บล.พาย:

KBANK: เน้นปรับโครงสร้างหนี้

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 174 บาท คำแนะนำนี้สะท้อน 1) ภาพรวมการเติบโตที่มั่นคงในอนาคต จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น 2) สำรองหนี้ฯ ที่เพียงพอต่อหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ใหม่ และ 3) มูลค่าหุ้นที่น่าดึงดูด ทั้งนี้ มูลค่าพื้นฐานข้างต้นคำนวณด้วยวิธี Gordon Growth Model (ROE 9%, อัตราการเติบโต 2%) อิง 0.8x PBV22E หรือ -0.75SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี

  • ผู้บริหารคงตัวเลขแนวทางสำหรับปี 2022 ตามเดิม แม้จะมีการปรับลดประมาณการ GDP ลงก็ตาม โดยคาดว่า ธนาคารจะเน้นการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อยกระดับงบดุลให้ดีขึ้น
  • กำไรสุทธิ 1Q22 สอดคล้องกับคาดการณ์ที่ 1.12 หมื่นล้านบาท (+5% YoY, +13% QoQ)
  • คุณภาพสินเชื่อค่อนข้างยืดหยุ่นต่อสถานการณ์โดยรวม ด้วย NPL ratio ที่ 3.8% ใน 1Q22 ส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญยังอยู่ในระดับสูงที่ 158% เมื่อเทียบกับ NPL ใหม่
  • คงประมาณการการเติบโตของกำไรสุทธิปี 2022 ที่ 13% และปี 2023 ที่ 10%
  • มูลค่าหุ้นยังถือว่าไม่แพง ด้วยการซื้อขายในปัจจุบันที่เพียง 0.7x PBV’22E หรือ -1SD ต่อค่าเฉลี่ยในอดีต

ให้น้ำหนักเป็นกลางจากการประชุมนักวิเคราะห์

  • ธนาคารปรับลดประมาณการ GDP ไทยเป็น 2.5% YoY สำหรับ ปี 2022 จาก 3.7% ในเดือน ม.ค.) เพื่อสะท้อนปัจจัยเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน
  • แม้จะปรับลดประมาณการ GDP แต่ทางธนาคารยังคงตัวเลข แนวทางการเงินสำหรับปี 2022 ตามเดิม
  • สินเชื่อภายใต้มาตรการช่วยเหลือยังลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 2.50 แสนล้านบาท (10% ของสินเชื่อรวม) ใน 1Q22 จาก 3.22 แสนล้านบาท (13%) ในเดือน ธ.ค. 2021 ซึ่งเป็นผลจากการที่ลูกค้าออกจากโครงการมากขึ้น ผู้บริหารระบุว่าสินเชื่อภายใต้มาตรการนี้น่าจะปรับลดลงในช่วงไตรมาสถัดๆ ไป สืบเนื่องจากการดำเนินโครงการปรับโครงสร้างหนี้ในเชิงรุก
  • ส่วนในอนาคตทางธนาคารจะมุ่งเน้นการปรับโครงสร้างหนี้ตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อยกระดับงบดุลของตนขึ้น โดยทางธนาคารคาดว่าต้องมีการปรับราว 1.93 แสนล้านบาท จาก 2.50 แสนล้านบาท โดยมีสัดส่วน 25% ของ 9.3 หมื่นล้านบาท ที่ทําการปรับโครงสร้างเสร็จแล้วใน 1Q22
  • ธนาคารยังคงตั้งสำรองหนี้ฯ ส่วนเกิน และยืนยันว่าค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญที่เพิ่มเป็น 160bp ในปี 2022 นั้นเพียงพอต่อการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนในอนาคต

สรุปผลประกอบการ

  • กำไรสุทธิ 1Q22 สอดคล้องกับคาดการณ์ที่ 1.12 หมื่นล้าน บาท (+5% YoY, +13% QoQ) การเติบโตในเชิง YoY เป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่โตขึ้นจากสินเชื่อที่สูงขึ้น ส่วนกำไรที่โตขึ้น QoQ ได้แรงหนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่โตขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายการดำเนินงานและการตั้งสํารองหนี้ฯ ที่ลดลง
  • รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย (258% YoY, -24% QoQ) เผชิญกับแรงกดดันจากความผันผวนของตลาดทุน และธุรกิจประกันผ่านเมืองไทยประกันชีวิต (MTL) ที่มีผลประกอบการอ่อนแอลง
  • ปริมาณสินเชื่อโตขึ้น 1.5% QoQ (+6.8% YoY) จากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่สูงขึ้น ส่วนในอนาคตแม้อาจได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ แต่ยังเชื่อว่าประมาณการด้านการเติบโตสินเชื่อของเราที่ 6% YoY สำหรับปี 2022 ยังเป็นเป้าหมายที่ธนาคารจะบรรลุได้
  • อัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) โตขึ้น 5bp QoQ เป็น 3.2% จากอัตราผลตอบแทนสินเชื่อที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ด้วยค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ลดลง จึงทําให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ลดลงเหลือ 42.8% ใน 1Q22 (4Q21: 48.2%)
  • NPL ratio ค่อนข้างทรงตัวที่ 3.8% ใน 1Q22 สำหรับอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ต่อสินเชื่อรวมยังยืดหยุ่นในระดับ 158% ทั้งนี้ก็เพื่อความพร้อมต่อการรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น

Revenue breakdown

รายได้ธนาคารมาจาก 3 แหล่งดังนี้

(1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิคิดเป็น 73% ของรายได้รวมในปี 2021 และนับเป็นรายได้ก้อนใหญ่ที่สุดของธนาคาร  ปัจจัยสนับสนุนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิคือการเติบโตของสินเชื่อ และอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM)

(2) รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการคิดเป็น 22% ของรายได้รวมในปี 2021 ประกอบด้วยรายได้จากค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม ค่าธรรมเนียมการขายประกันผ่านธนาคาร และค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการสินทรัพย์

(3) รายได้อื่นๆ คิดเป็น 6% ของรายได้รวมในปี 2021 ประกอบด้วยกำไรการลงทุนกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงิน ตามมูลค่ายุติธรรมที่บันทึกผ่านงบกำไรขาดทุน ค่าเบี้ยประกัน รายได้เงินปันผล และรายได้อื่นๆ

- Advertisement -