บล.พาย: 

KKP: หุ้นเติบโตและปันผลดี

คงคำแนะนำ “ซื้อ” เพิ่มมูลค่าพื้นฐาน 82 บาท จาก 79 บาท เพื่อสะท้อนถึงการเติบโตที่มั่นคง งบดุลที่แข็งแกร่ง และอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่น่าดึงดูด มูลค่าพื้นฐานข้างต้นคำนวณด้วยวิธี Gordon growth model (ROE 14%, อัตราการเติบโต 2%) อิง 1.3x PBV’22E หรือเทียบเท่าค่าเฉลี่ย 5 ปี (2017-2021)

  • ผู้บริหารมีมุมมองเชิงบวกต่อภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อและคุณภาพสินเชื่อจากประเด็นการกลับมาเปิด เศรษฐกิจ
  • กำไรสุทธิ 1Q22 อยู่ที่ 2.05 พันล้านบาท (+41% YoY, +1% QoQ) สูงกว่าคาด 15%
  • อัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL ratio) ปรับลดลงเหลือ 3.1% ใน 1Q22 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญปรับสูงขึ้นเป็น 181% เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น
  • ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิสำหรับปี 2022-24 ขึ้น 3%-4% คาดกำไรสุทธิปี 2022-24 จะโตขึ้น 15%/11%/13%
  • มีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลปี 2022-24 ที่น่าดึงดูดในระดับ 4.6%-5.7%

ให้น้ำหนักเป็นบวกจากการประชุมนักวิเคราะห์

  • ผู้บริหารมีมุมมองเชิงบวกต่อภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อ และคุณภาพสินเชื่อจากประเด็นการกลับมาเปิดเศรษฐกิจ ธนาคารยังตั้งสำรองหนี้ฯ เพิ่มเติม เพื่อเป็นกันชนต่อสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่อาจกลายเป็น NPL ในอนาคต โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความมั่นใจว่าธนาคารจะมีสํารองหนี้ฯ เพียงพอต่อความไม่แน่นอนในอนาคต
  • ธนาคารตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อเช่าซื้อยานยนต์ที่ 2.0 แสนล้านบาทในช่วง 5 ปีข้างหน้า (2021 : Bt155bn) และระบุว่าค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญปกติอาจลดลงเป็น 150-170bp เทียบกับที่มากกว่า 200bp ในปี 2020-21
  • ปัจจุบันรัฐมนตรีกระทรวงการคลังกำลังพิจารณาการเก็บภาษี สำหรับการซื้อขายหุ้นเพื่อกระตุ้นรายได้รัฐบาลในปี 2022 ซึ่งทางธนาคารกังวลว่าการปรับเพิ่มภาษีการทำธุรกรรมนี้จะกระทบต่อปริมาณการซื้อขายหุ้นของไทยเป็นอย่างมาก และจะทำให้รายได้ค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ปรับลดลงในอนาคต ทั้งนี้ รายได้ค่าธรรมเนียมดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนราว 7%-8% ของรายได้รวมของ KKP ในปี 2019-21
  • ด้วยผลประกอบการ 1Q22 ที่ออกมาดีกว่าคาด จึงปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2022-24 ขึ้น 3%-4% เพื่อสะท้อนการตั้งสำรองหนี้ฯ และคาดการณ์ผลขาดทุนจากการขายสินทรัพย์รอการขายที่ลดลง
  • คาดกำไรสุทธิปี 2022-24 จะโตขึ้น 15%/11%/13% ตามลำดับ ด้วยแรงหนุนจากการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลงและรายได้การดำเนินงานที่สูงขึ้น

สรุปผลประกอบการ

  • กำไรสุทธิ 1Q22 อยู่ที่ 2.06 พันล้านบาท โตขึ้น 41%YoY (+1% QoQ) สูงกว่าคาด 15% จากการตั้งสำรองหนี้ฯ และผลขาดทุนจากการขายสินทรัพย์รอการขายที่ลดลง
  • การเติบโตที่แข็งแกร่ง YoY เป็นผลจาก 1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ ที่สูงขึ้นจากสินเชื่อที่โตขึ้น 2) รายได้ค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นจากธุรกิจการประกันผ่านธนาคาร โบรกเกอร์ และการบริหารจัดการสินทรัพย์ และ 3) การตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง ในด้านค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญปรับลดลงเป็น 133bp (4Q21: 213bp)
  • สินเชื่อโตขึ้นต่อเนื่องเป็น 6.6% QoQ จากอุปสงค์ต่อสินเชื่อรายย่อย (สินเชื่อเช่าซื้อยานยนต์และสินเชื่อจดจำนอง) และสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่ปรับเพิ่มขึ้น
  • อัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ในเชิง QoQ ลดลง 4.3% ใน 1Q22 (4Q21: 4.6%) จากอัตราผลตอบแทนสินเชื่อที่ลดลง แม้ต้นทุนดอกเบี้ยจะทรงตัว ในด้านอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ปรับเพิ่มเป็น 41.1% ใน 1Q22 (4Q21: 40.6%) จากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่สูงขึ้น
  • คุณภาพสินเชื่อปรับดีขึ้น NPL ratio ลดลงเหลือ 3.1% ใน 1Q22 (4Q21: 3.3%) อัตราส่วนการตั้งสำรองต่อสินเชื่อรวมปรับเพิ่มเป็น 181.2% เพื่อลดความกังวลเกี่ยวกับ NPL ใหม่ที่อาจเพิ่มขึ้นจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

Revenue breakdown

รายได้ธนาคารมาจาก 3 แหล่งดังนี้

(1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิคิดเป็น 69% ของรายได้รวมในปี 2021 และนับเป็นรายได้ก้อนใหญ่ที่สุดของธนาคาร หาก สินเชื่อและอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) โตขึ้น รายได้ดอกเบี้ยสุทธิจะโตขึ้นตาม

(2) รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการคิดเป็น 27% ของรายได้รวมในปี 2021 ประกอบด้วยรายได้จากธุรกิจโบรก เกอร์วาณิชธนกิจ ค่าธรรมเนียมประกันผ่านธนาคาร และกองทุนรวม

(3) รายได้การดำเนินงานอื่นๆ คิดเป็น 4% ของรายได้รวมในปี 2021 มาจากกำไรการลงทุน กำไร/ขาดทุนสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่ประเมินบนพื้นฐานของมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน รายได้เงินปันผล และรายได้อื่น

- Advertisement -