KS Daily View 27.04.2022 >>> สงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุ/ Real yield กดดันหุ้นโลกปรับฐานแรง/ SET วันนี้คาด 1650-1660 หุ้นแนะนำ DTAC

ต่างประเทศ : ปัจจัยต่างประเทศที่สร้างแรงกดดันตลาดหุ้นพัฒนาแล้วเมื่อคืน (Dow Jones -2.4%DoD, S&P500 -2.8%, Nasdaq -3.9% เช้านี้ตลาดหุ้นเอเซีย อาทิ เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น – 2%) หลักๆ คือประเด็น สงครามรัสเซีย-ยูเครน จากความกังวลซึ่งอาจลุกลามไปเป็นสงครามนิวเคลียร์, การเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด และการระบาดของโควิด-19 ในจีนที่ยืดเยื้อนานกว่าคาด แต่ล่าสุดฝั่งจีนธนาคารกลางจีน (PBOC) ออกแถลงการณ์ว่าจะเพิ่มมาตรการสนับสนุนทางเศรษฐกิจเพื่อลดผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และการใช้มาตรการ Zero-covid ของรัฐบาล ขณะเดียวกันรัฐบาลจีนเผยมีแนวโน้มจะกระตุ้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น โดยรวม KS ประเมินตลาดหุ้นเอเซียวันนี้คาดได้รับ Sentiment ลบ

ในประเทศ : KS ประเมินหุ้นไทยวันนี้มีโอกาสปรับลงตามต่างประเทศ โดยประเมินแนวรับแรก 1650 และ 1630/1610 จุด โดยประเด็นที่ติดตามวันนี้ 1.) การท่องเที่ยวแห่งประเทศ (ททท.) จะประชุมภาคเอกชนหารือมาตรการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 คาดจะเริ่ม 1 มิ.ย. – 30 ก.ย. ถือเป็น Sentiment บวกต่อภาคท่องที่ยวไทย และบวกต่อหุ้นโรงแรมที่มีรายได้ในประเทศ อาทิ ERW, AWC, CENTEL 2.) ติดตามการรายงานผลประกอบการงวด 1Q22 ฝั่ง Real sector ช่วงที่เหลือของสัปดาห์ อาทิ BH เราคาดกำไร 757 ล้านบาท +24%QoQ 731%YoY, PTTEP คาดกำไร 1 หมื่นล้านบาท -6%QoQ -13%YoY

Theme แนะนำการลงทุน : KS ประเมินว่า Theme แนะนำการลงทุนหลักๆ ที่คาดจะ Perform ในช่วง 2Q22 และ 2H22 หรือช่วงที่ตลาดหุ้นจะเผชิญปัจจัยกดดันทั้งสถานการณ์ Real yields เป็นบวก, สถานการณ์อัตราดอกเบี้ยสหรัฐเป็นขาขึ้น Fed ลด Balance Sheet และเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทั้งจีน ยุโรป ฯลฯคือ

1.) Theme หุ้นคุณภาพ (Quality) : KS ประเมินอาจจะจบรอบแนะนำ Theme หุ้น Growth และ Theme หุ้น Value ไปแล้ว โดยนิยาม หุ้น(Quality) คือ เป็นหุ้นที่อยู่ Sector ไหนก็ได้แต่เป็นหุ้นที่มีเกราะป้องกันในการทำธุรกิจที่แข็งแกร่ง อาทิ ปรับราคาขายได้, การเติบโตกำไรสม่ำเสมอ, ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนนอกจำกัด อาทิ ผลกระทบจากดอกเบี้ยขาขึ้น ฯลฯ และความแข็งแกร่งของ Balanc sheet อาทิ มีหนี้ต่ำ รวมถึงคาดหวังจ่ายเงินปันผลสูง อาทิ DCC ฯลฯ

2.) Theme หุ้น Anti Commodity อาทิ (CBG, OSP, OR, PTG, EPG, SCGP, BGRIM,GULF, AAV, BA) แนะนำสะสมลงทุน เนื่องจาก KS ประเมินราคา Commodity แม้จะผันผวนรายวัน โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ฯลฯ คาดไม่น่าจะทำจุดสูงสุดใหม่ แม้สงครามรัสเซีย ยูเครนยังมีอยู่ แต่ประเมินปัจจัยลบระยะถัดไปที่รออยู่มีเยอะกว่า อาทิ แนวโน้ม Dollar ที่แข็งค่าตามดอกเบี้ยสหรัฐ (Dollar จะสวนทางกับราคา Commodity), เศรษฐกิจจีนที่ชะลอจาก Covid, ความน่าจะเป็นการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทั้งยุโรป และสหรัฐเพิ่มขึ้น , ข้อตกลงนิวเคลียอิหร่านที่จะมีการเจรจากัน ฯลฯ โดยรวมบวกกลุ่ม Anti Commodity

