สรุปภาวะตลาด
วันจันทร์ที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนลบตลอดช่วงการซื้อ-ขาย มีแรงซื้อเข้ามาเด่นในกลุ่ม โรงพยาบาล เช่น BDMS +3.00%, BCH +3.23% และการเก็งกำไรในหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ในขณะที่หลักทรัพย์ส่วนใหญ่ปรับตัวลง และวอลุ่มการซื้อขายมีแนวโน้มลดลงหรือทรงตัว เนื่องจากสัปดาห์น้ีเปิดทำการซื้อ-ขาย 2 วัน ก่อนเข้าสู่ช่วงหยุดยาว ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,678.46 จุด -7.54 จุด -0.45% มูลค่าการซื้อขาย 62,755 ลบ.ต่างชาติ -396.16 ลบ. TFEX -233 สัญญา ตราสารหนี้ -3,073.93 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ โนวาแวกซ์ อิงค์ และสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติ การขึ้นทะเบียนใช้งานในกรณีฉุกเฉิน (EUA) ให้กับวัคซีนโควิด-19 แบบมีโปรตีนเป็นพื้นฐานของเงินเฟ้อในวันนี้ของโนวาแวกซ์แล้ว
+ รมว.ต่างประเทศรัสเซียกล่าวว่ารัสเซียยังคงสนับสนุนการเจรจาสันติภาพกับยูเครนต่อไป แม้ว่ายูเครนมีจุดยืนที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และมีแนวโน้มที่จะปฏิเสธข้อเสนอของรัสเซีย
+ รมว.ยืนยันปี 2565 เศรษฐกิจไทยโต 3-4% อานิสงส์ บริโภคในประเทศ-ท่องเที่ยวฟื้นต่อเนื่อง ส่งออกยังแกร่ง พ่วงมาตรการรัฐเป็นเศรษฐกิจเต็มพิกัด จับตาสถานการณ์โควิด
+ ทอท. เปิดเผยว่าตั้งแต่ 1 เม.ย.65 ที่รัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกันโควิด-19 ยกเลิกการตรวจ RT-PCR ก่อนเข้าประเทศ ทำให้มีผู้โดยสารเดินทางผ่านท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งเฉลี่ย 127,822 คนต่อวัน เพิ่ม 19.24% จากเดือน มี.ค.65
+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 19,982 ราย ATK 10,977 ราย มีผู้เสียชีวิต 101 ราย รักษาหาย 28,057 ราย
ปัจจัยลบ-
– ดัชนีดาวโจนส์ปิด ลดลง 413.04 จุด -1.19% หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่งขึ้น ฉุดหุ้นเติบโต (Growth Stocks) ก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยตัวเลข
– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 3.97 ดอลลาร์ -4.0% ปิดที่ 94.29 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่สัญญาน้ำมันเบรนท์ ดิ่งหลุดจากระดับ 100 ดอลลาร์/บาร์เรล กังวลต่อการแพร่ระบาดอย่างหนักของโรคโควิด-19 ในจีนจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน รวมทั้งรายงานข่าวการระบายน้ำมันของ IEA
– ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจยูเครนมีแนวโน้มหดตัวรุนแรงถึง 45.1% ในปีนี้ เนื่องจากการที่รัสเซียใช้ กำลังทหารรุกรานยูเครนได้ส่งกระทบอย่างหนักต่อภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมการส่งออก และกิจกรรมทางเศรษฐกิจของยูเครน
– ตลท.เผย อยู่ระหว่างการพิจารณาออกมาตรการกำกับการซื้อขาย ดูแลหุ้นร้อนเพิ่ม หลังพบ “หุ้นกลาง-เล็ก” บางตัวโดนมาตรการกำกับซื้อขาย แต่ราคายังไปต่อ
– กระทรวงการคลังเตรียมจะเริ่มจัดเก็บภาษีจากการขายหุ้นให้ได้ภายในปีนี้ หลังจากที่ผ่านมามีการยกเว้นมาตลอด 30 ปี เนื่องจากมองว่าขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะตลาดหุ้นไทยมีความเข้มแข็งและเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวลงตามทิศทางตลาดต่างประเทศ หลังจากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตร รัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นเหนือระดับ 2.79% ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลว่าเฟดจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,670-1,685 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- Value Play : KBANK BBL SCB GPSC GULF ADVANC TRUE DTAC
- กรณีสงครามยืดเยื้อ ราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูง บวกต่อ PTTEP PTTGC TOP, สินค้าเกษตร ข้าวสาลี และ กากถั่วเหลืองขึ้น เป็นบวกต่อ TMILL TVO และเป็นลบต่อธุรกิจอาหารสัตว์ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น CPF GFPT ASIAN
- จ่อปลดล็อกเข้าประเทศทุกเงื่อนไข 1 มิ.ย.นี้ เลิก ThailandPass/Test&Go : AOT ERW CENTEL MINT AWC
หุ้นรายงานพิเศษ
TIDLOR (ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 46 บาท) Bloomberg Consensus คาดกำไร 1Q65 +13%YoY +11%QoQ
