ตลาดกังวลนโยบายการเงินที่จะตึงตัวขึ้นมากใน 1 เดือนข้างหน้า

  • มีโอกาสที่เงินลงทุนจะไหลเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย แม้ตลาดหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์จะปรับตัวขึ้นได้ดีในช่วงที่ผ่านมาในฐานะสินทรัพย์ป้องกันเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในปัจจุบันที่ผลตอบแทนพันธบัตรปรับสูงขึ้นมาก  ขณะที่คาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคตเริ่มชะลอตัวลง จะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรแท้จริง (Real yield) กลับมาเป็นบวก (หรือแปลง่ายๆว่า ซื้อตราสารหนี้ แล้วไม่โดนเงินเฟ้อกินผลตอบแทนจนหมด) ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เงินมีโอกาสไหลกลับเข้าสู่ตราสารหนี้และสินทรัพย์ปลอดภัย โดยเฉพาะในภาวะที่นักลงทุนกังวลกับเศรษฐกิจที่อาจจะชะลอลง ทำให้อาจเห็นแรงทำกำไรในตลาดหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าว สอดคล้องกับมุมมองการลงทุนไตรมาส 2/65 ของเราที่ประเมินปัจจัยเสี่ยงทั้งหลาย ทำให้อัพไซต์จำกัด และคลาดมีโอกาสย่อตัว โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1,540-1,730 จุด โดยประเมินจุดซื้อที่ดีในกรอบครึ่งล่างของช่วงดังกล่าว หรือ 1,635 จุด ลงไป
  • เรามีมุมมองเฟดจะประสบความสำเร็จในการชะลอเศรษฐกิจ โดยอาจไม่เกิดเศรษฐกิจถดถอย แม้การขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในอดีตหลายครั้งมักจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) อย่างไรก็ตาม มีอยู่ 3 ครั้งที่ประสบความสำเร็จในการทำให้เศรษฐกิจลดความร้อนแรงลง โดยไม่เกิดภาวะถดถอย (soft landing) ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นโลกจะไม่เกิดการถล่ม (crash) แต่จะเป็นการปรับตัวในลักษณะแกว่งตัวออกข้าง (sideways) เรามองสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปัจจุบันมี โอกาสเกิดภาพดังกล่าว เนื่องจาก 1) ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีบทเรียนในการดำเนินนโยบายจากในอดีต 2) ภาวะการจ้างงานในสหรัฐฯ ที่ตึงตัว (ตำแหน่งงานมีมากกว่าแรงงานมาก) ทำให้การสูญเสียตำแหน่งงานมีโอกาสต่ำลง 3) เศรษฐกิจมีความทนทานต่อวิกฤติ หลังบริษัทจำนวนมากเข้มแข็งมากขึ้น หลังรอดมาจากเศรษฐกถดถอยและวิกฤติโควิดในปี 2563 ที่ผ่านมา

ประเด็นเก็งกำไรอื่น

1) กลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ OSP, CBG, ICHI, SAPPE

2) กลุ่มท่องเที่ยว CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR

3) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO

4) กลุ่มมีลุ้นเข้า SET50 ได้แก่ JMT JMART

5) กอง REIT ได้แก่ FIREIT, WHART

6) ขณะที่หุ้นกลาง-เล็กที่สามารถเลือกเก็งกำไร (แบบกำหนดจุดตัดขาดทุน) ในช่วงนี้ ได้แก่ PJW, TTCL, THREL, BLA, MAJOR, WORK, TH, SCN, SCI, FSMART, KAMART, CMR, TKN, SPA เป็นต้น

ภาพรวมกลยุทธ์: อ่อนตัวแนวรับ 1,660-1,680 จุด ยังชอบหุ้นที่ Laggard และกลุ่มเปิดเมือง แต่ช่วงสั้นระวังแรงทำกำไร sell on fact กลุ่มท่องเที่ยวจากการยกเลิก Thailand pass ภาพรวมยังคงมุมมองระมัดระวังสำหรับไตรมาส 2/65 ที่อัพไซต์อาจจะจำกัดจากการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้ภาพรวมกลยุทธ์ยังเป็นเพียงการเลือกเก็งกําไรรายตัว ระหว่างรอตลาดและหุ้นรายตัวปรับลงจนถึงจุดซื้อที่ดี

