อาเซียนได้รับผลกระทบจากการปรับประมาณการของ IMF ไม่มาก

  • IMF ปรับลด GDP โลกเหลือ 3.6% จาก 4.4% อาเซียนยังเป็นภูมิภาคที่โดดเด่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกรายงานเศรษฐกิจรายไตรมาสฉบับ เม.ย.65 ซึ่งภาพรวมเป็นการปรับลดคาดการณ์เติบโตของภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก สะท้อนผลกระทบจากปัญหายูเครนและการล็อคดาวน์ของจีนที่อาจกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน โดยปรับ GDP โลกลงเหลือ 3.6% (จาก 4.4%) โดยภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบหนักคือ ยุโรปและรัสเซีย ขณะที่อาเซียน (ASEAN-5) ได้รับผลกระทบจากการปรับลดประมาณการในระดับที่ค่อนข้างต่ำ ขณะที่โมเมนตัมการเติบโตฟื้นตัวดีต่อเนื่องในช่วง 2 ปี ข้างหน้า (GDP 64-66 อยู่ที่ 3.4%, 5.3% และ 5.9%) ซึ่งอาจถือเป็นภูมิภาคเดียวในโลกที่เศรษฐกิจอยู่ในเส้นทางฟื้นตัว ขณะที่ภูมิภาคอื่นส่วนใหญ่ เศรษฐกิจผ่านจุดที่เติบโตดีที่สุดไปแล้ว ซึ่งเรามองด้วย Asset allocation ที่มีโอกาสถูกจัดสรรมายังอาเซียนมากขึ้น จะยังเป็นปัจจัยหนุนเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคในระยะ 12 เดือนข้างหน้า แม้ในระยะสั้นอาจมีการชะลอลงบ้างจากผลของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ ที่ตึงตัวมากขึ้น
  • ตลาดมีแนวโน้มเคลื่อนไหวตามคาดการณ์ผลประกอบการ และยังมีโอกาสเลือกเก็งกําไรรายตัว กลุ่มธนาคาร ผลประกอบการของ TISCO และ KKP ออกมาดีตามคาด-ดีกว่าคาด โดยมีแนวโน้มของการตั้งสํารองที่ลดลง อาจเป็นบวกต่อหุ้นในกลุ่มธนาคาร อย่างไรก็ตาม การปรับลด GDP กระทบต่อแนวโน้มการเติบโตของสินเชื่อ อาจทำให้หุ้นธนาคารระยะสั้นยังไม่ไปไหน // ทั้งนี้ตลาดยังมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากกลุ่มที่ได้ผลบวกจากการเปิดประเทศ ไม่ว่าจะเป็นท่องเที่ยว ค้าปลีก และการแพทย์ // สำหรับหุ้นพลังงาน เราชอบเพียงกลุ่มโรงกลั่น ที่น่าจะรายงานกำไรไตรมาส 1/65 โนระดับดีมาก จากค่าการกลั่นที่สูง (หุ้นเด่น คือ TOP) ขณะที่อาจจับตากลุ่มสถานีบริการน้ำมัน ที่น่าจะเริ่มฟื้นตัวจากราคาพลังงานที่เริ่มทรงตัว และการยกเลิกการตรึงราคาดีเซล อาจเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้หุ้นนน้ำมันเริ่มฟื้นตัว

ประเด็นเก็งกําไรอื่น

1) กลุ่มท่องเที่ยว CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR

2) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO,

3) กลุ่มมีลุ้นเข้า SET50 ได้แก่ JMT, JMART

4) กอง REIT ได้แก่ FTREIT, WHART

5) ขณะที่หุ้นกลาง-เล็กที่สามารถเลือกเก็งกำไร (แบบกำหนดจุดตัดขาดทุน) ในช่วงนี้ ได้แก่ PJW, TTCL, THREL, BLA, IND, MAJOR, WORK, TH, SCN, SCI, FSMART, KAMART, CMR

ภาพรวมกลยุทธ์: มีโอกาสฟื้นตัวทดสอบ 1,680-1,685 จุด หลัง ASEAN ได้รับผลกระทบจากการปรับประมาณการของ IMF น้อย และปัจจัยภายในจากเตรียมผ่อนคลายมาตรการคุมโควิด 22 เม.ย. แต่ยังคงมุมมองระมัดระวังสําหรับไตรมาส 2/65 ที่อัพไซต์อาจจะจํากัด จากการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้ภาพรวมกล ยุทธ์ยังเป็นเพียงการเลือกเก็งกําไรรายตัว ระหว่างรอตลาดและหุ้นรายตัวปรับลงจนถึงจุดซื้อที่ดี

หุ้นแนะนำ: CRC*, TTCL*, MAJOR*, ASW* 

แนวรับ: 1,668-1,670 / แนวต้าน : 1,680-1,685 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%

