ภาพรวมกลยุทธ์ยังเป็นเพียงเก็งกำไรระหว่างรอจุดซี้อที่ดี
หลากหลายความกังวลกดดันภาพการลงทุน ตลาดหุ้นยุโรปและสหรัฐฯ ปรับลดลงจากหลายปัจจัย ได้แก่
1) ความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัว (สงครามยูเครนและล็อคดาวน์ที่จีน) กระทบต่อการเติบโตของผลประกอบการ
2) นโยบายการเงินที่ดึงตัวมากขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่อาจทำให้เงินทุนระยะสั้นไหลกลับสหรัฐฯ โดยเฉพาะตราสารหนี้ หลังจากที่ปัจจุบันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรแท้จริง (real yield) เริ่มกลับมาเป็นบวก และค่าเงินสหรัฐฯ ยังมีทิศทางแข็งค่า
3) การรายงานผลประกอบการของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ที่หุ้นใหญ่บางตัวรายงานกำไรต่ำกว่าคาด
4) บรรยากาศลงทุนที่ถูกฉุดจากราคาหุ้น Tesla ที่ลดลงแรง หลังนักลงทุนกังวลการเข้าซื้อ Twitter จะทำให้อีลอน มัสก์ มีเวลาบริหารบริษัทน้อยลง และ
5) คำกล่าวของรมว.ต่างประเทศรัสเซีย เรื่องสงครามนิวเคลียร์ที่มีความเป็นไปได้ และทุกฝ่ายไม่ควรประเมินความเสี่ยงดังกล่าวเกินไป
ทั้งนี้ปัจจัย เสี่ยงส่วนใหญ่อยู่ในการประเมินที่เราเตือนนักลงทุนตั้งแต่ปลาย มี.ค.เป็นต้นมา และตลาดอาจผันผวนราว 1-2 เดือน จนผ่านการขึ้นดอกเบี้ยจากประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ราว 2 ครั้ง (หลังประชุม 4 พ.ค. และ 15 มิ.ย.) ถึงจะเริ่มคาดหวังการชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม 27 ก.ค.
ส่งออก มี.ค.ขยายตัวดีกว่าคาด ยังระวังการขาดดุลเชิงโครงสร้างกดดันบาท กระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขส่งออกมี.ค.65 เติบโต +19.5% นำเข้า +18.0% และเกินดุล 1,459 ล้านเหรียญฯ (ดีกว่าที่ตลาดคาดว่าจะโต +3.6%, +9.2% และขาดดุล 100 ล้านเหรียญฯ ตามลำดับ) สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเติบโตดี +14.2% โดยสินค้าที่เติบโตโดดเด่น ได้แก่ น้ำตาลทราย +204% ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ +350% //ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมเริ่มเห็นสัญญาณชะลอตัว แม้จะโต +20.6% แต่ถ้าหักการส่งออกทองคำ จะลดหลือเพียง +8.2% โดยรถยนต์และส่วนประกอบและยาง ยังเห็นสัญญาณการส่งออกที่ชะลอลงต่อเนื่อง // การเกินดุลคาดว่ามาจากการส่งออกทองคำ แต่หากไม่รวมการส่งออกทองคำ คาดว่าการขาดดุลจะอยู่ที่ราว 1.4 พันล้านเหรียญฯ จากการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงที่ปัจจุบันมีสัดส่วนถึง 24% ของการนำเข้า (จากค่าเฉลี่ย 3 เดือนที่ 19% และเพียง 10% ในตอนที่ราคาน้ำมันดิบอยู่แถว 40 เหรียญฯ) ดังนั้นเรายังคงคาดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (จากดุลการค้า) จะยังเป็นประเด็นที่กดดันค่าเงินบาท ตราบใดที่ราคาน้ำมันดิบยังทรงตัวในระดับสูง ทําให้หุ้นส่งออกหรือได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า จะยังมีแนวโน้มเคลื่อนไหวได้ดี
ประเด็นเก็งกำไรอื่น
1) กลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ OSP, CBG, ICHI, SAPPE
2) กลุ่มท่องเที่ยว CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR
3) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO
4) กลุ่มมีลุ้นเข้า SET50 ได้แก่ JMT, JMART
5) กอง REIT ได้แก่ FIREIT, WHART
6) ขณะที่หุ้นกลาง-เล็กที่สามารถเลือกเก็งกำไร (แบบกำหนดจุดตัดขาดทุน) ในช่วงนี้ ได้แก่ THREL, BLA, MAJOR, TH, SCN, SCI, CMR, TKN, SPA เป็นต้น
ภาพรวมกลยุทธ์: เพียงเก็งกําไรระหว่างรอจุดซื้อที่ดี ยังชอบหุ้นที่ Laggard และกลุ่มเปิดเมือง โดยกลุ่มปาล์มอาจสร้างสีสันให้กับตลาดในช่วงสั้น ภาพรวมยังคงมุมมองระมัดระวังสำหรับไตรมาส 2/65 ที่อัพไซต์อาจจะจํากัดจากการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และการปรับประมาณการจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
หุ้นแนะนำ MAJOR*, CPI*, WHART*, BTSGIF*
แนวรับ: 1,650-1,660 / แนวต้าน : 1,675 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
ประเด็นการลงทุน
- รัสเซียระงับการส่งก๊าซให้โปแลนด์และบัลแกเรีย – เนื่องจากทั้ง 2 ชาติ ไม่ยอมชำระราคาพลังงานในสกุลเงินรูเบิล
- สหรัฐเผยยอดขายบ้านใหม่ต่ำกว่าคาด – ยอดขายบ้านใหม่ดิ่งลง 8.6% สู่ระดับ 763,000 ยูนิตในเดือนมี.ค. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 765,000 ยูนิต จากระดับ 835,000 ยูนิตในเดือนก.พ.
- ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐต่ำกว่าคาด – ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 107.3 ในเดือนเม.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 108.0 จากระดับ 107.6 ในเดือนมี.ค.
- SCB (SCBX) เริ่มเทรดวันแรก – ตลท. กำหนดกรอบซิลลิ่งสูงสุด 3 เท่าของราคาปิด SCBB ล่าสุด 71 บาท
- PTTEP และ BJC ร่วมจัดตั้งบริษัท B-Med X – เป็นการร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อเป็นช่องทางสำหรับผู้ให้บริการด้านสุขภาพ และการแพทย์ครบวงจร
- ตลท.ให้ MONO ใช้เกณฑ์ Cash Balance (ระดับ 1) – เริ่ม 27 เม.ย.-17 พ.ค.
ประเด็นติดตาม: 28 เม.ย. – US GDP (Q1), BOJ Meeting / 29 เม.ย. – EU ตัวเลขเงินเฟ้อ , Manufacturing PMI จีน / 2 พ.ค. – US ISM Manufacturing PMI / 4 พ.ค. – US Nonfarm Employment
ประเด็นลงทุนสําหรับหุ้นแนะนํา
- เก็งกำไร MAJOR* (22) : กระแสเงินสดแข็งแกร่ง และผลการดำเนินงานฟื้นตัวจากการเปิดประเทศ และหน้าหนังที่ดี ตัดขาดทุน 19.50 บาท
- เก็งกำไร CPI* (5.20) : คาดผลประกอบการได้อานิสงค์จากราคาปาล์มที่เพิ่ม และการระงับส่งออกน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซีย ตัดขาดทุน 4.10 บาท
- เก็งกำไร WHART* (13) : คาดผลประกอบการฟื้นตัว QoQ หลังไม่มีรายการพิเศษเช่นในไตรมาส 4/64 ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรปรับลดลงเป็นบวกกับการฟื้นตัวของหุ้นที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของผลตอบแทนพันธบัตร (yield sensitive) ตัดขาดทุน 10.70 บาท
- เก็งกำไร BTSGIF* (5) : ผลตอบแทนพันธบัตรที่ชะลอตัวลงเป็นบวกต่อการฟื้นตัวของหุ้น และยังได้ประโยชน์จากการเปิดเมืองที่ทำให้ปริมาณผู้โดยสารกลับมาเพิ่มขึ้น ตัดขาดทุน 4.06 บาท
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)
Market News & Factors
- ตลาดหุ้นสหรัฐ: ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 800 จุดในวันอังคาร (26 เม.ย.) ขณะที่ดัชนี Nasdaq ดิ่งลงกว่า 500 จุด และปิดที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2553 เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจทั่วโลกจะได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน, การเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และจีนใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อสกัดการระบาดของโรคโควิด-19 (อินโฟเควสท์)
- ตลาดหุ้นยุโรป: ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงในวันอังคาร (26 เม.ย.) โดยติดลบเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน เนื่องจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวลงตามหุ้นกลุ่มเดียวกันของสหรัฐ ก่อนการเปิดเผยผลประกอบการของบริษัทรายใหญ่ แต่ตลาดหุ้นลอนดอนปรับตัวขึ้นสวนทางตลาด โดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (อินโฟเควสท์)
- ตลาดหุ้นญี่ปุ่น: ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดปรับตัวขึ้น เนื่องจากการร่วงลงของสัญญาน้ำมันดิบได้ช่วยคลายความวิตกเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ ประกอบกับนักลงทุนเข้าซ้อนซื้อหุ้นที่ร่วงลงหลังดัชนีนิกเกอิดิ่งลงเมื่อวานนี้ (อินโฟเควสท์)
- ตลาดน้ำมัน: สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กดีดขึ้นเหนือระดับ 100 ดอลลาร์ได้อีกครั้งในวันอังคาร (26 เม.ย.) ขานรับข่าวจีนประกาศเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยพุ่งเป้าฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดเล็ก ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ (อินโฟเควสท์)
- สหรัฐเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด: ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้น 0.8% ในเดือนมี.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 0.5% หลังจากลดลง 1.7% ในเดือนก.พ. (อินโฟเควสท์)
