Our View? “เตรียมเผชิญความเป็นจริง”

คาดตลาดวันนี้ “ลง” มองแนวรับที่บริเวณ 1,680 / 1,665 และแนวต้านที่บริเวณ 1,690 / 1,695 คาดตลาดจะได้รับ Sentiment เชิงลบจากตลาดสหรัฐ หลังเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวลงแรงจากความกังวลแนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) จากปัญหาการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อในการประชุม FOMC วันที่ 3-4 พ.ค. นี้ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันตลาดจะคาดการณ์ไปแล้วก็ตาม จากการที่ CME Fed Watch Tools บ่งชี้ตลาดคาดว่าในสิ้นปีนี้ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐจะอยู่ที่ระดับ 275-300 BPS สะท้อนตลาดกังวลกับการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ไปในระดับที่สูงแล้ว อย่างไรก็ตาม คาดปัจจัยดังกล่าว เป็นปัจจัยกระตุ้นความกังวลเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มชะลอตัวลง

ขณะที่ดัชนี VIX Index เร่งตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ในภาพระยะสั้นอีกครั้ง ปิดที่ระดับ 28.21 จุด จากวันก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 22.68 จุด สะท้อนตลาดกลับมาอยู่ในภาวะความกังวลอีกครั้ง คาดจะเป็นจิตวิทยาเชิงลบกดดันทิศทางตลาดได้ต่อ

อย่างไรก็ตาม เรามีมุมมองเชิงบวกต่อการที่นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ กล่าวแสดงความคิดเห็นสหรัฐควรพิจารณาผ่อนคลายมาตรการกีดกันการนำเข้าสินค้าจีน เพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน แม้เรายังคงมองว่ายังมีความเป็นไปได้ค่อนข้างยากที่รัฐบาลสหรัฐจะปรับลดภาษีลงในเร็วๆ นี้ แต่คาดปัจจัยดังกล่าวจะเป็น Sentiment เชิงบวกต่อทิศทางตลาดหุ้นในภูมิภาค ช่วยจํากัด Downside ได้บ้างเล็กน้อย

ทั้งนี้เรามีมุมมองเชิงลบต่อวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนที่มีแนวโน้มตึงเครียดมากขึ้น หลังกระทรวงกลาโหมรัสเซียเปิดเผยว่า รัสเซียได้ทดลองยิงขีปนาวุธข้ามทวีปชาร์ต (Sarmat) รวมทั้งยังสั่งการให้กองกำลังนิวเคลียร์เชิงยุทธศาสตร์เตรียมพร้อมตลอดเวลา เรามองเป็นส่งสัญญาณกดดันสหรัฐ-ชาติพันธมิตร ซึ่งส่งผลให้ความตึงเครียดในประเด็นดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ ปธน.สี จิ้น ฟิง กล่าวสุนทรพจน์ถึงการต่อต้านการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ รวมถึงการใช้เขตอำนาจรัฐนอกดินแดน (Long arm jurisdiction) คาดส่งผลให้สดารการณ์ความตึงเครียดดังกล่าวยืดเยื้อออกไป  มองเป็นปัจจัยลบต่อทิศทางราคาสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มเติม

ทางด้านราคาสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI. ส่งมอบเดือน มิ.ย. เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาปรับตัวลง -1.72 ดอลลาร์ ปิดที่ระดับ 102.07 ดอลลาร์/บาร์เรล (-1.66%) จากความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง จากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED รวมถึงสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อออกไป อีกทั้งมาตรการ Lockdown ของจีน คาดยังกระตุ้นความกังวลด้านอุปสงค์น้ำมันอ่อนแอลงต่อเนื่อง คาดจะกดดันหุ้นในกลุ่มพลังงานอ่อนตัวลงได้ต่อ

ในส่วนของปัจจัยในประเทศ คาดตลาดจะยังติดตามการรายงานผลประกอบการไตรมาส 1 ของ บจ. ต่อ อย่างไรก็ตาม เรามีความกังวลการเร่งตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อไทย จากการที่รัฐบาลเตรียมยกเลิกอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลที่ 30 บาท/ลิตร คาดจะเริ่มในวันที่ 1 พ.ค. นี้ คาดจะช่วยลดแรงกดดันต่อหุ้นกลุ่มสถานีบริการน้ำมัน คาดค่าการตลาดจะขยับขึ้นได้บ้าง ส่งผลดีต่อหุ้นในกลุ่มสถานีบริการน้ำมัน (OR, BCP และ ESSO) ขณะที่ประเด็นอินโดนีเซีย ออกมาตรการระงับการส่งออกน้ำมันปาล์มตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย. นี้ เพื่อสนับสนุนอุปสงค์ภายในประเทศจากภาวะเงินเฟ้อในอินโดนีเซีย คาดจะหนุนหุ้นในกลุ่มน้ำมันปาล์มปรับตัวขึ้นได้ต่อ (CPI, VPO, UPOIC และ UVAN) อย่างไรก็ดี เรายังคาดจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนในมาตรการทางการเงินของโลก คาดหุ้นในกลุ่มขนาดเล็กและขนาดกลาง จะยังสามารถ Perform ได้ดีกว่า จากคาดการณ์หุ้นดังกล่าวได้รับผลจากการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติที่ลดลง ค่อนข้างน้อย ขณะที่ Valuation ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในระดับที่ตึงตัว

ธีมการลงทุน “Selective Play”

หุ้นแนะนําวันนี้ “UVAN”

กลยุทธ์ เก็งกำไร แนวรับ 8.30 / 8.20 Target 8.70 / 9.00 Stop <8.10

- Advertisement -