บล.ทรีนีตี้:

KKP กําไรสุทธิ 1Q65 ได้แรงหนุนจากธุรกิจหลัก และคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น

KKP รายงานกำไรสุทธิงวด 1Q65 ที่ 2.05 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.6% qoq และ 40.5% yoy ดีกว่าที่ตลาดคาด หนุนด้วย

1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.2% qoq และ 12.4% yoy จากสินเชื่อสุทธิที่เติบโตโดดเด่นถึง 6.5% qoq และ 21.0% yoy จากการเติบโตในกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งหักล้างกับ NIM ที่ลดลงเหลือ 4.28% จาก 4.57% ในงวดก่อนหน้า หลักๆ จาก earnings asset yield ที่ลดลงจากการขยายตัวของสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนต่ำ และ

2) ค่าใช้จ่าย สำรองหนี้ที่ลดลง 32.6% qoq และ 13.6% YoY สอดคล้องไปกับคุณภาพลูกหนี้ที่ดีขึ้น โดยสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ปรับลดลงมาเหลือ 2.8% จาก 3.0% ในงวด 4Q64 จากการบริหารจัดการคุณภาพหนี้อย่างใกล้ชิด ขณะที่ธนาคารยังตั้งสำรองอย่างระมัดระวังในภาวะเศรษฐกิจผันผวน โดยสัดส่วน NPL Coverage ratio ของธนาคารเพิ่มขึ้นเป็น 181.1% จาก 175.0% ในงวด 4Q64 ซึ่งช่วยบรรเทา ผลกระทบจากการลดลงของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสุทธิในงวดนี้ที่ลดลงถึง 24.8% qoq แต่ยังเพิ่มขึ้น 19.8% yoy จากการที่ไม่มีรายได้จากการขายหนี้ NPL ราว 1.0 พันล้านบาท เหมือนในงวด 4Q64

อย่างไรก็ดี รายได้ค่าธรรมเนียมจากการขายประกัน ธุรกิจหลักทรัพย์ และจัดการกองทุนในงวด 1Q65 ยังดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งการตลาด และการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างจากคู่แข่ง ซึ่งสะท้อนถึงความโดดเด่นในธุรกิจ Wealth management ของ KKP

แนวโน้มกำไรสุทธิยังเติบโตต่อเนื่องในปี 65-66

คาดกำไรสุทธิปี 65-66 เติบโต 15.9% yoy และ 6.37% yoy หนุนด้วยสินเชื่อที่เติบโตแข็งแกร่งในกลุ่มเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อรายย่อย พร้อมเติบโตต่อเนื่องในธุรกิจตลาดทุนและกองทุนที่ KKP มีความโดดเด่นมาก ขณะที่คาด credit cost จะปรับตัวลดลงตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนับจากนี้

โดดเด่นในกลุ่ม ร.พ. ขนาดเล็ก ประเมินมูลค่าพื้นฐานปี 65 ที่ 81 บาท แนะนําซื้อ

ปรับเพิ่มมูลค่าพื้นฐานปี 65 เป็น 81 บาท (เดิม 64 บาท) อิง PBV 1.25 เท่า ภายใต้วิธี GGM โดยคาด ROE ระยะยาวที่ 13.0% และ terminal growth ที่ 2% ณ ราคาปัจจุบันที่ 74 บาท มี upside ราว 10% และมีการจ่ายปันผลอีก 2.20 บาท XD วันที่ 28 เม.ย. 65 คิดเป็นผลตอบแทนจากเงินปันผลราว 3% แนะนำซื้อ

ปัจจัยเสี่ยงสําคัญ

1) การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และผลกระทบจากสงครามยูเครน-รัสเซีย ที่ส่งผลลบต่อเศรษฐกิจ กดดันต่อการเติบโตของสินเชื่อ และคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคาร

2) การควบคุมการทำธุรกิจเช่าซื้อของภาครัฐ ที่ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อการปล่อยสินเชื่อ และการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม

 

- Advertisement -