- สหรัฐเผยยอดขายบ้านใหม่ ต่ำกว่าคาด: ยอดขายบ้านใหม่ดิ่งลง 8.6% สู่ระดับ 763,000 ยูนิตในเดือนมี.ค. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 765,000 ยูนิต จากระดับ 835,000 ยูนิตในเดือนก.พ. (อินโฟเควสท์)
- ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ ต่ำกว่าคาด: ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 107.3 ในเดือนเม.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ ระดับ 108.0 จากระดับ 107.6 ในเดือนมี.ค. (อินโฟเควสท์)
- ‘ส่งออก’ ไตรมาสแรก พุ่ง 14.9%: ส่งออก มี.ค.โต 19.5% ต่อเนื่อง 13 เดือน มูลค่าพุ่ง 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงสุดรอบ 30 ปี สรุปไตรมาสแรกโต 14.9% (กรุงเทพธุรกิจ)
- SCB (SCBX) เริ่มเทรดวันแรก: ตลท. กำหนดกรอบซิลลิ่งสูงสุด 3 เท่าของราคาปิด SCBB ล่าสุด 71 บาท (ข่าวหุ้น)
- PTTEP และ BJC ร่วมจัดตั้งบริษัท B-Med X: เป็นการร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อเป็นช่องทางสำหรับผู้ให้บริการด้านสุขภาพ และการแพทย์ครบวงจร (ข่าวหุ้น)
- ตลท.ให้ MONO ใช้เกณฑ์ Cash Balance (ระดับ 1): เริ่ม 27 เม.ย.-17 พ.ค. (อินโฟเควสท์)
Report & Corporate News
- DELTA Maintained BUY TP: 460.00 บาท: DELTA ประกาศกำไรสุทธิใน 1Q22 ที่ 2.7 พันล้านบาท (+54% yoy, +29% qoq) ซึ่งผลประกอบการสูงกว่าประมาณการของเราที่ 22% และสูงกว่าตลาดที่ 21% โดยกำไรที่สูงกว่าประมาณการของเราส่วนใหญ่ มาจากรายได้ค่าประกันจากอุทกภัย เมื่อมองไปข้างหน้า เรามีมุมมองเป็นบวกมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มของ DELTA ดังนั้นเราจึงปรับประมาณการกำไรปี 2022-23 ขึ้น 17% และ 3% ตามลำดับ และคาดว่ากำไรจะดีขึ้น 55% yoy ในปี 2022 คงคำแนะนำ ซื้อ โดยให้ราคาเป้าหมายสูงขึ้นที่ 460.00 บาท
- HMPRO Maintained BUY TP: 18.00 บาท: กำไรสุทธิใน 1Q22 ของ HMPRO เพิ่มขึ้น 11% yoy โดยได้รับแรงหนุนจาก SSSG ที่เป็นบวกและความสามารถในการทำกำไรที่ดีขึ้นจากการควบคุมต้นทุนที่ดีขึ้น และการประหยัดต่อขนาด (economies of scale) เราคาดว่ากำไรสุทธิของ HMPRO จะฟื้นตัวต่อเนื่องใน 2Q22 ก่อนที่จะเร่งตัวขึ้นใน 2H22 เราคงประมาณการการเติบโตของกำไรปี 2022 ไว้ที่ 15% คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย: 18.00 บาท
- SCGP Maintained BUY TP: 69.00 บาท: กำไรสุทธิใน 1Q22 ดีกว่าประมาณการของเราจากการควบคุมต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางต้นทุนการผลิตที่ผันผวนสูง เราคาดว่าภาพรวมกำไรใน 2Q22 จะดีขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น รวมทั้งวัตถุดิบและต้นทุนค่าขนส่งที่ลดลง เราคาดว่า SCGP จะได้รับประโยชน์จากดีล MAP ใหม่ที่อาจเกิดขึ้น และโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เช่น ธุรกิจกัญชา คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย: 69.00 บาท
- CPN Maintained BUY TP: 71.00 บาท: เราคาดว่ากำไรหลักของ CPN จะดีขึ้น yoy และ qoq เป็น 2 พันลบ. (+23% yoy, +8% qoq) โดยการเติบโตของกําไรที่เป็นบวกคาดว่าจะได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของอัตราค่าเช่าห้างสรรพสินค้าและการขยายห้างสรรพสินค้าใหม่ 2 แห่ง เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรของเราสำหรับปี 2022-23 เนื่องจากแนวโน้มการฟื้นตัวที่เป็นบวกมากขึ้น ในขณะนี้เราคาดว่า CPN จะรายงานการเติบโตของกำไร 3 ปี ที่น่าสนใจอยู่ที่ 25% CAGR ในช่วงปี 2022-24 คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย: 71.00 บาท
- S11: บริษัทเผยได้รับใบอนุญาตเพิ่มเติมให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ เมื่อวันที่ 8 เม.ย.65 ประกอบด้วย 1.สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน 2.สินเชื่อส่วนบุคคคลภายใต้การก้ากับประเภทสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน (IQ)