หุ้นแนะนำ: MAJOR*, SPA*, SUN*df

แนวรับ: 1,660-1,680 / แนวต้าน : 1,695 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%

ประเด็นการลงทุน

  • ดัชนี PMI รวมภาคผลิต – บริการยูโรโซนแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน เอส แอนด์พี โกลบอลเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการเบื้องต้นของยูโรโซน อยู่ที่ระดับ 55.8 ในเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้นจากระดับ 54.9 ในเดือนมี.ค. และยังเป็นการปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน
  • “เอ็มมานูเอล มาครง” คว้าชัยเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสเป็นสมัยที่ 2 – ผลการนับคะแนนเบื้องต้นระบุว่านาย มาครงได้คะแนนโหวต 58.6% แซงหน้านางมารีน เลอเปน คู่แข่งจากพรรคเนชั่นแนล ฟรอนต์ (FN) ซึ่งได้คะแนนโหวต 41.4%
  • อินโดนีเซียประกาศแบนส่งออกน้ำมันปาล์ม แก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำมันปรุงอาหาร – ผู้นำอินโดนีเซีย ประกาศระงับการส่งออกน้ำมันปาล์ม โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 เม.ย. เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปรุงอาหารในประเทศ ทั้งนี้ อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีปริมาณคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก

ประเด็นติดตาม: 26 เม.ย. – US ความเชื่อมั่นผู้บริโภค, US ยอดขายบ้านใหม่ / 27 เม.ย. – U.S. Pending Home Sales / 28 เม.ย. – US GDP (Q1), BOJ Meeting / 29 เม.ย. – EU ตัวเลขเงินเฟ้อ Manufacturing PMI จีน

ประเด็นลงทุนสําหรับหุ้นแนะนำ

  • เก็งกำไร MAJOR* (22) : กระแสเงินสดแข็งแกร่ง และผลการดำเนินงานฟื้นตัวจากการเปิดประเทศและหน้าหน่วงที่ดี ตัดขาดทุน 19.50 บาท
  • เก็งกำไร SPA* (9.00) : หุ้นเปิดเมืองที่ยัง Jaggard ขณะที่โควิดทำให้ได้รับโอกาสบริหารสปาให้โรงแรมจำนวนมาก ตัดขาดทุน 7.45 บาท
  • เก็งกำไร SUN* (7.10) : คาดผลประกอบการได้อานิสงค์จากเงินบาทที่อ่อน ตัดขาดทุน 6.00 บาท

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

Market News & Factors

  • ตลาดหุ้นสหรัฐ: ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักในวันศุกร์ (22 เม.ย.) โดยถูกกดดันจากการที่บริษัทจด ทะเบียนในสหรัฐ คาดการณ์ผลประกอบการที่อ่อนแอกว่าคาด และนักลงทุนวิตกว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะได้รับผลกระทบจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดหุ้นยุโรป: ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงในวันศุกร์ (22 เม.ย.) ที่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 1 เดือน โดยถูกกดดันจากปัจจัยลบต่างๆ อาทิ การล็อกดาวน์เพื่อคุมโรคโควิด-19 ในจีน และความวิตกเกี่ยวกับการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการซื้อขายหุ้นทั่วโลก (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดหุ้นญี่ปุ่น: ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดร่วงลง เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นเพื่อทำกำไร หลังจากดัชนีนิกเกอิทะยานขึ้น 3 วันทำการติดต่อกัน (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดน้ำมัน: สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันศุกร์ (22 เม.ย.) โดยถูกกดดันจากปัจจัยลบต่างๆ อาทิ แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลง, อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และการล็อกดาวน์ในจีนเพื่อ สกัดโรคโควิด-19 ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดบอนด์สหรัฐเกิด Inverted yield curve หลัง “พาวเวล” ส่งสัญญาณขึ้นดบ. 0.5%: อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี พุ่งขึ้นสู่ระดับ 3.006% โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรดังกล่าวอยู่สูงกว่าพันธบัตรอายุ 10 ปี ซึ่งอยู่ที่ระดับ 2.934% (อินโฟเควสท์)
  • ดัชนี PMI รวมภาคผลิต-บริการยูโรโซนแตะระดับ สูงสุดในรอบ 7 เดือน: เอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการเบื้องต้นของยูโรโซน อยู่ที่ระดับ 55.8 ในเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้นจากระดับ 54.9 ในเดือนมี.ค. และยังเป็นการปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน (อินโฟเควสท์)
  • “เอ็มมานูเอล มาครง” คว้าชัยเลือกตั้งประธานาธิบดี ฝรั่งเศสเป็นสมัยที่ 2: ผลการนับคะแนนเบื้องต้นระบุว่า นายมาครงได้คะแนนโหวต 58.6% แซงหน้านางมารีน เธอเป็นคู่แข่งจากพรรคเนชันแนล ฟรอนต์ (FN) ซึ่งได้คะแนนโหวต 41.4% (อินโฟเควสท์)
  • อินโดนีเซียประกาศแบนส่งออกน้ำมันปาล์ม แก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำมันปรุงอาหาร: ผู้นำอินโดนีเซีย ประกาศระงับการส่งออกน้ำมันปาล์ม โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 เม.ย. เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปรุงอาหารในประเทศ ทั้งนี้อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีปริมาณคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก (อินโฟเควสท์)

