Daily Focus: Earnings and Value Play

2022 SET Target: 1770

ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index อ่อนตัวลงระหว่างวันตามคาด อย่างไรก็ตาม มีแรงซื้อเข้ามาหนุนทำให้ปิดตลาดทรงตัว กลุ่มที่นำตลาดคือกลุ่มท่องเที่ยว หลังศบค.ยกเลิก Test&Go เหลือเพียงตรวจ ATK สถาบันในประเทศยังซื้อสุทธิต่อเนื่องอีกเล็กน้อย 330 ลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติพลิกมาขายสุทธิ 928 ลบ.(ต่างชาติ Short SET50 Index Futures สูงถึง 2.8 หมื่นสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index อ่อนตัวลงทดสอบร้ดับ 1,680-1,685+- จุด จากบรรยากาศการลงทุนที่เป็นลบ หลังตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงแรงคืนวันศุกร์ แรงกดดันหลักยังคงมาจากนโยบายการเงินของ FED ที่มีแนวโน้มตึงตัวขึ้นเร็ว โดยเฉพาะโอกาสการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมเดือน พ.ค. และอาจลามถึงการประชุมเดือน มิ.ย. เช่นกัน ส่งผลให้ Dollar Index และ Bond Yield สหรัฐฯพรุ่งขึ้นกดดันเม็ดเงินไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่ม Tech และ Growth ที่มี PER สูง สำหรับ SET Index คาดว่าจะถูกกดดันระยะสั้น อย่างไร ก็ตาม เรามองว่าผลกระทบจะจำกัดกว่า เนื่องจากยังมีปัจจัยหนุนในประเทศทั้งเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัว รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการคุม COVID-19 โดยเฉพาะการเดินทางระหว่างประเทศ หลังล่าสุดเตรียมยกเลิก Test & Go เหลือเพียงตรวจ ATK ในเดือน พ.ค. ทำให้กระแสเงินทุนใน 2H22 ยังมีแนวโน้มไหลเข้า เรามองจังหวะพักตัวของดัชนีในช่วง เม.ย.-พ.ค. ลงหาระดับ 1,650+- จุด หรือต่ำกว่าเป็นโอกาส “สะสมหุ้นพื้นฐาน” และยังเน้นกลุ่ม Value Domestic และ Reopening Play ที่มี PER/PBV ไม่สูง เทียบกับในอดีต ได้แก่ กลุ่มธนาคาร โรงกลั่น ค้าปลีก อสังหาฯ อาหารและเครื่องดื่ม การแพทย์ เป็นต้น ส่วนระยะสั้นเลือกเก็งกำไรหุ้นที่คาดประกาศผลประกอบการ 1Q22 แข็งแกร่ง

กลยุทธ์ : เก็งกำไรหุ้นที่คาดงบ 1Q22 แข็งแกร่ง และยังเน้นลงทุนหุ้น Value และ Domestic Play

หุ้นเด่นเดือน เม.ย. : BCP, ICHI, IVL, ORI, SHR

หุ้นเด่นวันนี้ : ASW

  • เริ่มต้นค่าแนะนํา “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 11 บาท
  • ผู้นำอสังหาฯยุคใหม่ เราคาดกำไรสุทธิปี 2022-2023 +22% Y-Y และ +33% เด่นกว่ากลุ่ม ฯ และมี Backlog secured สูงถึง 77% และ 40% ตามลำดับ
  • แนวโน้มงบ 1Q22 อ่อนลงระยะสั้น และเป็นจุดต่ำสุดของปี แต่จะไต่ระดับขึ้นทุกไตรมาส ตั้งแต่ 2Q22 และสูงสุดใน 4Q22
  • Valuation จูงใจ เทรดบน PER เพียง 6 เท่า และให้ Dividend Yield สูง 6.6%
  • แนวรับ 8.30-8.20 บาท แนวต้าน 8.50//9 บาท

Fund Flow: เมื่อวันศุกร์กระแสเงินทุนพลิกมาไหลออกจากภูมิภาค US$834 ล้าน นำโดยไต้หวัน US$792 ล้าน  ขณะที่อาเซียนเม็ดเงินผสมผสานแต่ยังไหลเข้าค่อนข้างกระจุกตัวที่อินโดนีเซีย US$154 ล้าน แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดไหลออกเร่งตัวขึ้นจากความกังวลนโยบายการเงิน FED ที่จะตึงตัวเร็วตั้งแต่เดือน พ.ค. เป็นต้นไปเพื่อต่อสู้เงินเฟ้อกดดันเม็ดเงินไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง

