บล.ทรีนีตี้

ปูนซิเมนต์ไทย – SCC กำไร 8.8 พันล้านบาท ตามคาด ธุรกิจปูนช่วยหนุน แต่ปิโตรเคมียังอ่อนแอ

  • คงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่ปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 465 บาท อิง SOPT หรือเทียบเท่า EV/EBITDA ที่ 10.5 เท่า ปัจจุบันราคาหุ้นซื้อขายที่ -1SD EV/EBITDA และ -1.5SD PBV และ 1 เดือนราคาหุ้นปรับลง -5% เราเชื่อว่าได้สะท้อนผลการดำเนินงานที่คาดว่าจะอ่อนตัวในปีนี้ไปแล้ว เป็นจังหวะดีในการเข้าสะสม และรอการฟื้นตัวในปี 2023
  • SCC รายงานกำไรสุทธิ 1Q22 ที่ 8.8 พันล้านบาท -41% YoY, +6% QoQ เป็นไปตามที่เราคาด แต่ดีกว่าตลาดคาดเล็กน้อย โดยที่ปรับตัวดีขึ้น QoQ มาจากธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่ดีขึ้น ในขณะที่ลดลง YoY ค่อนข้างมากจากปิโตรเคมีที่มีส่วนต่างราคาลดลง
  • ปรับประมาณการกำไรปี 2022 ลงเป็น 4.2 หมื่นล้านบาท (-3%) จากที่เราปรับประมาณการของ SCGP ลง จากต้นทุนวัตถุดิบและพลังงานที่เพิ่มขึ้น แต่ยังคงประมาณการส่วนธุรกิจซีเมนต์และปิโตรเคมี

Result review

SCC รายงานกำไรสุทธิ 1Q22 ที่ 8.8 พันล้านบาท -41% YoY, +6% QoQ เป็นไปตามที่เราคาด แต่ดีกว่าตลาดคาดเล็กน้อย โดยที่ปรับตัวดีขึ้น QoQ มาจากธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่ดีขึ้น ในขณะที่ลดลง YoY ค่อนข้างมากจากปิโตรเคมีที่มีส่วนต่างราคาลดลง สำหรับผลดำเนินงานรายธุรกิจมีดังนี้

1) ธุรกิจปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง (CBM) มี EBITDA ที่ 5.9 พันล้านบาท -9% YoY, +27% QoQ โดยตลาดปูนซีเมนต์ในประเทศยังหดตัว 3% YoY ในขณะที่ราคาขายปรับเพิ่มขึ้นมาเป็น 1,800-1,900 บาทต่อตัน

2) ธุรกิจปิโตรเคมี Operating EBITDA 4.6 พันล้านบาท -57% YoY, -17% QoQ ปริมาณขาย PE และ PP ยังคงใกล้เคียงกับ 4Q21 ที่ประมาณ 5 แสนตัน ในขณะที่ส่วนต่างราคาของ HDPE-Naphtha ลดลงเหลือ USD420/ton -29% YoY, -17% QoQ

3) ส่วนแบ่งกำไรอยู่ที่ 3.4 พันล้านบาท -40% YoY, +52% QoQ ลดลง YoY จากบริษัทร่วมที่เป็นปิโตรเคมีมีผลกำไรลดลง จากต้นทุนที่สูงขึ้น ในขณะที่เพิ่มขึ้น QoQ จากบริษัทร่วมอื่นที่ไม่ใช่ปิโตรเคมี

ปรับประมาณการกำไรปี 2022 ลงเป็น 4.2 หมื่นล้านบาท

เราปรับประมาณการกำไรปี 2022 ลงเป็น 4.2 หมื่นล้านบาท (-3%) จากที่เราปรับประมาณการของ SCGP ลงจากต้นทุนวัตถุดิบและพลังงานที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่เรายังคงสมมติฐาน CBM EBITDA Margin 8% และส่วนต่าง HDPE-Naphtha USD550/ton ทั้งนี้ทางบริษัทยังคงเร่งปรับราคาขายปูนซีเมนต์เพื่อสะท้อนต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น และหันมาใช้เชื้อเพลิงอื่นแทน ถ่านหินที่ปรับเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะผลักดันให้ EBITDA ของธุรกิจ CBM กลับไประดับ 10-15%

ปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 465 บาท

ปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 465.00 บาท อิง SOPT หรือเทียบเท่า EV/EBITDA ที่ 10.5 เท่า ปัจจุบันราคาหุ้นซื้อขายที่ -1SD EVIEBITDA และ -1.5SD PBV และ 1 เดือนราคาหุ้นปรับลง -5% เราเชื่อว่าได้สะท้อนผลการดำเนินงานที่คาดว่าจะอ่อนตัวในปีนี้ไปแล้ว เป็นจังหวะดีในการเข้าสะสม และรอการฟื้นตัวในปี 2023

ความเสี่ยง ความผันผวนของราคาน้ำมันที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต

- Advertisement -