บล.พาย:

SPA: เข้าธีมเปิดประเทศหลังผ่านจุดต่าปี 2021

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 8.30 บาท อิงวิธีคิดลดเงินสด (DCF) (WACC 9.8%, TG 3.5%) อิง 25.9xPE’23 เล็งเห็นธีมการลงทุนที่น่าดึงดูดจากประเด็นการกลับมาเปิดประเทศ ที่ได้อานิสงส์จากการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น และมาตรการเดินทางเข้าประเทศที่ผ่อนคลายลง ซึ่งจะกระตุ้นทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวในและต่างประเทศ

  • ขาดทุนสุทธิ 4Q21 ที่ 46 ล้านบาท นับว่าขาดทุนติดต่อกัน 7 ไตรมาส เพราะ EBIT ที่ต่ำจุดคุ้มทุน
  • ขาดทุนสุทธิทั้งปี 2021 ที่ 287 ล้านบาท เป็นผลจากการปิดให้บริการสปาและร้านนวดชั่วคราวในเดือน ม.ค. 2021 และตั้งแต่ เม.ย.-ก.ย. 2021 ทำให้รายได้ลดลง 61%YoY
  • ประเมินขาดทุนสุทธิ 1Q22 ที่ 55 ล้านบาท ก่อนที่จะฟื้นตัวปานกลางใน 2H22 จากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ชะลอตัวลง และการมีสาขาน้อยลง ซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน
  • คาดกำไรทั้งปี 2022 จะยังขาดทุนก่อนที่จะพลิกมาเป็นกำไรในระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ได้ในปี 2023 หนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการขยายสาขา

ประเด็นสําคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์

  • การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว คาดจำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้าของไทยจะฟื้นตัวขึ้น หนุนจากอัตราการฉีดวัคซีนทั่วโลกที่สูงขึ้น กอปรกับมาตรการเดินทางเข้าประเทศที่ผ่อนคลายลง รวมถึงมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวอื่นๆ ที่จะดึงดูดชาวต่างชาติเข้ามามากขึ้น ผู้บริหารประเมินจำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้าที่ 6 ล้านคน/18 ล้านคนสำหรับปี 2022-23
  • การดำเนินงานที่ดีขึ้นในช่วงถัดไป ประเมินรายได้ปี 2022 ที่ 541 ล้านบาท (+223%YoY) จากธุรกิจการขายและให้บริการที่ปรับดีขึ้น แข็งแกร่งทั้งคู่ (+108%YoY, +315%YoY) โดยประมาณการของเราถือว่าสูงกว่าเป้าหมายของผู้บริหารที่ราว 500-600 ล้านบาทอยู่ 8%
  • คาดว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวในประเทศจะมีสัดส่วนมากกว่ากลุ่มชาวต่างชาติในปี FY2022 หรือคิดเป็น 90% ใน 1H22 และ 70% ใน 2H22 โดยรวมแล้วนักท่องเที่ยวในประเทศและต่างชาติจะคิดเป็น 80% ของเป้าหมายรายได้ทั้งปี 2022 ของผู้บริหาร ตามลำดับ
  • กันชนต่อ downside ประเมินรายได้ ATK ที่ 20 ล้านบาท (4% ของประมาณการยอดขายของเรา) การเติบโตของยอดขาย ATK นี้จะช่วยเป็นกันชนต่อ downside ได้เล็กน้อยในกรณีที่มีการแพร่ระบาดมากกว่านี้
  • น่าจับตามอง ผู้บริหารระบุว่ากลยุทธ์ระยะสั้นคือการเพิ่มผลิตภัณฑ์และบริการใหม่เข้าพอร์ต เช่น การใช้กัญชงในบริการสปาและนวด หรือสเปรย์ฉีดหมอนส่วนผสมกัญชง โดยจะได้รับสินค้าล็อตแรกใน 2Q22 แต่คาดว่าจะเพิ่มเข้ามาในพอร์ตได้ตั้งแต่ 3Q22 เป็นต้นไป
  • กลยุทธ์ระยะกลางถึงยาวของบริษัทคือการเพิ่มธุรกิจใหม่ๆ เข้าพอร์ต โดยบริษัทคาดว่าจะเปิดสาขาใหม่อีก 2 แห่ง เป็นแบรนด์ Onsen ในพัทยา และอีกแห่งในเทอร์มินอล 21 พระราม 3 คาดว่าสาขาในเทอร์มินอล 21 จะเริ่มการดำเนินงานในเดือน ต.ค. โดยมีเงินทุนจาก LH เมื่ออิงจากสภาพปัจจุบันกิจการจะต้องมีอัตราการดำเนินงาน 60%-70% เพื่อความคุ้มทุน
  • คาดบริษัทจะยังขาดทุนสุทธิที่ 55 ล้านบาทใน 1Q22 ก่อนที่จะฟื้นตัวเล็กน้อยใน 2H22 สืบเนื่องจากจำนวนกลุ่มลูกค้าหลักอย่างนักท่องเที่ยวจีนที่ชะลอตัวลง และการปิดสาขาไป 4 แห่งเมื่อ 4Q21 ซึ่งเป็นผลมาจากจํานวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนที่สูงขึ้น

สรุปผลประกอบการ 4Q21

  • ขาดทุน 4Q21 ที่ 46 ล้านบาท เทียบขาดทุนสุทธิ 78 ล้านบาทใน 4Q20 และขาดทุนสุทธิ 78 ล้านบาทใน 3Q21
  • การเติบโตทั้ง YoY และ QoQ เป็นผลมาจากการคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • รายได้ 4Q21 อยู่ที่ 77 ล้านบาท (-5%YoY, +493%QoQ) การเติบโตในเชิง QoQ ได้แรงหนุนจากการกลับมาเปิดสปา 55 สาขาใน 4Q21 เทียบกับ 5 สาขาใน 3Q21 แต่ที่ลดลง YoY เป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวลง
  • บริษัทเปิดสาขาใหม่ไปเพียง 1 แห่งใน 4Q21 ทำให้มีเครือข่ายทั้งหมด 71 สาขา ประกอบด้วยสาขาในประเทศ 66 แห่งและต่างประเทศ 5 แห่ง
  • ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ใน 4Q21 อยู่ที่ 28 ล้านบาท (-14%YoY,-4%QoQ) หลังจากประหยัดต้นทุนได้ดี
  • ขาดทุนสุทธิทั้งปี 2021 ที่ 287 ล้านบาท เทียบขาดทุนสุทธิ 209 ล้านบาท เป็นผลจากการปิดให้บริการสปาและร้านนวดชั่วคราวในเดือน ม.ค. 2021 และตั้งแต่ เม.ย.-ก.ย. 2021 ทำให้รายได้ลดลงมาอยู่ที่ 168 ล้านบาท (-61%YoY)

Revenue breakdown

SPA ดำเนินธุรกิจหลักอยู่ 4 ประเภทได้แก่ ธุรกิจสปา (91% ของรายได้ทั้งหมด) ธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร (3%) ธุรกิจจําหน่ายผลิตภัณฑ์สปา (5%) และธุรกิจโรงเรียนนวดแผนไทย (2%)

ในปี 2021 บริษัทมีเครือข่ายสาขาทั้งหมด 70 แห่ง ประกอบด้วย RarinJinda Wellness Spa 3 สาขา Let’s Relax Spa 45 สาขา บ้านสวนมาสสาจ 11 สาขา Stretch Me by Let’s Relax 6 สาขา และ Face Care by Let’s Relax 5 สาขา

- Advertisement -