Our View? “แรงยังไม่มี”

คาดตลาดวันนี้ “Sideways” มองแนวรับที่บริเวณ 1,685 / 1,675 และแนวต้านที่บริเวณ 1,695 / 1,700 คาดตลาดจะได้รับ Sentiment ระยะสั้นจากตลาดต่างประเทศบ้าง หลังนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (FED) กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อถือเป็นการดำเนินการที่เหมาะสม รวมทั้งส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ 50 BPS ในการประชุม FOMC เดือน พ.ค. เป็นจิตวิทยาเชิงลบกดดัน-จํากัดการฟื้นตัวของตลาดได้บ้าง อย่างไรก็ดี เราคาดว่าตลาดรับรู้ประเด็นดังกล่าวได้บ้างพอสมควรแล้ว จากประธาน FED หลายสาขาต่างส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ ครั้งละ 50 BPS ในการประชุม 2 ครั้งที่จะถึงนี้ และคาดว่าดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐจะอยู่ที่ระดับ 225-250 BPS ในปีนี้ ซึ่งยังต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ในปัจจุบัน จาก CME Fed Watch Tools บ่งชี้ตลาดคาดว่า ในสิ้นปีนี้ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐจะอยู่ที่ระดับ 275-300 BPS สะท้อนตลาดกังวลกับการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ไปในระดับที่สูงแล้ว อย่างไรก็ตาม เราแนะนำติดตามการประชุม FOMC วันที่ 3-4 พ.ค. ต่อในประเด็นการลดขนาดของงบดุล (QT) ถึงวิธีการและระยะเวลาในการปรับลด คาดจะเป็นปัจจัยลดทอนกระแสเงินทุนส่วนเกินออกจากตลาด กดดันทิศทางราคาสินทรัพย์เสี่ยงต่อเนื่อง

ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ (US-Bond Yield) พยายามปรับตัวขึ้นอีกครั้ง เช้านี้รุ่นอายุ 10 ปี แกว่งตัวอยู่ที่บริเวณ 2.95% พยายามขึ้นเข้าใกล้ระดับ 3% สูงสุดในรอบ 3 ปี เรามองแนวต้านของ 10 Years US Bond Yield ในช่วง 3.00-3.25% จะเป็นโซนแนวต้านที่แข็งแกร่งชะลอการปรับตัวขึ้น และคาด US-Bond Yield จะ ทรงตัวไปอีกระยะ ซึ่งจะเป็นปัจจัยช่วยลดแรงกดดันจากการแคบลงของส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนของ สินทรัพย์เสี่ยงต่อสินทรัพย์ปลอดภัยได้บ้าง

อีกทั้งเรามีมุมมองเชิงลบต่อวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนที่มีแนวโน้มตึงเครียดมากขึ้น หลังกระทรวงกลาโหม รัสเซียเปิดเผยว่ารัสเซียได้ทดลองยิงขีปนาวุธข้ามทวีปซาร์มัต (Sarmat) รวมทั้งยังสั่งการให้กองกำลังนิวเคลียร์เชิงยุทธศาสตร์เตรียมพร้อมตลอดเวลา เรามองเป็นส่งสัญญาณกดดันสหรัฐ-ชาติพันธมิตร ซึ่งส่งผลให้ความตึงเครียดในประเด็นดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ ปธน.สี จิ้น ฟิง กล่าวสุนทรพจน์ถึงการต่อต้านการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ รวมถึงการใช้เขตอำนาจรัฐนอกดินแดน (Long arm jurisdiction) คาดส่งผลให้สถานการณ์ความตึงเครียดดังกล่าวยืดเยื้อออกไป  มองเป็นปัจจัยลบต่อทิศทางราคาสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มเติม

ทางด้านราคาสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI. ส่งมอบเดือน มิ.ย. คืนนี้พยายามฟื้นตัวขึ้นได้บ้างปิดที่ระดับ 103.79 ดอลลาร์/บาร์เรล +1.60 ดอลลาร์ (+1.57%) ยังคงได้รับปัจจัยบวกระยะสั้น หลังมีรายงาน OPEC+ ผลิตน้ำมันต่ำกว่าเป้าในเดือน มี.ค. อีกทั้งรัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี กล่าวว่าเยอรมนีจะยุติการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย ภายในสิ้นปีนี้ โดยจะปรับลดลง 50% ภายในฤดูร้อนนี้ ก่อนที่จะลดลงให้เหลือ 0% ภายในสิ้นปีนี้ สะท้อนแนวโน้ม สหภาพยุโรป (EU) มีแนวโน้มออกมาตรการกีดกันการส่งออกพลังงานของรัสเซียเพิ่มเติมในระยะถัดไป คาดจะช่วย หนุนทิศทางราคาน้ำมันดิบ-หุ้นในกลุ่มพลังงานแกว่งตัวออกด้านข้างอิงทางบวกได้

ในส่วนของปัจจัยในประเทศ การเปิดเผยผลประกอบการของหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยรวมออกมาดีกว่าคาด โดยทั้งกลุ่ม +23.4% QoQ และ +13.20% YoY ดีกว่าที่ตลาดคาด อย่างไรก็ตาม การรายงานผลประกอบการของธนาคารขนาดใหญ่ (KBANK, SCBB และ BBL) แม้ออกมาขยายตัว QoQ และ YoY เช่นกัน แต่ออกมาน้อยกว่าที่ตลาดไว้ก่อนหน้า คาดจะส่งผลกดดันทิศทางราคาหุ้นในกลุ่มธนาคารดังกล่าวถ่วงตลาดได้

เรามองจากสถานการณ์ดังกล่าวหุ้นในกลุ่มขนาดเล็กและขนาดกลาง คาดจะยังสามารถ Perform ได้ดีกว่า ซึ่งได้รับผลจากการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติที่ลดลงค่อนข้างน้อย ขณะที่ Valuation ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในระดับที่ตึงตัว

ธีมการลงทุน “Selective Play”

หุ้นแนะนําวันนี้ “ICH”

กลยุทธ์ เก็งกำไ รแนวรับ 11.90/11.70 Target 13.30 /15.00 Stop <11.40

- Advertisement -