Our View? ”สัญญาณเชิงบวกมีมากขึ้น”
คาดตลาดวันนี้ “Sideway Up” มองแนวรับที่บริเวณ 1,650/1,640 แนวต้านที่บริเวณ 1,665/1,670 เรามองตลาดยังคงให้ความสนใจไปกับแนวโน้มการเจรจาหยุดยิงระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน หลัง ปธน.วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียเปิดเผยมีความคืบหน้าในการเจรจากับยูเครน รวมทั้ง ปธน.โจ ไบเดน ของสหรัฐยังคงย้ำไม่ทำสงครามกับ รัสเซียในยูเครน พร้อมทั้งสหภาพยุโรป (EU) ประกาศยังไม่รับยูเครนเข้าเป็นสมาชิกแบบเร่งด่วน คาดส่งผลให้สถานการณ์ระหว่างรัสเซีย-ยุโรปผ่อนคลายลงบ้าง อย่างไรก็ตาม เรามองสถานการณ์ดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง คาดจะส่งผลให้ตลาดยังคงผันผวนได้ต่อ
อีกทั้งเราคาดว่าในสัปดาห์นี้ตลาดจะให้น้ำหนักไปกับการประชุม FOMC ของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) มากขึ้นในวันที่ 15-16 มี.ค.น้ี โดยเราคาดว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกที่ระดับ 0.25% ตามที่ตลาดคาดหลังจบการ ประชุมดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เราแนะนำให้ติดตามการเปิดเผยเกี่ยวกับแผนในการปรับลดขนาดงบดุลของ FED ใน ระยะถัดไป ซึ่งจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความเร็วในการลดลงของกระเงินทุนส่วนเกินในตลาด คาดอาจส่งผลให้ตลาด ผันผวนได้บ้าง
อย่างไรก็ตาม เรามองอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ (US Bond Yield) ยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดยเช้านี้รุ่นอายุ 10 ปี อยู่ที่ระดับ 1.997% พยายามปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 2.0% สะท้อนนักลงทุนบางส่วนยังคงขายพันธบัตรสหรัฐ ซึ่งเป็นตัวแทนของสินทรัพย์ปลอดภัย และมีแนวโน้มกลับเข้าหาสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง บ่งชี้ตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตยูเครนน้อยลง และกลับมาให้น้ำหนักกับนโยบายทางการเงินของ FED มากขึ้นเช่นกัน
ทางด้านราคาสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI. ส่งมอบเดือน เม.ย. เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาพยายามรีบาวด์ขึ้นบ้างปิดที่ระดับ 109.33 ดอลลาร์/บาร์เรล +3.31 ดอลลาร์ หรือ +3.12% หลังการเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่าง อิหร่าน-สหรัฐและชาติพันธมิตรในกรุงเวียนนาได้ถูกระงับเป็นการชั่วคราว โดยมีรายงานว่ารัสเซียได้ยื่นข้อเรียกร้องว่าการทำการค้าระหว่างรัสเซียและอิหร่านจะต้องไม่ถูกกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรที่ชาติตะวันตกบังคับใช้ ส่งผล ให้ตลาดกลับมากังวลต่อแนวโน้มการกลับมาส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านอีกครั้ง หนุนทิศทางราคาน้ำมันดีดตัวข้ึนได้ ในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม เรามองการที่สมาชิกในยูโรโซนไม่คว่ำบาตรการส่งออกพลังงานรัสเซีย รวมถึงแนวโน้มการกลับมาเริ่มส่งออกน้ำมันของเวเนซุเอลาให้กับสหรัฐ-ยุโรปตั้งแต่ช่วงกลางปีน้ี หากสหรัฐยกเลิกการคว่ำบาตร เวเนซุเอลา คาดจะยังเป็นปัจจัยจำกัด Upside การฟื้นตัวของราคาน้ำมันได้อยู่
สำหรับปัจจัยภายในประเทศ เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อการที่นักลงทุนต่างชาติยังคงเข้าซื้อหุ้นไทยต่อเนื่อง โดยในเดือนนี้ยังคงซื้อสุทธิที่ระดับ 6.8 พันล้านบาท ขณะท่ีตั้งแต่ต้นปีซื้อไปแล้วกว่า 8.4 หมื่นล้านบาท ทั้งน้ี เรายังคงชอบหุ้นใน 1.) กลุ่มค้าปลีก (MAKRO, CPALL, BJC, CRC, HMPRO, GLOBAL) ท่ียังมีความน่าสนใจในเชิง Valuation ซึ่งยังอยู่ในระดับต่ำ 2.) กลุ่ม AMC (BAM, CHAYO และ JMT) ที่คาดแนวโน้มการ JV กับธนาคารพาณิชย์ คาดจะหนุนทิศทางผลกำไรในปีนี้เติบโตโดดเด่น 3.) กลุ่มขนส่ง (BTS และ BEM) คาดผลการดำเนินงานมีแนวโน้มเริ่มฟื้นตัวขึ้นได้หลังผ่านพ้นวิกฤต COVID-19 ไปแล้ว คาดผู้โดยสารรถไฟฟ้าเริ่มฟื้นตัวขึ้นต้ังแต่ช่วงต้นปีนี้ อีกทั้งเราเริ่มกลับมาชอบหุ้นใน 4.) กลุ่มธนาคาร (KBANK, SCB และ TTB) อีกครั้ง หลังราคาที่ปรับตัวลงกดดัน Forward P/B ลง เหลือเพียง 0.68 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 3 ปี ที่ระดับ 0.71 เท่า ขณะที่ Forward EPS ของหุ้นในกลุ่มธนาคารยังคงปรับตัวข้ึนทำจุดสูงสุดใหม่ต่อเนื่องในระยะสั้น ล่าสุดอยู่ท่ีระดับ 46.29 คาดมีโอกาสเห็นแรงซื้อกลับหุ้นในกลุ่มธนาคารได้
ขณะที่แนะนำติดตามสถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ในประเทศ พร้อมท้ังการกลายพันธุ์ของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ใหม่ในฮ่องกง (BA.2.2) ที่เริ่มพบในอังกฤษแล้ว คาดอาจส่งผลให้เห็นแรงเก็งกำไรหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาล (BCH, BDMS, BH และ CHG) ได้อีกครั้ง
ธีมการลงทุน “Selective Play”
หุ้นแนะนำวันน้ี “BCH”
เก็งกำไร 20.30 / 20.00 Target 21.30 / 22.00 Stop <19.60