KS Daily View 25.04.2022 >>> เงินบาทอ่อนค่าแตะ 34 บาท/ แนะเก็งกำไรในหุ้นส่งออก/ SET วันนี้คาด 1675-1680 หุ้นแนะนำ EPG, ASIAN

ต่างประเทศ : สัปดาห์นี้ KS คาดตลาดหุ้นทั่วโลกยังแกว่งตัวลง (Sideway Down) คล้ายๆสัปดาห์ที่แล้ว ประเมินจากปัจจัยแวดล้อมในภาพใหญ่ยังขาดปัจจัยสนับสนุนใหม่ และไม่ได้มี Event หลัก (ส่วนใหญ่ประเด็นที่ติดตาม 1.) วันจันทร์ 25 เม.ย. ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ระหว่างนาย Macron กับนาง Le Pen ล่าสุดนาย Macron ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานธิบดีสมัยที่ 2 (มองเป็นกลางต่อตลาด) 2.) วันพฤหัสบดีติดตาม GDP สหรัฐงวด 1Q22 ตลาดคาด 1%QoQ 3.) การรายงานผลประกอบการงวด 1Q22 (Earning season) ของสหรัฐ ฝั่ง Real Sector อาทิ Coca-cola, PepciCo, Cathays ฯลฯ

ส่วนแรงกดดันต่อตลาดหุ้นโลกประเด็นเดิมเชื่อว่าได้สะท้อนไปในตลาดหุ้นแล้วในระดับนึง อาทิ สงครามรัสเซีย – ยูเครน ปัจจุบันยังยืดเยื้อเห็นการปะทะกันและการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียยังมีอยู่ ส่วนแรงกดดันจากเรื่องธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ส่งสัญญาณ Hawkish ทั้งเริ่ม QT, ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 9 ครั้งในปีนี้ ณ.ปัจจุบัน ตลาดคาดแล้วว่าการประชุม Fed ในรอบ พ.ค.Fed จะขึ้น 50 bps ,รอบ มิ.ย. คาดจะขึ้น 75 bps, ประชุมรอบ ก.ค. จะขึ้น 50 bps โดยดอกเบี้ยสหรัฐ ณ.สิ้นปีจะอยู่ที่ 2.75-3% คาดสัปดาห์นี้ไม่มีแรงกดดัน เนื่องจากจะไม่มีการแสดงความเห็นจากคณะกรรมการ (Fed) เพราะเริ่มเข้าสู่ (Blackout Period) ก่อนที่จะมีการประชุม Fed วันที่ 3-4 พ.ค. แต่ปัจจัยลบใหม่ที่จะกดดันตลาดหุ้นสัปดาห์นี้จะมาจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่แท้จริง อายุ 10 ปี (Real yields) หรือ Yield adjusted inflation ปัจจุบัน ขยับขึ้นมาเป็นบวก จากก่อนหน้า Real yields ติดลบมากกว่า 1 % มา 3 ปีนับตั้งแต่ช่วง Covid ซึ่งเป็นผลทำให้ช่วงที่ผ่านมาสินทรัพย์เกือบทุกประเภท ทั้งสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity), หุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นพร้อมกันต่อเนื่อง

