บล.พาย:

PSL: ภาพระยะสั้นไม่น่าตื่นเต้น แต่ระยะยาวเป็นบวก

ลดคำแนะนำเป็น “ถือ” ปรับลดมูลค่าพื้นฐานเป็น 16.0 บาท จาก 21.20 บาท อิง 1.5xPBV’22E หรือที่ค่าเฉลี่ย กลุ่มขนส่งเอเชียที่ไม่รวมญี่ปุ่น เชื่อว่าผ่านพ้นจุดสูงของช่วงขาขึ้นของตลาดไปแล้ว ขณะที่คาดว่าค่าระวางเรือเทกองจะกลับสู่ระดับปกติ และยืนในระดับที่ดีตลอดช่วงปี 2022-23 หนุนจากสมดุลด้านอุปสงค์-อุปทานที่ดีขึ้น

  • คาดอุปสงค์เรือเทกองสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์จะยังมีสภาวะชะลอตัวจนถึง 1H22 เป็นอย่างน้อย สืบเนื่องจากแรง กดดันจากสภาวะตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และการปิดเมืองของจีน
  • ส่วนอุปทานในระยะสั้นยังได้ประโยชน์จากกระแสการขนส่งสินค้าในรูปแบบตู้คอนเทนเนอร์และสภาวะแออัดของ ท่าเรือ แต่คาดว่าปัจจัยเหล่านี้จะคลี่คลายลงใน 2H22
  • คาดกำไรสุทธิ 1Q22 ที่ 1,389 ล้านบาท (-22%QoQ, +68%YoY) ปรับลดลงอย่างมากจากจุดสูงเป็นประวัติการณ์ใน 4Q21

คาดอุปสงค์เรือเทกองยังซบเซาจนถึง 1H22

คาดอุปสงค์เรือเทกองสินค้าโภคภัณฑ์จะยังมีแนวโน้มชะลอตัวจนถึง 1H22 เป็นอย่างน้อย สืบเนื่องจากแรงกดดันจากสภาวะตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และการปิดเมืองของจีน ส่วนปริมาณการขนส่งในตลาด Seaborne สำหรับสินค้าเทกองเฉพาะอย่าง เช่น แร่ ถ่านหิน และธัญพืชยังหดตัวต่อเนื่องในช่วง 1Q22 โดยคาดว่าตัวเลขจะซบเซาไปจนถึงช่วงปลายของ 1H22 (สินค้าจำพวกแร่และสินค้าเกษตรคิดเป็นสัดส่วนราว 40% และ 60% ของบริษัทและสินค้าเทกองของโลก ตามลำดับ)

คาดค่าระวาง (TCE) สำหรับเรือเทกองจะค่อยๆ ปรับลดลง จนถึงช่วงปลาย 2H22 แต่ยังอยู่ในระดับที่กลุ่มเจ้าของเรือทั้งหมดยังทํากำไรและมีอัตรากำไรที่ดี โดยยังคงมุมมองเชิงบวกต่อภาพรวมอุตสาหกรรมในปี 2022-23 ขณะที่คาดว่าค่าระวางเรือจะยังอยู่ในระดับที่ทำกำไรได้หรือยืนเหนือ US$12,000/วัน ในช่วงปี 2022-23 สอดคล้องกับมุมมองของ Clarksons ที่คาดว่าอุปสงค์-อุปทานจะปรับดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงปี 2022-23 ที่อุปทานเรือเทกองขนาดเล็กจะโตขึ้น 4.7% เทียบกับการเติบโตของฝังอุปสงค์ในแง่ของตันต่อไมล์ที่ 6.1%

การเติบโตของอุปทานกองเรือที่ต่ำหนุนให้ค่าระวางยังแข็งแกร่ง

ในระยะยสั้นตลาดเรือเทกองจะยังได้ประโยชน์จากกระแสการขนส่งสินค้าในรูปแบบตู้คอนเทนเนอร์ และการขนย้ายตู้ด้วยเรือเทกอง ซึ่งตลาดคาดว่าจะดำเนินไปจนถึงช่วงกลางปี 2022 ส่วนประเด็นสภาวะท่าเรือหนาแน่นที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ถือว่าไม่ใช่ปัจจัยกดดันด้านอุปทานในปี 2022 แล้ว เพราะกลุ่มประเทศหลักๆ ได้ผ่อนปรนมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมไปมากแล้ว

คาด TCE rate สำหรับเรือขนาดเล็ก-กลาง (Handysize และ Supramax) จะยังอยู่ในระดับที่ทำกำไรได้ดี หรือยืนเหนือ US$12,000/วันในปี 2022-23 ซึ่งได้รับแรงหนุนจากสมดุลระหว่างอุปสงค์-อุปทานในอุตสาหกรรมที่ปรับดีขึ้นจากคำสั่งต่อเรือที่เป็นประวัติการณ์ที่ 6.9% ของกองเรือเทกองในปัจจุบัน และที่เพียง 3.4% ของเฉพาะกลุ่ม Handysize (40% ของรายได้ที่บริษัทได้จากเรือ Handysize) อีกปัจจัยที่จำกัดการเติบโตของอุปทานด้านกองเรือ คือ ประเด็นการลดคาร์บอน เพราะกลุ่มเจ้าของเรือยังทำการประเมินเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อกิจกรรมเชิงพาณิชย์ของตนอยู่ ซึ่งทำให้รอบการลงทุนครั้งใหม่สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการเรือขนส่งต้องเลื่อนออกไป