Report & Corporate News

  • Construction Maintained MARKET WEIGHT: เราคาดว่าบริษัทรับเหมาก่อสร้างของไทยจะเผชิญกับความท้าทายจากต้นทุนค่าวัสดุที่สูงใน 1H22 ซึ่งจะกดดันกำไรของบริษัท และส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านลบในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม เราคาดใน 2H22 จะดีขึ้น โดยหลักจาก backlog ที่เพิ่มขึ้น และโครงการใหม่ที่รอการประมูล ดังนั้นเราแนะนำให้สะสมในช่วงอ่อนตัว คงคำแนะนำ MARKET WEIGHT โดยมี STEC เป็น top pick ของเรา
  • Retail Maintained OVERWEIGHT: เราคาดว่ากำไรสุทธิรวมของหุ้นกลุ่ม Retail จะเพิ่มขึ้น 22% yoy ใน 1Q22 โดยได้แรงหนุนจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้น และการรับรู้รายได้จากการควบรวมกิจการ เราคาดว่าแนวโน้มการฟื้นตัวจะดำเนินต่อไปตลอดทั้งปี โดยคาดว่าการกลับมาเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบกำลังจะมาถึง เราขอยืนยันมุมมองของเราว่าจุดที่เลวร้ายที่สุดสำหรับหุ้นกลุ่ม Retail ได้จบลงแล้ว และกลุ่มจะรายงานการเติบโตของกำไรที่ดีในปี 2022 คงคําแนะนํา OVERWEIGHT
  • DTAC Maintained HOLD TP: 52.00 บาท: กำไรสุทธิใน 1Q22 สูงกว่าประมาณการของเราและตลาดที่ 16% และ 7% ตามลำดับ เนื่องจากการควบคุมต้นทุนที่ดีขึ้น โดยผู้บริหารคาดว่าแนวโน้มจะดีขึ้นในอีก 2-3 ไตรมาสข้างหน้าจากภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น คงคำแนะนำ ถือ เนื่องจากราคาหุ้นของ DTAC เพิ่มขึ้น 60% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา และปัจจัยบวกส่วนใหญ่น่าจะสะท้อนไปในราคาหุ้นแล้ว คงคำแนะนำ ถือ ราคาเป้าหมาย: 52.00 บาท
  • IVL: บริษัท Indorama Ventures Netherlands B.V. ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ IVL ได้ดำเนินการเข้าซื้อหุ้นในบริษัท NN จำนวน 79,788,504 หุ้น หรือคิดเป็น 97.8% จากผู้ถือหุ้นเดิมในราคา 26,219 ดองเวียดนามต่อหุ้น ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 2,091,974,786,376 ดองเวียดนาม หรือเทียบเท่าโดยประมาณ 3,096.12 ล้าน บาท ทั้งนี้ การเข้าซื้อกิจการดังกล่าวได้ดำเนินการตามขั้นตอนเสร็จสิ้นแล้ว และบริษัทได้เข้าควบคุมดูแลกิจการทั้งหมดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2565 เป็นต้นไป (อินโฟเควสท์)
- Advertisement -