บล.พาย:

PTTEP: คาดขาดทุน Hedging จะฉุดกำไรสุทธิ 1Q22 ลง

คาดกำไรสุทธิ 1Q22 ที่ 9.4 พันล้านบาท (-18% YoY, -11% QoQ) แม้ยอดขายและราคาขายโตดี แต่คาดกำไรสุทธิลดลงจากผลขาดทุนสัญญาป้องกันความเสี่ยงที่สูงขึ้นเป็น US$220 ล้าน

  • หากไม่รวมรายการพิเศษ คาดว่ากำไรปกติจะอยู่ที่ 1.66 หมื่นล้านบาท (+228% YoY, -3% QoQ) สาเหตุที่พุ่งสูงขึ้น YoY เป็นผลจากยอดขายที่โตขึ้น 11% และราคาขายเฉลี่ยที่พุ่งขึ้น 25%
  • ภาพรวมที่สดใสในปี 2022 มีแรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบและก๊าซที่สูงขึ้น แม้คาดว่าความผันผวนจะยังคงดำรงอยู่ จากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง การปล่อยสำรองน้ำมันจากสมาชิก IEA และสถานการณ์โควิด-19 ในจีน แต่ก็คาดว่าน้ำมันดิบเบรนท์จะซื้อขายกันในกรอบ US$100-115/bbl ในช่วง 2Q22 ถึง 2H22 (เพิ่มขึ้น 40% จากค่าเฉลี่ยใน 4Q21)
  • ปรับประมาณการกำไรปี 2022-23 ขึ้น 24%-39% หลังจากปรับเพิ่มสมมติฐานราคาขายน้ำมันดิบขึ้น 20%-25%

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ขณะที่ปรับเพิ่มมูลค่าพื้นฐานขึ้น 23% เป็น 179.0 บาท สืบเนื่องจากการปรับประมาณการกำไรปี 2022-23 ในกรอบ 24%-39% ซึ่งสะท้อนภาพรวมราคาน้ำมันดิบและก๊าซที่ปรับดีขึ้น มูลค่าพื้นฐานนี้คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) (WACC 8.9%, TG 1%) หรืออิง 10x PE’22E

คาดกำไรสุทธิ 1Q22 ที่ 9.4 พันล้านบาท (-18% YoY, -11% QoQ)

  • คาดกำไรสุทธิ 1Q22 ที่ 9.4 พันล้านบาท (-18% YoY, -11% QoQ) แม้ยอดขายและราคาขายโตดี แต่คาดกำไรสุทธิลดลงจากผลขาดทุนสัญญาป้องกันความเสี่ยงที่สูงขึ้นเป็น US$220 ล้าน หากไม่รวมรายการพิเศษ คาดว่ากำไรปกติจะอยู่ที่ 1.66 หมื่นล้านบาท (+228% YoY, -3% QoQ)
  • สาเหตุที่พุ่งสูงขึ้น YoY เป็นผลจากยอดขายที่โตขึ้น 11% และราคาขายเฉลี่ยที่พุ่งขึ้น 25% โดยคาดว่ายอดขายจะอยู่ที่ 425 kBOED (+11% YoY, ทรงตัว QoQ) ใน 1Q22 ปรับดีขึ้น YoY จากกำลังการผลิตของ Oman Block 61 และ Sabah H ที่เริ่มดำเนินงานเชิงพาณิชย์ (COD) ใน 1Q21
  • คาดราคาขายเฉลี่ยจะเพิ่มเป็น US$50.0/BOE (+25% YoY, +6% QoQ) หลังจากราคาน้ำมันดิบปรับสูงขึ้นขณะที่ราคาก๊าซเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในด้านราคาน้ำมันดิบดูไบนั้นพุ่งแตะ US$92.0/bbl ในช่วงไตรมาส (+83% YoY, +18% QoQ) จึงคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) จะเพิ่มเป็น 56% เทียบกับ 41% ใน 1Q21 หนุนจากราคาขายเฉลี่ยที่สูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนหน่วยการผลิตที่ทรงตัว