ประเด็นการลงทุน

  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีทำไฮต่อเนื่อง พุ่งขึ้นแตะระดับ 2.91% เมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปลายปี 2561 ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
  • สหรัฐเผยตัวเลขเริ่มต้นสร้างบ้านเพิ่มขึ้นในเดือน มี.ค. สวนทางคาดการณ์ – กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านเพิ่มขึ้น 0.3% ใน เดือน มี.ค. สู่ระดับ 1.793 ล้านยูนิต สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าลดลงสู่ระดับ 1,745 ล้านยูนิต จากระดับ 1.788 ล้านยูนิตในเดือน ก.พ.
  • น้ำมันปิดร่วง $5.65 หลัง IMF นั่นคาดการณ์เศรษฐกิจโลก – สัญญาน้ำมันดิบ เวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 5% ในวันอังคาร (19 เม.ย.) หลัง IMF ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้า ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจอาจส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันในตลาด
  • “พลังงาน” อุ้มน้ำมันดีเซลต่อไม่ไหว จ่อขยับแบบขั้นบันไดเริ่ม 32 บาท – มาตรการตรึงราคาดีเซลลิตรละ 30 บาท ภาครัฐจะลดการอุดหนุนราคาลงในวันที่ 1 พ.ค. 2565 ในขณะที่การลดภาษีดีเซลลิตรละ 3 บาท รวม 3 เดือน โดยจะสิ้นสุดมาตรการในวันที่ 20 พ.ค. 2565 ซึ่งจะทำให้ราคาดีเซลทยอยปรับเพิ่มสูงขึ้น
  • “เจทีเอส-บีจีที” ราคาหุ้นพุ่ง นิวไฮต่อเนื่อง “ตลท,” สั่งเข้ามาตรการ แคชบาลานซ์ระดับ 3 – มีผลตั้งแต่ 20 เม.ย. – 10 พ.ค. หยุดซื้อขายชั่วคราว 1 วัน

ประเด็นติดตาม: 21 เม.ย. – EU CPI เดือน มี.ค., Fed Chair Powell Speaks, ECB President Speaks / 22 เม.ย. – US Manufacturing PMI, TH ศบค. ขยายมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติม / 26 เม.ย. – US ความเชื่อมั่นผู้บริโภค, US ยอดขายบ้านใหม่

ประเด็นลงทุนสําหรับหุ้นแนะนำ

  • เก็งกำไร CRC* (45) : ผลประกอบมีแนวโน้มฟื้นตัวตามการใช้จ่าย และกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลังเปิดประเทศ ตัดขาดทุน 40 บาท
  • เก็งกำไร TTCL* (6) : คาดผลการดำเนินงานมีแนวโน้ม tumaround ตัดขาดทุน 4.80 บาท
  • เก็งกำไร MAJOR* (22) : กระแสเงินสดแข็งแกร่ง และผลการดำเนินงานฟื้นตัวจากการเปิดประเทศ และหน้าหนังที่ดี ตัดขาดทุน 19.50 บาท
  • เก็งกำไร ASW* (9.00) : หุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อขายด้วย PER เพียง 5-6 เท่า ขณะที่รายได้เติบโตต่อเนื่อง ตัดขาดทุน 7.90 บาท

