บล.พาย:

M: ภาพเป็นบวกสำหรับกำไรปี 2022-24

ให้น้ำหนักเป็นบวกสำหรับการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวาน (10 มี.ค.) คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 61.0 บาท อิง 25xPE’22E หรือใกล้เคียงค่าเฉลี่ยกลุ่มสินค้าจำเป็นในเอเชียที่ไม่รวมญี่ปุ่น

  • ผู้บริหารตั้งเป้าการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (SSSG) สำหรับปี 2022 ที่สูงกว่า 30% จาก -15% ในปี 2021 ขณะที่ SSSG ช่วงเดือน ม.ค. – ก.พ. 2022 ฟื้นตัว 15% ด้วยแรงหนุนจากการกลับมาให้บริการทานอาหารที่ร้าน บวกกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ฟื้นฟูขึ้นหลังมีอัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น
  • หลังกลับมาให้บริการทานอาหารที่ร้านก็พบว่าอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ฟื้นตัวเป็น 66.9% ใน 4Q21 โดยเชื่อว่า GPM จะโตเป็น 66% ในปี 2022 จาก 64.1% ในปี 2021 หนุนจากส่วนแบ่งรายได้ที่สูงขึ้นจากบริการทานอาหารที่ร้าน ส่วนการปรับเพิ่มราคาขายขึ้น 3% ในเดือน ม.ค. 2022 น่าจะชดเชยต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น 10% ได้
  • ท่ามกลางสภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ผู้บริหารให้แนวทางว่าบริษัทได้หันมาใช้หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารแล้วกว่า 500 ตัว ด้วยเป้าหมายอีก 500 ตัวในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเชื่อว่าหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารนี้จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเงินเดือน พนักงานกว่า 10% หรือคิดเป็นค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) เกือบ 5%

ภาพการเติบโตที่สดใสในปี 2022-24

  • ประเมินกำไรฟื้นตัวกลับสู่ระดับ 2.2 พันล้านบาทในปี 2022 และเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) อย่างต่อเนื่องที่ 14% ในช่วงปี 2023-24 ด้วยแรงหนุนจาก 1) SSSG ที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง หลังกลับมาให้บริการทานอาหารที่ร้าน บวกกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ฟื้นฟูขึ้นหลังมีอัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น 2) การขยายสาขาใหม่ 3) ผลงานของแหลมเจริญ ซีฟู้ดที่ปรับดีขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่สูงขึ้น
  • บริษัทมีแผนเปิดสาขาใหม่ 26 แห่งในปี 2022 (+4%YoY) ประกอบด้วย MK Restaurant 11 สาขา Yayoi 9 สาขา และแหลมเจริญ ซีฟู้ด 6 สาขา

คาด SSSG ฟื้นตัวแข็งแกร่งในปี 2022 ท่ามกลางสถานการณ์โอมิครอน

  • ผู้บริหารตั้งเป้าการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (SSSG) สำหรับปี 2022 ที่สูงกว่า 30% จาก -15% ในปี 2021 ขณะที่ SSSG ช่วงเดือน ม.ค. – ก.พ. 2022 ฟื้นตัว 15% ด้วยแรงหนุนจากการกลับมาให้บริการทานอาหารที่ร้าน บวกกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ฟื้นฟูขึ้นหลังมีอัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น

การกลับมาให้บริการทานอาหารที่ร้านช่วยกระตุ้น GPM ขึ้น

  • หลังกลับมาให้บริการทานอาหารที่ร้านก็พบว่า GPM ฟื้นตัวเป็น 66.9% ใน 4Q21 โดยเชื่อว่า GPM จะโตเป็น 66% ในปี 2022 จาก 64.1% ในปี 2021 หนุนจากส่วนแบ่งรายได้ที่สูงขึ้นจากบริการทานอาหารที่ร้าน ส่วนการปรับเพิ่มราคาขายขึ้น 3% ในเดือน ม.ค. 2022 น่าจะชดเชยต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น 10% ได้

หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารจะช่วยลดต้นทุนในระยะยาวลง

  • ท่ามกลางสภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ผู้บริหารให้แนวทางว่าบริษัทได้หันมาใช้หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารแล้วกว่า 500 ตัว ด้วยเป้าหมายอีก 500 ตัวในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเชื่อว่าหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารนี้จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเงินเดือนพนักงานกว่า 10% หรือคิดเป็น SG&A เกือบ 5%

สถานะเงินสดที่แข็งแกร่งคือ upside สำหรับดีล M&A

  • บริษัทมีเงินสดอยู่ 7.7 พันล้านบาท (8.4 บาท/หุ้น) หรือคิดเป็น 16% ของมูลค่าตลาด
  • หากอิงการประเมินอัตราผลตอบแทนเงินลงทุน (RO) ที่ราว 15% หรือใกล้เคียงค่าเฉลี่ยอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) ก็จะสะท้อน upside ต่อกำไรราว 1.2 พันล้านบาท/ปี หรือประมาณ 50% ของประมาณการกำไรสุทธิทั้งหมดในปี 2022

สรุปผลประกอบการ

  • กำไรสุทธิ 4Q21 อยู่ที่ 399 ล้านบาท (-36%YoY) ฟื้นจากขาดทุนใน 2Q21-3Q21 ผลประกอบการนี้ถือว่าดีกว่าคาด
  • กำไรที่ฟื้นตัวแข็งแกร่งใน 4Q21 ได้แรงหนุนมาจาก 1) การเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ที่ฟื้นขึ้นหลัง คลายล็อกดาวน์ที่ให้กลับมาทานอาหารในร้านได้ บวกกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ฟื้นตัวขึ้นหลังมีอัตราการฉีด วัคซีนที่สูงขึ้น 2) การขยายสาขาเป็น 703 แห่ง (+2%QoQ) หลังปิดไปหลายสาขาในช่วง 5 ไตรมาสที่ผ่านมา
  • อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ใน 4Q21 อยู่ที่ 66.9% สูงสุดตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพราะได้แรงหนุนจากการอนุญาตให้กลับมาทานอาหารในร้าน
  • อัตราส่วนค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ต่อยอดขายใน 4Q21 ลดลงเหลือ 53.9% จาก 58.2% ใน 4Q20 เป็นผลจากการคุมต้นทุนที่ดีขึ้น

Revenue breakdown

ธุรกิจร้านอาหารสุกี้ (แบรนด์ MK Suki, MK Gold, MK Live) คิดเป็น 74% ของยอดขายรวม ขณะที่ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น (Yayoi) คิดเป็น 19% ของยอดขายทั้งหมด ร้านอาหารแหลมเจริญซีฟู้ดคิดเป็น 5% และร้านอาหารอื่นๆ คิดเป็น 2%

สาขาร้านอาหารในไทย (จาก 703 สาขาทั่วโลก) ประกอบด้วย MK Suki 452 สาขา (รวม MK Gold 6 สาขาและ MK Live 2 สาขา) Yayoi 193 สาขา แหลมเจริญซีฟูด 31 สาขา และร้านอาหารอื่นๆ อีก 27 สาขาในไทย ขณะที่มีแฟรนไชส์ MK Suki 43 สาขาในญี่ปุ่น เวียดนาม และลาว นอกจากนี้ก็มีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน (JV) เพื่อประกอบกิจการ Yayoi ในสิงคโปร์

- Advertisement -