ภาพรวมตลาดน้ำมัน

  • สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนผลักดันให้ราคาน้ำมันเบรนท์ขึ้นแตะจุดสูงรอบ 10 ปี ที่ US$138/bbl ในช่วงกลางเดือน มี.ค. 2022 (เพิ่มขึ้น 92% จากค่าเฉลี่ยที่ US$72/bbl ใน 4Q21) ก่อนที่จะย่อตัวลงมาอยู่ในกรอบ US$105/bbl ใน เดือน เม.ย. 2022
  • คาดค่าพรีเมี่ยมในราคาน้ำมันดิบที่เกิดจากสงครามจะยังยืนระดับต่อไปในจนถึง 3Q22 หรือนานกว่านั้น สืบเนื่อง จากการเจรจาสันติภาพที่ไม่ประสบความสำเร็จ และการคว่ำบาตรรัสเซียเพิ่มเติม จึงทำให้มีมุมมองที่เป็นบวกเล็กน้อยต่อภาพรวมตลาดน้ำมันดิบ
  • EIA ประเมินราคาเบรนท์เฉลี่ยที่ US$108/bbl ใน 2Q22 และลดลงเหลือ US$102/bbl ใน 2H22 และ US$89/bbl ใน ปี 2023

ผลกระทบของสงคราม คาดเบรนท์ยืนเหนือ US$100/bbl ในปี 2022

  • ปัจจัยเสี่ยงด้านอุปทานจากรัสเซียและการขาดอุปทานที่จะมาแทนส่วนของรัสเซีย เพราะ OPEC ยังคงท่าทีเป็นกลาง และยึดมั่นกับแผนการปรับเพิ่มปริมาณการผลิตขึ้น 400kbd ต่อเดือน น่าจะทำให้ราคาน้ำมันยืนเหนือ US$100/bbl ในปี 2022
  • การตัดสินใจของสหรัฐฯ และสมาชิก EA ในการปล่อยสต็อกน้ำมันออกมามากขึ้นภายในเดือน พ.ค. (240 ล้าน บาร์เรล) น่าจะชดเชยความเสี่ยงด้านอุปทานในระยะสั้นได้ แต่จำนวนที่ระบุออกมา (1.3 ล้าน bpd) จะเพียงพอต่อการชดเชยการขาดแคลนของอุปทานจากรัสเซียถึงแค่ 3Q22 ยิ่งกว่านั้น สต๊อกของสหรัฐฯ ก็อยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว การปล่อยสำรองออกมามากขึ้นจึงอาจทำให้สหรัฐฯ อ่อนไหวต่อสถานการณ์ความผันผวนของอุปทาน
  • จากเหตุข้างต้นจึงคาดว่าความผันผวนจะยังดำรงอยู่เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน การปล่อยสำรอง น้ำมันโดยสมาชิก IEA และโควิด-19 ระลอกใหม่ในจีน ฯลฯ แต่ก็คาดว่าน้ำมันเบรนท์จะซื้อขายกันในกรอบ US$100-115/bbl ใน 2Q และ 2H22

ปรับประมาณการปี 2022-23 ในกรอบ 24%-39%

ปรับประมาณการกำไร 2022-23 หลังปรับเพิ่มสมมติฐานราคาขายน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 20%-25% และปรับสมมติฐานราคาก๊าซ 5%-8% มูลค่าพื้นฐานที่ 179 บาท อิงวิธี DCF (WACC 8.9%, TG 1%) ขณะที่ปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบเป็น US$80/bbl (จากเดิมที่ US$70/bbl) สำหรับกรอบปี 2024-30 ขณะที่ยังคงสมมติฐานราคาก๊าซระยะยาวที่ US$6.0/MMBTU หลังปี 2023

Revenue breakdown

รายได้หลักของ PTTEP มาจากธุรกิจสำรวจและการผลิต (E&P) ซึ่งคิดเป็น 98% ของรายได้ทั้งหมด ที่เหลืออีก 2% มาจากธุรกิจท่อส่งก๊าซและอื่นๆ โดยในส่วนของก๊าซนั้นคิดเป็น 71% ของยอดขายทั้งหมด ส่วนน้ำมันคิดเป็น 29%

ขณะที่น้ำมันมีราคาขายที่สูงกว่าก๊าซ ทำให้รายได้จากธุรกิจก๊าซคิดเป็น 55% ของรายได้ทั้งหมด ส่วนน้ำมันคิดเป็น 45%

PTTEP ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รายได้ราว 72% มาจากไทย 21% จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอีก 7% จากที่อื่นๆ

- Advertisement -