- ในช่วง 1Q65 แม้เป็นช่วง Low Season แต่มีรายได้จากการปล่อยสินเชื่อและขายประกันเติบโตที่ใกล้เคียง 4Q64 ที่เป็นช่วง high season ได้แรงหนุนจาก “บัตรติดล้อ” สำหรับบริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ การปล่อยสินเชื่อรถบรรทุกที่เติบโตดีตามภาพรวมธุรกิจโลจิสติกส์ ส่งผลให้เป้าการเติบโตทั้งปีของสินเชื่อ 20-25% รายได้จากการรับประกัน 30-35% น่าจะทำได้ NIM ลดลง YoY จากแคมเปญดอกเบี้ยพิเศษ ค่าใช้จ่ายต่อรายได้ลดลง QoQ คุณภาพสินเชื่อไม่น่าเป็นห่วง %NPL ปลายปี 64 อยู่ที่ 1.2% ต่ำ กว่าที่ระดับต่ำกว่า 2%
- ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อศักยภาพในการเติบโตต่อเนื่องทั้งรายได้ค่านายหน้าจากการรับประกันและการปล่อยสินเชื่อ รวมทั้งผลการดำเนินงานที่มีแนวโน้มเติบโตดี และโอกาสเติบโตแบบ inorganic จากดีล M&A เป็น upside จากผลการดำเนินงานปกติ Bloomberg Consensus คาดกำไร 1Q65 เฉลี่ย 883 ล้านบาท +13%YoY +11%QoQ และคาดกำไรปี 65 เฉลี่ยปี 65 เฉลี่ย 3,912 ล้านบาท +23%YoY
หุ้นมีข่าว
(+) CHG (Bloomberg Consensus 4.47 บาท) มองโอไมครอนเป็นจุดเปลี่ยนโควิดเป็นโรคประจำถิ่น กางแผนโยกบุคลากรทางการแพทย์กลับดูแลคนไข้ Non-Covid วางเป้ารายได้ปี 2565 เติบโต 20-25% จากฐานปกติปี 2563 หลังรับรู้รายได้จากการเปิดศูนย์ใหม่เต็มสูบ ฟากโบรกมองภาพรวม กลุ่มรพ.ไตรมาส 1/2565 คาดกำไรโต 353% (ที่มา ทันหุ้น)
(+) VL (Bloomberg Consensus – บาท) ส่งซิกยอดขนส่งครึ่งปีแรก 2565 ฟื้น ปริมาณการใช้น้ำมันไหลกลับ ชี้เปิดประเทศ-ท่องเที่ยวหนุนเข้าสู่ภาวะปกติ เล็งพิจารณาซื้อเรือใหม่ 2 ลำ น้ำหนักบรรทุกรวม 1.2 หมื่นเดตเวตตันจากปัจจุบันที่ 3.9 หมื่นเดตเวตตัน พร้อมนับถอยหลัง VL-W1 ใช้สิทธิแปลงสภาพครั้งที่ 2 ในอัตราการใช้สิทธิ 1:1 ที่ราคา 0.50 บาท วันที่ 27 เมษายนนี้ (ที่มา ทันหุ้น)
(+) SFLEX (Bloomberg Consensus 5.50 บาท) แย้มโรงงานใหม่ใกล้เสร็จแล้ว ดันกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 265 ล้านเมตรต่อปี หนุนรายได้ปี 2565 แตะ 1,800 ล้านบาท เดินหน้ารุกตลาดผลิตภัณฑ์อาหาร-การแพทย์ เน้นงานมาร์จิ้นสูง ล่าสุดผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผลงวดปี 2564 ในอัตราหุ้นละ 0.045 บาท เตรียมรับทรัพย์ 6 พฤษภาคมนี้ (ที่มา ทันหุ้น)
(+) PLANB (Bloomberg Consensus 9.60 บาท) มองเม็ดเงินโฆษณา 2 เดือนแรกขยายตัว ดันอัตราการใช้พื้นที่สื่อแตะ 45-50% ลุ้นกลางปี 2565 เปิดประเทศ-นักท่องเท่ียวต่างชาติไหลเข้าไทย หนุนสื่อในสนามบินฟื้นตัวแรง วางเป้าทั้งปี 2565 อัตราใช้พื้นที่สื่อยืนเหนือ 60% วางเป้ารายได้ เติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก หรือประมาณ 6,000-6,300 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 12 เม.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานนโยบายการเงิน
- 18 เม.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดประชุมนักวิเคราะห์ ครั้งที่ 1/2565
- สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการ ส่งออก-นำเข้า
- ภายใน 21 เม.ย. หุ้นกลุ่มธนาคารส่งงบการเงินงวด 1Q65
- 25 เม.ย. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์
- 29 เม.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
- 18 พ.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 3/2565
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 12 เม.ย. อียู รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนเม.ย.จากสถาบัน ZEW
สหรัฐ รายงาน ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมเดือนมี.ค.จากสหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB) อัตราเงินเฟ้อเดือนมี.ค.
- 13 เม.ย. สหรัฐ รายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมี.ค. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
- 14 เม.ย. ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประชุม นโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย
สหรัฐ รายงานจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค. ราคานําเข้า และราคาส่งออกเดือนมี.ค.
- 15 เม.ย. สหรัฐ เปิดเผยดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือน เม.ย.จากเฟดนิวยอร์กการผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนมี.ค.