYD GPSC NDR
  • กรณีสงครามยืดเยื้อ ราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูง บวกต่อ PTTEP PTTGC TOP , สินค้าเกษตร ข้าวสาลี และ กากถั่วเหลืองขึ้น เป็นบวกต่อ TMILL TVO และเป็นลบต่อธุรกิจอาหารสัตว์ ทำให้ต้นทุนเพิ่มข้ึน CPF GFPT ASIAN

หุ้นรายงานพิเศษ

XPG – Analyst Meeting – มุมมองบวก

  • 4Q64 พลิกมีกาไร 37 ลบ. จากขาดทุน 13 ลบ.ใน 3Q64 และขาดทุน 23 ลบ. ใน 4Q63 ปี 64 พลิกมีกำไร 88 ลบ. จากขาดทุน 17 ลบ.จากเร่ิมรับรู้รายได้จากการเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคน และการกลับรายการผลขาดทุนด้านเครดิตหลังได้รับชำระหน้ีคืน
  • หลังเพิ่มทุนสำเร็จทำให้มีความพร้อมด้านการเงินและบุคลากร ทำให้ผลประกอบการมีศักยภาพเติบโตจากธุรกิจใหม่ด้านสินทรัพย์ดิจิทัลจาก XSpring Digital ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ปัจจุบันมีใบอนุญาต 4 ใบอย่างเป็นทางการจาก ก.ล.ต. ได้แก่ 1. นายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี 2. นายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล 3. ผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี และ 4. ผู้ค้าโทเคนดิจิทัล ท่ีผ่านมา XPG เป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขาย “สิริฮับ โทเคน” (SIRI ถือหุ้น XPG สัดส่วน 14.08%) ทำให้มีโอกาสได้รับงาน ICO Portal ในอนาคต
page4image503265648

  • ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกจาก โอกาสทางธุรกิจท่ีเก่ียวข้องกับ Digital Asset ท่ีจะช่วยหนุนศักยภาพในการเติบโตของรายได้และผลประกอบการในอนาคต ขณะที่ราคาหุ้น -30%YTD ถือเป็นโอกาสดีในการทยอยสะสม

หุ้นมีข่าว

(+) PLANB (Bloomberg Consensus 9.70 บาท) คาดเม็ดเงินสื่อปี 2565 พุ่ง 1.2 แสนล้านบาท วางเป้ารายได้ปีนี้ยืนเหนือ 6-6.3 พันล้านบาท อัตราการใช้สื่อมีสิทธิกลับไปสู่ปกติที่ 70% เป้ามาร์จิ้นกลับไปเทียบเท่าปี 2562 ที่ 34.72% วางงบกว่า 1 พันล้านบาท รองรับการขยาย-ปรับปรุงจอสื่อ ฉายภาพผลงาน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2565 โตดีกว่าปีก่อน หลังเศรษฐกิจ-กำลังซื้อฟื้นตัวดีขึ้น (ที่มา ทันหุ้น)

(+) PJW (Bloomberg Consensus 6.20 บาท) เดินหน้าขยายตลาดรถ EV มองเป็นเมกะเทรนด์ พร้อมทุ่มลงทุน 200 ล้านบาท ก่อสร้างโรงงานย่อย PJW AutoEV ด้านบรรจุภัณฑ์การแพทย์ คาดชัดเจนในไตรมาส 2/2565 ปักเป้ายอดขายปี 2565 โตไม่ต่ำกว่า 10% มองดีมานด์ยานยนต์- น้ำมันเครื่องปีน้ีดีข้ึน (ที่มา ทันหุ้น)

(+) CI (Bloomberg Consensus – บาท) เจาะลึกแผนธุรกิจ CI กับ “สงกรานต์ อิสสระ” พร้อมเปิดโมเดลธุรกิจใหม่ต่อยอดการเติบโต ศึกษาธุรกิจกัญชง-กัญชา หวังต่อยอดกับธุรกิจโรงแรม สปา ร้านอาหาร เล็งออกเหรียญโทเคนเพิ่มฐานลูกค้า ขยายช่องทางการให้บริการทั้งคอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านพักตากอากาศ รวมถึงจองที่พัก โรงแรมในกลุ่ม CI ด้านธุรกิจอสังหาตั้งเป้ารายได้ปี 2565 ใกล้เคียงกับปีก่อน มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 2 โครงการ มูลค่า 3,000 ล้านบาท โกยยอดขายเพิ่ม (ที่มา ทันหุ้น)

(+) JWD (Bloomberg Consensus 23.50 บาท) ปักธงปีน้ีรายได้โตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 10-15% จากปีก่อนทำได้ 5,293 ล้านบาท เชื่อภาพรวมเศรษฐกิจฟื้นตัว ดันรายได้ทุกกลุ่มธุรกิจของบริษัทพุ่ง ทุ่มงบลงทุน 1,500-1,800 ล้านบาท ขยายคลังสินค้าห้องเย็น พร้อมเปิดตัวอีก 2 แห่งในปีน้ี แถมขยายการลงทุนในแอลฟาที่ร่วมทุนกับ ORI เตรียมเปิดคลังสินค้าแห่งแรกที่บางนา ส.ค. 65 (ท่ีมา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 10 มี.ค.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
  • 16-17 มี.ค.ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับปลัดกระทรวงการคลัง และรองผู้ว่าการธนาคารกลางเอเปค
  • 18 มี.ค.ประชุมศบค.ชุดใหญ่ พิจารณามาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
  • 30 มี.ค.ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 2/2565
  • 31 มี.ค.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
  • 18 พ.ค.ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งท่ี 3/2565

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 10 มี.ค. ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประชุมนโยบายการเงิน และแถลงมติอัตราดอกเบี้ย

สหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ อัตราเงินเฟ้อเดือนก.พ.

  • 11 มี.ค. สหรัฐเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือน มี.ค. จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
  • 15 มี.ค. อียูรายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ม.ค. ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือน มี.ค. จากสถาบัน ZEW

สหรัฐรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.พ. ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือน มี.ค.จากเฟดนิวยอร์ก

  • 15-16 มี.ค. กำหนดประชุม FED
- Advertisement -