3.) Theme Bond Yield คาดผ่านจุด Peak หลัง Real Yields ที่เป็นบวกทำให้ Bond Yield สหรัฐปรับลงติดต่อเป็นวันที่ 3 โดยอายุ 2 ปี และ 10 ปี ล่าสุด อยู่ที่ 2.53% และ 2.74% ส่วนของไทย อายุ 10 ปีอยู่ที่ 2.75% เป็น Sentiment ลบต่อหุ้นประกันชีวิต BLA แต่จะบวกต่อกลุ่มการเงินเช่าซื้อ แนะนำ (MTC, SAWAD, HENG, MICRO CHAYO)

4.) Theme แนวโน้มเงินบาทอ่อนค่า ล่าสุด 34.3 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่ามากสุดในรอบ 5 ปี ระยะสั้นมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อ และจากสถิติย้อนหลัง 10 ปี พบว่า 7 ใน 10 ปีเดือน พ.ค. เงินบาทจะอ่อนค่าเฉลี่ย 1.03% บวกต่อส่งออก (ASIAN, SAPPE, EPG) โดยเน้นไปที่ส่งออกอาหารมากกว่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ แต่ Sentiment จะลบกลุ่มโรงไฟฟ้า (BGRIM, EGCO, GULF)

5.) Theme หุ้นเปิดเมือง (Reopen) KS ยังชอบ 1.) กลุ่มโรงแรม โดยบริษัทที่มี Upside เทียบกับราคาเป้าหมาย คือ SHR (Upside 28%), MINT (Upside 20.2%), CENTEL (Upside5.9%) 2.) กลุ่มรถไฟฟ้า ชอบ BEM เป็น 1 ในหุ้นเปิดเมืองที่ราคายังไม่ขึ้นสวนทาง Outlookที่สดใส 3.) กลุ่ม ICT แนะนำ DTAC

ส่วนกลุ่มแนะนำชะลอการลงุทุน คือ 1.) Global play คือกลุ่ม ปิโตรเคมี,อิเล็กทรอนิกส์ จากความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกมีความน่าจะเป้นสูงขึ้นที่เผชิญ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย 2.) กลุ่ม Growth ที่ราคาขึ้นเกินพื้นฐาน

มุมมองตลาดหุ้น SET วันนี้คาด 1650-1660 หุ้นแนะนำ DTAC

Top pick :

DTAC (ราคาพื้นฐาน 57.5 บาท) ราคาดราคา Voluntary tender offer ที่ 47.7บาท คาดจะจำกัด downside ให้กับ DTAC โดย DTAC มีปัจจัยหนุนราคาหุ้น คือ 1) การจ่ายเงินปันผลจากการดำเนินงานและกำไรสะสมก่อนการซื้อหุ้นสามัญแบบสมัครใจ (VTO) 2) พัฒนาการในเชิงบวกเกี่ยวกับการควบรวมกิจการและ 3) มูลค่าการผนึกกำลังที่สูงกว่าที่คาดจากการควบรวมกิจการ

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

วันพุธ ติดตามตัวเลข Pending home sales ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด -1.5% MoM ตัวเลข Wholesales inventories ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด +0.9% MoM ถ้อยแถลงของ ECB Lagarde และปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ

วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทยเดือน มี.ค. คาด +2.0% YoY การประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% ตัวเลข GDP 1Q22 ของสหรัฐฯ (Adv) คาด +1.1% QoQ และตัวเลข Initial jobless claim รายสัปดาห์ของสหรัฐฯ คาด +1.86 แสนคน (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 1.84 แสนคน)

วันศุกร์ ติดตามตัวเลข GDP 1Q22 ของยูโรโซน คาด +0.3% QoQ และ +5.1% YoY ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซน เดือน เม.ย. คาด +0.5% MoM และ +7.4% YoY

- Advertisement -