บล.พาย: 

ADVANC: กําไรอาจแตะจุดต่ำสุดของปีใน 1Q22

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ด้วยมูลค่าพื้นฐานใหม่ อิงวิธีคิดลดเงินสด (DCF) ที่ 259 บาทหรือลดลง 4% และคิดเป็น 23.8xPE’22 หลังจากปรับลดประมาณการที่มีมุมมองเชิงบวกต่อธุรกิจอื่นนอกกลุ่มมือถือมากเกินไป แต่คาดว่า บริการ CCIID และ 5G จะเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของกำไรที่สำคัญในช่วงปี 2021-24

  • คาดกำไรสุทธิ 1Q22 อยู่ที่ 6.9 พันล้านบาท (+4% YoY ทรงตัว QoQ) การเติบโตที่จำกัดในเชิง QoQ เป็นผลมาจากสงครามราคาที่ยืดเยื้อ และจำนวนลูกค้าในร้านที่ลดลงจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน
  • คาดบริการ CCIID และรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย (ARPU) ของ 5G ที่สูงขึ้นจะช่วยหนุนให้กำไรมีการเติบโตต่อปี (CAGR) ที่ 9% ในช่วงปี 2021-24
  • ปรับลดประมาณการกำไรปี 2023-24 เพื่อลดมุมมองที่เป็นบวกมากเกินไป
  • คาดกำไรสุทธิ 1Q22 จะแตะจุดต่ำสุดของปี และนับเป็นโอกาสในการเข้าสะสมหุ้น ประเมินว่ากำไรจะค่อยๆ ปรับดีขึ้นตลอดทั้งปี 2022 จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นและการแข่งขันด้านราคาที่บรรเทาลง

พรีวิวผลประกอบการ 1Q22

  • คาดกำไรสุทธิ 1Q22 ที่ 6.9 พันล้านบาท (+4% YoY ทรงตัว QoQ) ด้วยยอดขายของหน่วยธุรกิจนอกเหนือมือถือ (CCIID) ที่สูงขึ้น แต่ประเมินการเติบโตที่จำกัดในเชิง QoQ จากสงครามราคาที่ยืดเยื้อ และการเติบโตของเศรษฐกิจที่อ่อนแอจากสถานการณ์โอมิครอน
  • คาดยอดขายที่ 4.5 หมื่นล้านบาท (ทรงตัว YoY, -11% QoQ) สืบเนื่องจากปัจจัยตามฤดูกาล (ยอดขาย iPhone ที่ลดลง
  • เชื่อว่าอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) จะโตแตะ 34.4% (+1.5ppts YoY, +4.2ppts QoQ) ด้วยแรงหนุนจากส่วนผสมผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น (ยอดขาย iPhone ที่ลดลง)

ภาพรวมปี 2022-23

  • เชื่อว่ากำไรปกติปี 2022 จะอยู่ที่ 2.9 หมื่นล้านบาท (+6% YoY) หนุนจากการเติบโตของกลุ่มธุรกิจที่นอกเหนือจากมือถือ และ ARPU ของบริการ 5G ที่เติบโตมากยิ่งขึ้น

คาดกลุ่มลูกค้าองค์กรจะยังหนุนการเติบโตของกำไรในอนาคต แม้จะปรับลดประมาณการปี 2021-24 ลง

ประมาณการกำไรปี 2022 ส่วนใหญ่ยังคงเดิม แต่ทำการปรับลดประมาณการกำไรปี 2023 และ 2024 ลง 9% และ 26% ตามลำดับ จากประมาณการชุดเดิม แม้จะเชื่อว่าธุรกิจ CCIID จะโตอย่างมีนัยสำคัญ แต่ IDC ประเมินว่าตลาด CCIID ของไทยจะโตราว 15%-18% ต่อปี โดยเราคาดว่าไทยจะเข้าถึง 5G ในวงกว้างได้หลังปี 2024 ซึ่งเป็นนัยว่ากลุ่ม CCIID จะมีอุปสงค์ไม่พอต่อการบรรลุตัวเลขของประมาณการชุดเดิม

คาดกำไรปี 2021-24 จะมี CAGR ที่ 9% ถือว่าปรับดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากกำไรที่มี CAGR -3.2% ในช่วงปี 2018-21 ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กรโดยรวมมีส่วนแบ่งราว 10%-11% ของรายได้บริการปกติ ขณะที่กลุ่มมือถือลูกค้าองค์กร (ยอดขายเหมารวมที่ส่วนใหญ่เป็น B2B) มีส่วนแบ่งที่ 6%-7% ของรายได้บริการปกติ ในด้านกลุ่มลูกค้าอื่นนอกเหนือจากองค์กรคิดเป็นสัดส่วนเพียง 3%-4% ของรายได้บริการปกติ แต่ผู้บริหารตั้งเป้าที่จะกระตุ้นส่วนแบ่งของกลุ่มลูกค้าองค์กรเป็น 20% ภายใน 3 ปีข้างหน้าผ่านธุรกิจคลาวด์ ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ อินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง บริการไอซีที และดาต้าเซ็นเตอร์ (CCIID) เป็นหลัก

มูลค่าพื้นฐานใหม่ที่ 259 บาท หลังปรับลด EBIT และ WACC

ตัวเลขปรับลด WACC เป็น 8.7% จาก 9.7% การปรับลดตัวเลขสำหรับธุรกิจ CCIID นั้น รวมถึงการปรับหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย (IBDs) ที่จะนำมาสนับสนุนการเติบโต นอกจากนี้ยังปรับการเติบโตสำหรับ EBIT ระยะยาว (2027-36) ขึ้นจากเดิมที่มีตัวเลขค่อนข้างอนุรักษ์นิยม ในด้านงบลงทุนสำหรับปี 2022-24 มีระดับที่สูงขึ้นจากคาดการณ์ถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้าน 5G และการเข้าซื้อใบอนุญาตคลื่น 3500 MHz ที่น่าจะทำให้กระแสเงินสดอิสระในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าปรับลดลง

Revenue Breakdown

รายได้ของบริษัท มาจาก 3 ธุรกิจหลัก

1) บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ คิดเป็น 65% ของรายได้ปี 2021 บริษัทมีผู้ใช้บริการทั้งหมด 44.1 ล้านรายทั่วประเทศ โดยมีผู้ใช้บริการที่ชำระล่วงหน้า (ระบบเติมเงิน) คิดเป็นสัดส่วน 74% ของผู้ใช้บริการทั้งหมด และส่วนที่เหลือเป็นผู้ใช้บริการแบบชำระภายหลัง (แบบระบบรายเดือน) นอกจากนี้ยังยอดขายของ SIM และอุปกรณ์มือถือ ซึ่งโดยปกติจะรวมอยู่กับบริการหรือเสนอให้กับลูกค้าแยกต่างหากมีสัดส่วน 20% ของรายได้ทั้งหมด

2) บริการอินเตอร์เน็ตความเร็ว (FBB) สูง คิดเป็น 5% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งบริษัทให้บริการอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง และบริการส่งสัญญาณอื่นๆบนเครือข่ายใยแก้วนำแสงของบริษัท ในปัจจุบันบริษัทมีผู้ใช้บริการ 1.8 ล้านราย

3) ธุรกิจดิจิตอลเซอร์วิสเป็นส่วนที่เหลือ อีกราว 11% ซึ่งแบ่งเป็นธุรกิจแพลตฟอร์มวิดีโอ บริการคลาวด์ สำหรับธุรกิจ บริการอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (IoT) ดาต้าเซ็นเตอร์ และบริการเช่าอุปกรณ์อื่นๆ

- Advertisement -