Daily Focus Value and Domestic Play
2022 SET Target: 1770
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ฟื้นตัวได้แข็งแกร่งกว่าที่ประเมิน ปิดบวกถึง 23.56 จุด รับข่าวจีนเตรียมออกมาตรการสนับสนุนหุ้นที่จดทะเบียนในต่างประเทศ โดยดัชนียืนเหนือ 1,660 จุด ทำให้ทางเทคนิคเป็นบวกมากขึ้น สถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติพลิกมาซื้อสุทธิในตลาดหุ้น 341 ลบ.และ 6.3 พันลบ. ตามลำดับ (ต่างชาติ Short SET50 Index Futures อีกเล็กน้อย 2.5 พันสัญญา)
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะปรับตัวขึ้นทดสอบระดับ 1,670-1,680 จุด หลังการประชุม FED เริ่มขึ้นดอกเบี้ยและจะขึ้นทุกการประชุมที่เหลือของปีรวมเป็น 7 ครั้ง และจะเริ่มลดขนาดงบดุลในการประชุมครั้งหน้า โดยนักลงทุนตอบรับเชิงบวกและเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯแข็งแกร่งเพียงพอ อย่างไรก็ตาม เรายังมองสงครามรัสเซีย-ยูเครนยังเป็นปัจจัย Overhang หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ ขณะที่มาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกจะเริ่มทยอยเห็นผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเติบโตน้อยลง เรายังมองว่าปัจจัยในประเทศมีความแข็งแรงและหนุนภาพการลงทุนมากกว่า โดยศบค.จะประชุม 18 มี.ค. เพื่อผ่อนคลายมาตรการเพิ่มเติม โดยเฉพาะภาคธุรกิจบันเทิงและท่องเที่ยว เราจึงยังคงมุมมองเชิงบวกต่อหุ้น Value และ Domestic Play ซึ่งจะยังสามารถปรับตัวได้แข็งแรงกว่าตลาด กลุ่มที่ชอบยังคงเป็นธนาคาร ค้าปลีก อสังหาฯ อาหารและเครื่องดื่ม การแพทย์ เป็นต้น
กลยุทธ์ : เน้นลงทุนในกลุ่ม Value และ Domestic Play ที่กระทบจากปัจจัยต่างประเทศจํากัด และได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ
หุ้นเด่นเดือน มี.ค. : BDMS, CPALL, OSP, PJW, TOP
หุ้นเด่นวันนี้ : SNNP
- แนะนํา “ซื้อ” ราคาเป้าหมายจาก FSSIA 20 บาท
- โมเมนตัมกำไร 1Q22 คาดยังเร่งตัวขึ้นต่อเนื่องจากยอดขายที่ดีขึ้น Q-Q ตามเศรษฐกิจที่ฟื้น รวมถึงการออกสินค้าใหม่อย่าง Jele Chewy และ Jele x Nestea ส่วนระยะถัดไปจะออกผลิตภัณฑ์ผสม CBD หนุน Margin ขยายตัว
- การลงทุนโรงงานในอินโดนีเซียหนุนการเติบโตในต่างประเทศระยะยาว โดยจะเริ่มเดินเครื่องได้ใน 4Q22-1Q23 เราคาดกําไรปกติปี 2022-2023 +67% Y-Y และ +22% Y-Y ตามลำดับ
- แนวรับ 15.90-15.70 บาท แนวต้าน 16.60//17 บาท
Fund Flow: วานนี้กระแสเงินทุนยังคงไหลออกจากภูมิภาค แต่บางลงเหลือเพียง US$298 ล้าน เม็ดเงินไหลออกกระจุกที่ไต้หวัน US$627 ล้าน แต่ไหลเข้าไทยและอินโดนีเซียหนาแน่น US$187 ล้าน และ US$142 ล้าน ตามลำดับ แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่าโอกาสพลิกมาไหลเข้าจากเม็ดเงินที่กลับเข้าหาสินทรัพย์เสี่ยงหลัง FED เน้นย้ำเศรษฐกิจแข็งแกร่งพอรับมือการขึ้นดอกเบี้ย
ประเด็นสำคัญวันนี้
(+) ผลการประชุม FED เป็นไปตามคาด ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% และ Dot Plot สะท้อนว่าจะปรับขึ้นในทุกการประชุม 6 ครั้งที่เหลือในปีนี้แตะ 1.75-2% สิ้นปี นอกจากนี้ยังปรับลดประมาณการ GDP ปีนี้ลงจาก 4% เหลือ 2.8% จากผลของสงครามในยูเครน และปรับคาดการณ์ Core PCE ขึ้นเป็น 4.1% จากเดิม 2.7% สะท้อนเงินเฟ้อที่สูงยาวกว่าที่ประเมิน อย่างไรก็ตาม ตลาดตอบรับเชิงบวกหลังประธาน FED ถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจที่พร้อมรับมือการขึ้นดอกเบี้ย ส่วนการลดขนาดงบดุลคาดเริ่มในการประชุมครั้งหน้าเดือน พ.ค.