ประเด็นสำคัญวันนี้

(0) KCE คาดกําไร 1Q22 ราว 580-600 ลบ. ลดลง Q-Q แต่ยังโต Y-Y ไม่น่าตื่นเต้น แต่คาดเห็นการเร่งตัวใน 2Q22 ชัดขึ้นจากกำลังการผลิตใหม่ ขณะที่ปัญหาสงครามอาจมีผลกระทบบ้าง ทำให้แนวโน้มยอดขายในยุโรปอาจดูสดใสน้อยลง แต่ด้วยคำสั่งซื้อที่ยังแน่น คาดว่ายังดูไม่มีปัญหา เหลือเพียงจัดการด้านต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ เรายังคาดกำไรปีนี้ +16% Y-Y คงราคาเป้าหมาย 72 บาท แนะนำ “ซื้อ”

(+) PRM กำไรผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วใน 4Q21 และทยอยฟื้นตัวช้าๆ ใน 1Q22 โดยคาดกำไรปกติ +11% Q-Q, -57% Y-Y ขับเคลื่อนจากธุรกิจขนส่งน้ำมันในประเทศ (47% ของรายได้รวม) ตามการเดินทางที่มากขึ้น และรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการรวม Truth Maritime (TM) ซึ่งซื้อมาจาก TOP ตั้งแต่ พ.ค. 2021 ชดเชยธุรกิจเรือ FSU ได้ กำไรจะทยอยดีขึ้นหลังรับเรือ VLCC 1 ลำ พ.ค. นี้ และอีก 1 ใน 4Q22 เราคาดกําไรปกติปี 2022 ฟื้น +19% Y-Y ราคาเป้าหมาย 7.90 บาท แนะนำ “ซื้อลงทุน”

(+) PR9 คาดกำไร 1Q22 +30% QQ, +290% Y-Y หนุนจากทั้งรายได้เกี่ยวเนื่องกับ COVID-19 ที่เร่งตัว ขณะที่ผู้ป่วย Non-COVID-19 ทั้งไทยและต่างชาติเติบโตแรง +23-33% Y-Y หนุนทั้งรายได้และ Margin ขยายตัวดี โมเมนตัม 2Q22 ยังแข็งแกร่งต่อเนื่อง Y-Y เราปรับคาดการณ์กำไรปี 2022 ขึ้นเป็น +65% Y-Y และ +16% Y-Y ในปี 2023 ปรับใช้ราคาเป้าหมายปี 2023 ที่ 16.50 บาท แนะนำ “ซื้อ” (Source: FSSIA)

(0) XO คาดกำไร 1Q22 -12% Q-Q, -10% Y-Y จากคำสั่งซื้อที่ยังไม่ฟื้นและเริ่มถูกกระทบเล็กน้อยจากต้นทุนวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ที่ปรับขึ้น ผู้บริหารยังตั้งเป้ารายได้ปี 2022 +10%-15% Y-Y โดยสงครามยังกระทบจำกัด  เราคาดหวังผลบวกจากการเข้าร่วมงาน THAIFEX อาจช่วยหนุนการฟื้นตัวของคำสั่งซื้อใน 2Q22-3Q22 และยังต้องติดตามแนวโน้มการปรับขึ้นของราคาบรรจุภัณฑ์ อาจกระทบต่อ Margin ใน 2Q22-2H22 ได้ เรายังคาดกำไรปีนี้ +5% Y-Y และคงราคาเป้าหมายที่ 23 บาท แต่เริ่มเห็น Downside แนะนำเพียง “เก็งกำไร” (กรรมการ อิสระ/ กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล ของ FINANSIA SYRUS เป็นกรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ ของ XO)

(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 981.36 จุด หรือ 2.82% ปิดที่ 33,811.40 จุด จากคาดการณ์ผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทในกลุ่ม Healthcare รวมถึงรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐปรับลงเป็น 55.1 ในเดือนเม.ย. จาก 57.7 ในเดือนมี.ค. ท่ามกลางความกังวลผลกระทบจากเฟดเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

(-) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลบ กดดันจากการล็อกดาวน์ในจีน และเฟดเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการเปิดเผยผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทจดทะเบียน และการเปิดเผยยอดค้าปลีกที่ต่ำกว่าคาดในเดือนมี.ค.

(-) ตลาดหุ้นเอเชีย ปรับลง ตามทิศทางตลาดดาวโจนส์ ท่ามกลางความกังวลผลกระทบจากเฟดเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

(0) ค่าเงินบาท ทรงตัว อยู่ที่บริเวณ 33.97 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 1.72 ดอลลาร์ หรือ 1.7% ปิดที่ 102.07 ดอลลาร์/บาร์เรล จากความกังวลเกี่ยวกับความต้องการน้ำมัน หลังแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลง, อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น และการล็อกดาวน์ในจีน

(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 13.9 ดอลลาร์ หรือ 0.71% ปิดที่ 1,934.3 ดอลลาร์/ออนซ์ จากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และกังวลเฟดจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 1,104.13 / +-

- Advertisement -