บล.เคจีไอ (ประเทศไทย):
Bank Sector รายได้หลักอ่อนแอลง
Event
สรุปผลประกอบการ 1Q65 และอัพเดตแนวโน้ม
Impact
ผลประกอบการ 1Q65 – รายได้จากธุรกิจหลักยังอ่อนแอ
กําไรโดยรวมของกลุ่มธนาคารเพิ่มขึ้น 23% QoQ และ 13% YoY ใน 1Q65 ดีกว่าประมาณการของเรา consensus ประมาณ 5% เนื่องจากมีการตั้งสำรองหนี้เสีย (LLP) ลดลงอย่างมาก แต่หากไม่รวมรายการ LLP และการปรับมูลค่าเหมาะสมของเงินลงทุน กำไรใน 1Q65 จะเพิ่มขึ้นประมาณ 11% QoQ และ 5% YoY โดยรายได้ดอกเบี้ย (NII) ทรงตัว QoQ แต่เพิ่มขึ้น 8% YoY ในขณะที่ NIM ลดลงเล็กน้อย และรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกรรมการธนาคนารหลักยังอ่อนแอที่ -8% QoQ และ -7% YoY
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก กดดันผลการดำเนินงานของ BBL, KBANK, SCB ความคาดหมายว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ย ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (yield curve) ชันขึ้น และเกิดผลขาดทุนจากการบันทึกมูลค่าการลงทุน (MTM/FVTPL) ตามราคาตลาดในงบดุล และในงบกำไรขาดทุน ทั้งนี้ KBANK ได้รับผลกระทบหนักที่สุด พอร์ตการลงทุนจากธุรกิจธนาคารและจากธุรกิจประกัน จนส่งผลขาดทุนอย่างหนัก ส่วน BBL บันทึกผลกำไรทางบัญชี (FVTPL) ลดลงอย่างมากในงบกำไรขาดทุนเหลือเพียง 1.3 พันลบ. ใน 1Q65 (จากเฉลี่ยไตรมาสละ 4.5 พันลบ.) และบันทึกผลขาดทุน MTM ในงบดุลที่ประมาณ 2.5 พันลบ. นอกจากนี้ SCB บันทึก FVTPL ที่เกือบเป็นศูนย์ใน 1Q65 (จากเฉลี่ยไตรมาสละ 2.7 พันล้านบาท) อย่างไรก็ตาม ผลกำไร/ขาดทุนรายการนี้ของธนาคารอื่นๆ ไม่มีนัยสำคัญ
รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง
รายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกรรมธนาคารหลักของทุกธนาคารลดลงอย่างมากที่ -8% QoQ และ -7% YoY ใน 1Q65 โดยค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน เช่น wealth management และ bancassurance ลดลง มากกว่า 10% QoQ และ YoY ทั้งนี้ TTB ได้รับผลกระทบหนักที่สุด เนื่องจากรายได้จากกลุ่มธุรกิจดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วน 50% ของรายได้ค่าธรรมเนียม รองลงมาคือ TISCO และ SCB ซึ่งหากแนวโน้มยังอ่อนแอเช่นนี้ต่อไป จะทำให้ประมาณการกำไรปี FY2565F ของเรามี downside
การเปลี่ยนผ่านจากโครงการผ่อนผันหนี้มาเป็น comprehensive TDR กดดัน NIM ในระยะต่อไป KBANK, SCB, TTB เตรียมย้ายลูกหนี้ที่ประสบปัญหาในโครงการผ่อนผันหนี้ (ประมาณ 15% ของสินเชื่อ) ไปเป็นหนี้ปรับโครงสร้างแบบเบ็ดเสร็จ (comprehensive TDR) เพื่อดำเนินมาตรการช่วยเหลือระยะยาวต่อไป ซึ่งมาตรการนี้น่าจะสร้างแรงกดดันทางด้านรายได้จาก NIM ที่คาดว่าจะลดลงประมาณ 10bps ในไตรมาสต่อๆ ไป ทั้งนี้ KBANK คาดว่ายอดหนี้ในโครงการผ่อนผันหนี้จะทยอยลดลงเหลือ 1.93 แสนล้านบาทที่เปลี่ยนไปเป็น TDR ภายในสิ้นปีนี้ (จาก 2.50 แสนล้านบาทใน 1Q65) ในขณะที่ของ SCB คาดว่าจะลดลงเหลือ 3.50 แสนล้านบาทภายในสิ้นปีนี้ (จาก 3.97 แสนล้านบาทใน 1Q65)
Risks NPLs เพิ่มขึ้น และกันสำรองเพิ่มขึ้น รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง, ผลขาดทุนจาก FVTPL ของการลงทุน