Daily Strategy

FED ส่งสัญญาณสหรัฐยังแข็งแกร่ง

ผลประชุม FED เมื่อคืนที่ผ่านมามีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สอดคล้องกับที่เราและตลาดคาดหมาย ส่วนดอกเบี้ยทั้งปี 2022 อยู่ในกรอบ 1.75 – 2% ก็ออกมาสอดคล้องกับที่ตลาดคาดหมายเช่นกัน โดยคณะกรรมการ ราว 5 ท่านที่เป็นเสียงส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าดอกเบี้ยปลายปี 2022 ควรจะอยู่ที่ 1.75 – 2% และจะเริ่มถอนสภาพคล่องผ่านโครงการ QT ในการประชุมครั้งถัดไปช่วงวันที่ 3 พ.ค. โดย FED ปรับคาดการณ์ GDP Growth 2022 เหลือเพียง +2.8%YoY จากคาดการณ์ ธ.ค. +4%YoY แต่มิได้ปรับ GDP Growth ปี 2023, 2024 ลง พร้อมปรับเงินเฟ้อในปี 2022 +4.3%YoY จากประชุม ธ.ค. +2.6%YoY ส่วนเงินเฟ้อปี 2023 , 2024 ปรับเพิ่มขึ้นจากประชุมครั้งก่อนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ด้านอัตราการว่างงานยังคงคาดการณ์เดิมจากครั้งประชุม ธ.ค. ที่ 3.5%

ความเห็นเราคล้ายว่า FED จะส่งสัญญาณออกมาให้ตลาดรับรู้แม้จะเกิดความรุนแรงในยูเครน-รัสเซีย แต่ FED เชื่อว่าจะกระทบเศรษฐกิจสหรัฐเพียงชั่วครู่เท่านั้น สะท้อนจาก GDP Growth ในปี 2023 , 2024 ที่ FED มิได้ปรับลง สอดคล้องกับแรงกดดดันด้านเงินเฟ้อจากภาวะราคาสินค้า Commodity ที่ FED เชื่อว่าจะมาชั่วครู่เช่นกัน สะท้อนจาก FED มิได้ปรับเงินเฟ้อในปี 2023 , 2024 ขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ด้านถ้อยแถลงข้างใน FED ยังระบุว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐและการจ้างงานยังแข็งแกร่ง แต่ก็ยอมรับว่าสถานการณ์ยูเครน – รัสเซียส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐมีความไม่แน่นอนสูงมาก พร้อมจะจับตาสถานกาณ์ต่างๆที่จะเข้ามาอย่างใกล้ชิด และพร้อมปรับนโยบายบริหารให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ส่งผลให้ Dow Jones ปิดบวก 1.5% และเช้านี้ Nikkei แกว่งบวก 3% เราเชื่อว่าเกิดจาก

(1) นโยบายดอกเบี้ยมิได้เข้มงวดกว่าตลาดคาดหมายไว้ (2) ถ้อยแถลงด้านเศรษฐกิจที่ให้ความเห็นว่าสหรัฐยังคงแข็งแกร่งแม้จะเกิดยูเครน – รัสเซีย (3) FED พร้อมปรับนโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ กล่าวคือหากเผชิญความไม่แน่นอนก็พร้อมกลับมาผ่อนคลายให้ (4) เงินเฟ้อ ระยะยาวจะเริ่มกลับเข้าสู่ฐานปกติ (2.5% +/-) สำหรับตลาดหุ้นไทยก็คาดว่าจะได้ Sentiment เชิงบวกไปด้วยในวันนี้ ประเมินกรอบ SET 1670 – 1682 โดยอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ (1) ธนาคารพาณิชย์ (BBL KBANK SCB) รับปัจจัยบวกจากการเติบโตของเศรษฐกิจในภาพรวม (2) กลุ่มที่มีสินค้าโภคภัณฑ์เป็นต้นทุน หลัง FED เชื่อว่าภาวะเงินเฟ้อจะคงอยู่เพียงชั่วครู่เท่านั้น (KCE SCC SCGP TOA) ขณะที่กลุ่มในประเทศก็จะได้ประโยชน์เช่นกัน อาทิ ค้าปลีก (BJC GLOBAL) ร้านอาหาร (M MINT) โรงภาพยนตร์ (MAJOR) เครื่องดื่ม (CBG TACC)

KBANK (ซื้อ /ราคาเป้าหมาย 174 บาท) คาดกำไรสุทธิปี 2022 เติบโต 13%YoY เนื่องจากสำรองหนี้ฯ ลดลง และรายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น พร้อมเน้นคุณภาพในการเติบโต และการจัดการ NPL ในปี 2022

BBL (ซื้อ/ราคาเป้าหมาย 162 บาท) คาดกำไรสุทธิปี 2022 โต 20% YoY และต่อต่อเนื่อง 10% ในปี 2023 ผลบวกจากสำรองหนี้ฯ ลดลง และรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นล้อกับสินเชื่อ ราคาหุ้นยังไม่แพง ซื้อขายที่ 0.5x PBV’22E (-1.3SD ต่อค่าเฉลี่ยย้อนหลัง ) และอัตราเงินปันผลราว 4.3% ในปี 2022

- Advertisement -