ปลายสัปดาห์ที่แล้วเริ่มเห็นตลาดหุ้นโลกพักฐานและคาดมีโอกาสพักต่อในสัปดาห์นี้ ตอบรับทิศทาง Real Yield พลิกเป็นบวก และคาดจะสร้าง Sentiment ลบต่อตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับลง โดยจากสถิติในอดีตหาก Real yields เป็นบวกและขึ้นแรงๆ พบว่าตลาดหุ้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ฯลฯ จะปรับลง และประเด็น Real yields พบว่าจะ Sensitive กว่าประเด็น Inverted Yield Curve ที่สำคัญคือ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่เติบโตชะลอลงจากเดิม โดย 3 ประเทศหลักของโลก อาทิ ยุโรป ได้รับผลกระทบกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน, จีนเผชิญ Covid ที่กลับมาระบาด,ส่วนญี่ปุ่น ใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายสวนทางฝั่งสหรัฐ กดดันให้ 1.) ค่าเงิน ยูโร, หยวน และเยน อ่อนค่าพร้อมๆกัน เทียบกับสกุล Dollar ที่กลับทิศและมีแนวโน้มแข็งค่ายืนเหนือ 100 จุด ประเทศแรก อีกฝั่งจะหนุนให้ทิศทางเงินบาทวันศุกร์แตะ 34บาท มีแนวโน้มอ่อนค่าต่อ โดยห้องค้ากสิกรคาดเงินบาทสัปดาห์นี้ (25-29 เม.ย.) จะแกว่งในกรอบ 33.7- 34.2 บาท และจากสถิติย้อนหลัง 10 ปีพบว่าเดือน พ.ค. เงินบาทอ่อนค่าเฉลี่ย 1.03% จะบวกกับกลุ่มหุ้นส่งออก (ASIAN, SAPPE SVI ) แต่จะ Sentiment ลบต่อกลุ่มโรงไฟฟ้า อาทิ (BGRIM, EGCO, GULF) 2.) ส่งผลให้พันธบัตร (Bond) เริ่มกลับมาน่าสนใจ และทำให้ Bond Yield เริ่มเจอจุดสูงสุดและปรับตัวลง KS ประเมินตลาดหุ้นแต่ละประเทศจะเลือกทางขึ้น ตาม1.) Equity Risk premium 2.) Earning Yield Gap 3. Policy Divergence โดยระยะสั้น KS ยังประเมินตลาดหุ้นโลกยังไม่ใช่ขาลงเต็มตัว แต่เป็นเพียงแต่การปรับฐานจากผลของการ De-rate PER ลงเนื่องจากสภาพคล่องในระบบที่ทยอยลดลงผ่านการทำ QT ของ Fed จากสถิติ KS ทำ Regression Analysis พบว่า ทุกๆ 1 % ของขนาดงบดุลที่ลดลงจะส่งผลต่อตลาดหุ้นผ่าน PER Multipier ราว 0.3% (อิงจากในปีนี้ ตามแผน QT ของ Fed เริ่ม พ.ค. วงเงิน 9.5 หมื่นล้าน$ต่อเดือน)

ในประเทศ : KS เชื่อว่าแม้วันนี้ตลาดหุ้นไทยจะได้รับผลกระทบเชิงลบจากต่างประเทศ แต่ในประเทศยังมีกระแสเชิงบวกจากการเปิดเมืองยังมีต่อ หลังจากวันศุกร์ที่แล้ว ศบค. มีมตินักท่องเที่ยวเข้าไทย เหลือตรวจ ATK เริ่ม 1 พ.ค. สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนครบแล้ว ฯลฯ และตัวเลขผู้ติดเชื้อหลังสงกรานต์ผ่านมาแล้ว 1 อาทิตย์ไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นทำจุดสูงใหม่ตามที่ตลาดกังวลก่อนหน้าเป็น Sentiemnt บวกต่อตลาดหุ้นไทย และหุ้นเปิดเมือง ทั้งสายการบินโรงแรม ฯลฯ ส่วนสัปดาห์นี้เชื่อว่าตลาดจะยังให้น้ำหนักการรายงานผลประกอบการงวด 1Q22 ฝั่ง Real sector อาทิ SCGP, SCC, BH, PTTEP ฯลฯ KS รวบรวมบริษัทคาดกำไรไตรมาส 1 จะเติบโต YoY และ QoQ คือ BH,BDMS, TOP, GFPT PR9 EPG GLOBAL (เชื่อว่าตลาดจะเก็งกำไร) KS ประเมินว่ากำไรโดยรวมของ บจ.ไทยงวด 1Q22 จะโตไม่น้อยกว่า 10% YoY

กลยุทธ์การลงทุน : KS ยังแนะนำ “เก็งกำไร Trading” กลุ่มส่งออก (ASIAN, SAPPE EPG) กลุ่มที่ได้กระแสบวกจากการเปิดเมือง แนะนำ (BEM, CPN, MINT, CENTEL, AMATA ) ส่วนผู้ลงทุนระยะกลาง แนะนำหากราคาหุ้นที่อ่อนตัวแนะนำสะสม กลุ่มการเงิน (MTC, SAWAD, HENG,MICRO) กลุ่มค้าปลีก (DOHOME ), กลุ่มการแพทย์ (BH, BDMS) กลุ่ม ICT (DTAC,TRUE) กลุ่มที่หลีกเลี่ยงลงทุนคือ ปิโตรเคมี,อิเล็กทรอนิกส์