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

Market News & Factors

  • ตลาดหุ้นสหรัฐ: ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเกือบ 500 จุดในวันอังคาร (19 เม.ย.) ขานรับผลประกอบการที่ แข็งแกร่งเกินคาดของบริษัทจดทะเบียน รวมทั้งการแสดงความเห็นเชิงบวกเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดหุ้นยุโรป: ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงในวันอังคาร (19 เม.ย.) ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความวิตกเกี่ยวกับสงครามในยูเครนและการเปิดเผยผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน ทำให้นักลงทุนชะลอการเข้าซื้อหุ้น แต่หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นสวนทางตลาด แม้ราคาน้ำมันร่วงลงก็ตาม (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดหุ้นญี่ปุ่น: ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดปรับตัวขึ้นในวันนี้ เนื่องจากหุ้นกลุ่มส่งออกได้แรงหนุนจากสกุลเงินเยนที่อ่อนค่าลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 20 ปี เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ท่ามกลางแนวโน้มว่านโยบายการเงินระหว่างธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กับธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOI) จะแตกต่างกัน (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดน้ำมัน: สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WII) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 5% ในวันอังคาร (19 เม.ย.) หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้า ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจอาจส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันในตลาด (อินโฟเควสท์)
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ทําไฮต่อเนื่อง โดยพุ่งขึ้นแตะระดับ 2.91% เมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปลายปี 2561 ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ (อินโฟเควสท์)
  • สหรัฐเผยตัวเลขเริ่มต้นสร้างบ้านเพิ่มขึ้นในเดือน มี.ค.สวนทางคาดการณ์: กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือน มี.ค. สู่ระดับ 1.793 ล้านยูนิต สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าลดลงสู่ระดับ 1.745 ล้านยูนิต จากระดับ 1.788 ล้านยูนิตใน เดือนก.พ. (อินโฟเควสท์)
  • “พลังงาน” อุ้มน้ำมันดีเซล ต่อไม่ไหว จ่อขยับแบบ ขั้นบันไดเริ่ม 32 บาท: มาตรการตรึงราคาดีเซลลิตรละ 30 บาท ภาครัฐจะลดการอุดหนุนราคาลงในวันที่ 1 พ.ค. 2565 ในขณะที่การลดภาษีดีเซลลิตรละ 3 บาท รวม 3 เดือน โดยจะสิ้นสุดมาตรการในวันที่ 20 พ.ค. 2565 ซึ่งจะทำให้ราคาดีเซลทยอยปรับเพิ่มสูงขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ)
  • “เจทีเอส-บีจีที” ราคาหุ้นพุ่งนิวไฮต่อเนื่อง “ตลท.” สั่งเข้ามาตรการแคชบาลานซ์ระดับ 3: มีผลตั้งแต่ 20 เม.ย. – 10 พ.ค. หยุดซื้อขายชั่วคราว 1 วัน (กรุงเทพธุรกิจ)

Report & Corporate News

  • Energy Drinks MARKET WEIGHT: กลุ่ม Energy drinks งวด 1Q22 ประเมินกำไรจากการดำเนินงาน OSP CBG ลดลงใกล้เคียงกัน yoy โดยแรงกดดันยังมากจาก gross margin ที่ลดลงตามราคา Commodities ที่สูงขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะยังทรงตัวสูงต่อไปใน งวด 1H22 ขณะที่พัฒนาการปรับตัวหลักๆ เห็นจาก OSP มากกว่า อย่างการเปิดตัวสินค้าใหม่ 12 บาท แม้ระยะสั้นเห็นผลกระทบบางส่วน แต่ยังต้องติดตามความคืบหน้าของกลยุทธ์ระยะถัดไป ภาพรวมประเมินกำไรกลุ่มจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นในงวด 2H22 จากทั้งฐานกำไรที่ต่ำ แรงกดดัน Commodities ที่จะลดลง และการปรับตัวทั้งสินค้าใหม่และประสิทธิภาพผลิตที่จะเห็นผลมากขึ้น ให้น้ำหนักลงทุน เท่าตลาด ชอบ OSP มากกว่าจากแผนปรับตัวที่หยืดหยุ่นกว่า
  • IVL Maintained BUY TP: 65.00 บาท: แม้ว่าจะมีปัจจัยตามฤดูกาลที่ต่ำ และต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น แต่เราคาดว่า IVL จะรายงานกำไรสุทธิสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 10.0 พันลบ. (+65% yoy และ +85% qoq) และกำไรหลักที่ 7.6 พันลบ. (+97% yoy และ +39% ) ใน 1Q22 เรายังชอบ IVL สำหรับภาพรวมในระยะยาว โดย IVL เป็น Top Pick ของเราใน กลุ่มปิโตรเคมี คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย: 65.00 บาท
  • EGCO: บริษัทฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาในการขายไฟให้กับบริษัทที่ทำธุรกิจเหมืองขุดคริปโทเคอร์เรนซี หลังจากในช่วงที่ผ่านมามีผู้ประกอบการเข้ามาเชิญชวนให้บริษัทฯ ไปร่วมลงทุนหรือขายไฟฟ้าให้กับธุรกิจที่เกี่ยวกับ เหมืองขุดคริปโทฯ เป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันโรงไฟฟ้าของบริษัทส่วนใหญ่ได้มีสัญญาซื้อขายระยะยาวเต็มกำลังการผลิตแล้ว แต่ก็ยังมีโรงไฟฟ้าบางส่วนที่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ (อินโฟเควสท์)
  • BBIK: บริษัทฯ ได้เข้าซื้อหุ้น บริษัท ไอที-แคท จำกัด หรือ IT-CAT ในสัดส่วน 40% จากผู้ถือหุ้นเดิม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชันด้านทรัพยากรบุคคลบนระบบคลาวด์ (HR Cloud Solution) ภายใต้ชื่อ HumanOS ที่พัฒนาโดย ไอที-แคท เชื่อว่าจะสามารถสร้างรายได้ประจำที่มั่นคงในระยะยาว (Recurring income) และตอกย้ำความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันครบวงจร (อินโฟเควสท์)
- Advertisement -