(+) กลุ่มไฟแนนซ์ ยัง Laggard ตลาดอยู่พอสมควรโดยปรับลง -1.6% YTD เทียบกับ SET Index ที่ +0.6% YTD ขณะที่แนวโน้มผลการดำเนินงานของกลุ่มคาดกลับมาเติบโตในอัตราเร่งปีนี้ตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว หลังจากสะดุดในปี 2021 จากการ Lockdown หลายครั้ง ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกแม้จะเป็นขาขึ้น แต่เราประเมินกนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง และคาดเร็วสุดที่จะขึ้นดอกเบี้ยคือ 4Q22 จึงยังไม่เป็นแรงกดดันด้านต้นทุนทาง การเงินสําหรับกลุ่มฯ เราชอบ SAWAD (ราคาเป้าหมายจาก FSSIA 74 บาท) มากที่สุดจาก Valuation ที่ถูก เทรด PER เพียง 15 เท่า
(+) AH ผู้บริหารให้เป้าหมายเชิงรุกในปี 2022 คาดรายได้ +30% Y-Y ทั้งธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และธุรกิจ Dealer รถยนต์ ขณะที่ Gross Margin คาดปรับตัวขึ้นเป็น 11-12% ปีนี้ เทียบกับ 10.8% ปีก่อน โรงงานในโปรตุเกสจะเริ่มพลิกมีกำไรใน 1Q22 ขณะที่ประมาณการของเรา Conservative กว่า และความเสี่ยงสำคัญยังเป็นเรื่อง Chip และราคาเหล็ก เราคาดกำไรปี 2022-2023 +40% Y-Y และ +18% Y-Y ตามลำดับ และยังคงราคาเป้าหมาย 28 บาท แนะนํา “ซื้อ” (Source: FSSIA)
(+) BBGI เข้าเทรดวันนี้ เป็นหนึ่งในผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพรายใหญ่ในไทย การเติบโตมาจากการขยายตลาดสินค้า High Value Added หนุนรายได้และ Margin รวมถึงการขยายกำลังการผลิต จุดแข็งของ BBGI คือความเสี่ยงเรื่องความต้องการที่โครงสร้างต้นทุน และการกระจาย Product Portfolio ที่ดี อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงระยะยาวคือ EV ที่อาจทําให้ Demand Ethanol ลดลง เราคาดกำไรปี 2021 2023 +43%/+9%/+21% ตามลำดับ ประเมินราคาเป้าหมาย 15 บาท (Source: FSSIA และ Finansia เป็นผู้จัดจําหน่ายฯ)
(+) ตลาดดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 518.76 จุด หรือ 1.55% ปิดที่ 34,063.10 จุด หลังเฟดมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% เป็น 0.25-0.50% ในการประชุมวานนี้ตามตลาดคาด และส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกในปีนี้ รวมถึงปรับเพิ่มคาดการณ์ตัวเลขเงินเฟ้อในปีนี้เป็น 4.3% และปี 2023-2024 เป็น 2.7% และ 2.3% ตามลำดับ ขณะที่รมว.ต่างประเทศรัสเซีย กล่าวว่ารัสเซียและยูเครนใกล้บรรลุข้อตกลงบางส่วนในการเจรจาสันติภาพ
(+) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวก หนุนจากความคาดหวังการเจรจาสันติภาพรอบใหม่ระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงรัฐบาลจีนจะออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น
(+) ตลาดหุ้นเอเชีย ปรับขึ้น ตามทิศทางตลาดดาวโจนส์ หลังประธานเฟดบ่งชี้ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐในเชิงบวก
(+) ค่าเงินบาท แข็งค่าขึ้น ล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 33.22 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 1.40 ดอลลาร์ หรือ 1.5% ปิดที่ 95.04 ดอลลาร์/บาร์เรล จากสัญญาณความคืบหน้าในการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึง EIA รายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้น 4.3 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา มากกว่านักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 200,000 บาร์เรล
(-) ราคาทองคํา COMEX ลดลง 20.5 ดอลลาร์ หรือ 1.06% ปิดที่ 1,909.2 ดอลลาร์/ออนซ์ จากแรงขายฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยหลังคลายความกังวลเกี่ยวกับสงครามในยูเครน
SPDR Gold Trust ถือครองทองคํา 1,070.53 / +8.71