มุมมองตลาดหุ้น SET วันนี้คาด 1675-1680 หุ้นแนะนำ EPG, ASIAN

Top pick :

  • EPG (ราคาพื้นฐาน 12.0 บาท) เราคาด 1) กำไรปกติไตรมาส 4QFY65 (เดือนม.ค.-มี.ค. 2565) อยู่ที่ 411 ลบ. เพิ่มขึ้น 15.7% YoY แต่ทรงตัว QoQ แม้คาดรายได้จะลดลง QoQ แต่คาด GPM ปรับตัวดีขึ้น โดยคาดจะประกาศงบวันที่ 27 พ.ค. 2.) ได้ Sentiment บวกจากราคาพลังงานที่ไม่ได้ทำจุดสูงสุดใหม่ และแนวโน้มเงินบาทที่อ่อนค่า 3.) ราคาหุ้นที่ปรับฐานราว 22%จากจุดสูงสุดของปีต้นเดือน ก.พ.ได้รวมถึงข่าวร้ายส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นแล้ว
  • ASIAN (ราคาพื้นฐาน 23.7 บาท) เราคาดกำไรงวด 1Q22 ของ ASIAN จะอยู่ที่ 254 ลบ. (+18.1% YoY และ -3.9% QoQ) เนื่องจากอุปทานอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารสัตว์เลี้ยงคาดจะเพิ่มขึ้น YoY จากกำลังการผลิตอาหารทะเลแช่แข็งสำเร็จรูป (+30%) ที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4/2564 และ ASIAN ได้ Sententiment บวกจากแนวโน้มเงินบาทที่อ่อนค่าแตะ 34 บาท โดยเงินบาทที่อ่อนค่าๆทุกๆ 1 บาทจะส่งผลบวกต่อ Bottomline บริษัท 15%

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันจันทร์ ติดตาม ผลการเลือกตั้ง ปธน. รอบ 2 ของฝรั่งเศส ระหว่างนาย Macron กับนาง Le Pen และตัวเลข Ifo Business Climate index ของเยอรมันเดือน เม.ย. คาด 89.1 จุด (-1.9% MoM)
  • วันอังคาร ติดตาม ตัวเลข Durable Goods order ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด +1% MoM (ดีขึ้นจากเดือนก่อนที่ -2.2% MoM) ตัวเลขราคาบ้านของสหรัฐฯ โดย S&P Case-Shiller เดือน ก.พ. คาด +18.9% YoY ตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด -0.5% MoM เป็น 7.7 แสนยูนิต และดัชนี CB Consumer confidence index ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด 108 จุด (ทรงตัว MoM)
  • วันพุธ ติดตาม ตัวเลข Gfk consumer confidence index ของเยอรมัน เดือน พ.ค. คาด -16.3 จุด (จากเดือนก่อนหน้าที่ -15.5 จุด) ตัวเลข Pending home sales ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด -1.5% MoM ตัวเลข Wholesales inventories ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด +0.9% MoM ถ้อยแถลงของ ECB Lagarde และปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ
  • วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทยเดือน มี.ค. คาด +2.0% YoY การประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% โดย highligt สำคัญจะอยู่ที่การอ่อนค่าของเงินเยนว่า BOJ จะปล่อยให้อ่อนไปที่ระดับไหน และนโยบาย Yield curve control จะทำต่อเนื่องถึงจุดไหน ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปของเยอรมันเดือน เม.ย. คาด +0.6% MoM และ +7.2% YoY ตัวเลข GDP 1Q22 ของสหรัฐฯ (Adv) คาด +1.1% QoQ และตัวเลข Initial jobless claim รายสัปดาห์ของสหรัฐฯ คาด +1.86 แสนคน (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 1.84 แสนคน)
  • วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลข GDP 1Q22 ของยูโรโซน คาด +0.3% QoQ และ +5.1% YoY ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซน เดือน เม.ย. คาด +0.5% MoM และ +7.4% YoY ตัวเลข Personal income ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด +0.4% MoM และตัวเลข Personal spending ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด +0.6% MoM
- Advertisement -