สรุปผลประกอบการ

  • คาดกำไรสุทธิ 1Q22 ที่ 1,389 ล้านบาท (-22%QoQ, +68% YoY) ลดลงอย่างมากจากจุดสูงเป็นประวัติการณ์ใน 4Q21
  • การเติบโตในเชิง YoY ได้แรงหนุนจาก TCE rate ที่เอื้อต่อการทํากําไรในระดับสูง ซึ่งได้อานิสงส์มาจากสภาวะขาดแคลนอุปทานและการฟื้นตัวของอุปสงค์การค้าในตลาด Seaborne หลังมีการคลายล็อกดาวน์ในประเทศหลักๆ ส่วนที่ลดลง QoQ เป็นผลมาจาก TCE rate ที่ลดลงจากฐานสูงใน 2H21
  • คาดกำไรเฉลี่ยต่อลำต่อวันของบริษัทที่ US$22,293/วัน ใน 1Q22 (-16%QoQ +83%YoY) ขณะที่คาดว่า TC rate สำหรับเรือ Supramax และ Handy-sized จะอยู่ที่ US$23,899 (-18%QoQ, +94%YoY) และ US$19,267 (-23%QoQ, +61% YoY) ส่วนลดต่อค่าเฉลี่ยตลาดนี้เป็นผลมาจากขนาดกองเรือที่เล็กลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของตลาด และกรอบเวลาของสัญญาที่ทํากับลูกค้าที่ต่างกัน
  • คาด EBITDA ใน 1Q22 จะอยู่ที่ 1,761 ล้านบาท (-18%QoQ, +49%YoY) นับเป็นจุดสูงอันดับ 3 ในรอบ 10 ปี

ปรับเพิ่มประมาณการกําไรปี 2022 ขึ้น 33% แต่ปรับลดตัวเลขปี 2023-24 ลง 3%-5%

ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2022 ขึ้น 33% เพื่อสะท้อนถึง 1) การปรับเพิ่มรายได้ขึ้น 10% เพราะมีสมมติฐานว่า TC rate ในปี 2022 จะโตขึ้น 15% เป็น US$15,893/วัน แต่ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2023-24 ลง 3%-5% เพราะคาดว่าอัตราส่วนค่าใช้จ่าายการขายและบริหาร (SG&A) ต่อยอดขายจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 11.8% และ 12.8% ในปี 2023 และ 2024 ตามลำดับ หลังจากปรับเพิ่มค่าตอบแทนพนักงานและทีมผู้บริหารขึ้น

Revenue breakdown

ปัจจุบันบริษัทมีกองเรือบรรทุกสินค้าเทกองจำนวน 36 รวมน้ำหนักบรรทุก 1,585,805DWT โดยกองเรือของ บริษัทจดทะเบียนเป็นเรือธงไทยและสิงคโปร์จำนวน 20 และ 16 ลำ ตามลำดับ บริษัทดำเนินธุรกิจบริการขนส่ง สินค้าทางเรือ ซึ่งมีเครือข่ายครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยให้บริการขนส่งทางเรือที่รองรับสินค้าหลากหลาย ประเภท ประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ 32%, สินค้าเกษตร 17%, เหล็ก 9%, ปุ๋ย 10%, แร่ 10%, ถ่านหิน 7% และ รายการอื่นๆ 15%

บริษัทให้บริการเรือขนส่งสินค้า ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท:

  • การให้บริการเป็นรายเดี่ยว (Voyage Charter) คิดเป็นสัดส่วนที่ 6% ของรายได้รวม: การให้บริการลักษณะนี้ ผู้เช่าบริการจะชำระค่าระวางเรือให้แก่บริษัท เพื่อขนส่งสินค้าจากท่าเรือต้นทางไปยังอีกท่าเรือปลายทางใดๆ ตามที่ตกลง ซึ่งบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับเที่ยวการเดินเรือ ซึ่งรวมถึงค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
  • การเช่าเหมาลำเป็นระยะเวลา (Time Charter) คิดเป็นสัดส่วนที่ 94% ของรายได้รวม: ลูกค้าจะเช่าและว่าจ้างบริษัทเพื่อควบควบคุมเรือ และขนส่งสินค้าตามระยะเวลาที่ตกลงกัน ซึ่งลูกค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสําหรับเที่ยวการเดินทางนั้นๆ รวมถึงค่าน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย
- Advertisement -