บล.พาย:
SCC: เข้าใกล้สู่การแยกสินทรัพย์ SCGC
คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐานที่ 445.0 บาท อิง 13.7xPE’22E หรือใกล้เคียงค่าเฉลี่ย 10 ปี
- การปลดล็อกมูลค่าผ่านการทำ IPO SCGC อาจช่วยยกสถานะในตลาด PE/PP/PVC ให้แข็งแกร่งขึ้น ผ่านอุปสงค์โอเลฟินส์ที่แข็งแกร่งในเวียดนามและอินโดนีเซีย รวมถึงผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม (HVA) และไวนิลที่เพิ่มมากขึ้น
- โครงการ LSP มีความคืบหน้าแล้ว 93% คาดเริ่มดำเนินงานเชิงพาณิชย์ (COD) ใน 1H23 และประเมินว่ากำลังการผลิตใหม่นี้จะเข้ามาในช่วงที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีภาพรวมที่ดีขึ้นแล้ว
- เชื่อว่ากำไรปกติจะฟื้นตัวต่อเนื่องตั้งแต่ 2Q22 เป็นต้นไป หนุนจากส่วนต่างราคาปิโตรเคมีที่ปรับดีขึ้น บวกกับธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (CBM) และธุรกิจบรรจุภัณฑ์ที่แข็งแกร่งขึ้น
- ลดมุมมองเชิงบวกสำหรับปี 2022 ลง เพราะมีภาระจากต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งจะไปฉุดกำไรในระยะสั้นลง แต่ยังมองบวกต่อภาพรวมปี 2023-24 สืบเนื่องจากแรงกดดันด้านต้นทุนที่คลี่คลายลง
แม้ตลาดในระยะสั้นค่อนข้างท้าทายจากต้นทุนวัตถุดิบและพลังงานที่สูงขึ้น แต่ยังแนะนำเข้าสะสม เพราะบริษัทมีภาพรวมระยะยาวเป็นบวก ทั้งยังมีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่น่าดึงดูดระดับ ขณะที่ 4.4% downside risk อาจได้รับการชดเชยจากการทำ IPO SCGC และการขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติม
ปลดล็อกมูลค่าผ่านการทำ IPO หุ้น SCGC
- วันที่ 26 ม.ค. 2022 คณะกรรมการของบริษัทมีมติอนุมัติแผนการทำ IPO หุ้นของบริษัท SCGC ด้วยจำนวนหุ้น IPO ไม่เกิน 25.2% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว หรือคิดเป็น 3.85 พันล้านหุ้น ผู้ถือหุ้น SCC จะมีสิทธิจองซื้อหุ้นใหม่ไม่เกิน 15% ของหุ้นที่จัดสรรสำหรับการทำ IPO ทั้งหมด ซึ่งคิดเป็น 578 ล้านหุ้น โดยมีแผนจดทะเบียน SCGC เข้าตลาดหลักทรัพย์ใน 2H22 ขณะที่ SCC จะยังคงสถานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่หลังการทำ IPO แล้วเสร็จ ขณะที่ SCGC ที่แยกสินทรัพย์ออกมาจะยังคงสถานะเป็นบริษัทย่อยเหมือนเดิม
- เงินที่ได้จากการทำ IPO จะนำไปกระตุ้นจุดยืนของกิจการ PE/PP/PVC ในอาเซียน ผ่านการขยายธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ 1) หนุนจากการเติบโตของอุปสงค์ด้านโพลีโอเลฟินส์ที่แข็งแกร่งทั้งในเวียดนามและอินโดนีเซีย 2) พอร์ตผลิตภัณฑ์ HVA ที่ขยายใหญ่ขึ้นเป็น 2.7mt ภายในปี 2031 (1.5mt ในปี 2021) และ 3) สถานะกิจการไวนิลที่แข็งแกร่งขึ้นจากการบูรณาการธุรกิจ PVC เข้ากับผลิตภัณฑ์ต้นน้ำและปลายน้ำ แต่ประเมินว่าอัตรากำไรเคมีภัณฑ์ที่อาจออกมาอ่อนแอในระยะสั้นจะฉุด upside เหล่านี้ลงได้
- โครงการ LSP มีความคืบหน้าแล้ว 93% ผู้บริการคาดเริ่ม COD ใน 1H23 โรงผลิตโพลีโอเลฟินส์จะทำการทดสอบในช่วง 3Q-4Q22 และประเมินว่ากำลังการผลิตใหม่นี้จะเข้ามาในช่วงที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีภาพรวมที่ดีขึ้นแล้ว เพราะคาดว่าส่วนต่างราคาเคมีภัณฑ์จะปรับดีขึ้นตั้งแต่ 2H22 เป็นต้นไป หลังจากแรงกดดันด้านต้นทุนคลี่คลายลง
ธุรกิจปิโตรเคมีมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น
- ประเมินกำไรธุรกิจเคมีภัณฑ์จะออกมาแข็งแกร่ง QoQ ใน 2Q22 ด้วยแรงหนุนจากส่วนต่างราคาเคมีภัณฑ์ที่ปรับดีขึ้นจากราคาที่สูงขึ้น หลังจากที่ต้นทุนแนฟทาพุ่งสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบใน 1Q22 บวกกับสภาวะการปรับเพิ่มราคาตามต้นทุน ทั้งนี้ ส่วนต่างราคา HDPE/PP-แนฟทาใน 2Q22 QTD ปรับเพิ่มเป็น US$525/t และ US$507/t (+16%QoQ/+6%QoQ)
- ยังคงมุมมองเชิงระมัดระวังต่อภาพรวมกลุ่มปิโตรเคมีในปี 2022 ด้วยคาดการณ์ว่าการเติบโตของอุปทานด้านเอทิลีนจะโต 6% ก่อนที่จะแผ่วลงเป็น +4%/+2% ในปี FY2023/24 ตามลำดับ
ธุรกิจ CBM ตั้งท่าเติบโตต่อเนื่องตั้งแต่ 2Q22 เป็นต้นไป
- เชื่อว่ากำไรธุรกิจ CBM จะมีการเติบโตที่แข็งแกร่งต่อเนื่อง QoQ ใน 2Q22 และหลังจากนั้น ด้วยแรงหนุนจากราคาขายเฉลี่ยที่สูงขึ้นจากต้นทุนที่สูงขึ้น บวกกับอุปสงค์ที่ปรับดีขึ้น เพราะการกลับมาของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศหลังจากมีการคลายล็อกดาวน์
- ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญคือภาครัฐ (40% ของอุปสงค์) ขณะที่คาดว่าภาคอสังหาริมทรัพย์และพาณิชย์ (รวมกัน 60% ของอุปสงค์รวม) จะปรับดีขึ้นในไตรมาสถัดๆ ไป เพราะสถานการณ์โควิด-19 ที่เข้าใกล้สู่สถานะการเป็นโรคประจำถิ่น
ธุรกิจบรรจุภัณฑ์อยู่บนเส้นทางแห่งการฟื้นตัว
- คาดธุรกิจบรรจุภัณฑ์จะมีทิศทางกำไรที่ปรับดีขึ้นตั้งแต่ 2Q22 เป็นต้นไป หนุนจากอุปสงค์ที่ดีขึ้น เพราะอาเซียนส่งสัญญาณการคลายล็อกดาวน์ที่ชัดเจนขึ้น บวกกับราคาขายเฉลี่ยที่สูงขึ้นตามต้นทุน และการเติบโตของกำลังการผลิตใหม่
- คงมุมมองว่าสภาวะต้นทุนที่สูงขึ้นจะผ่อนคลายลงใน 2H22 แม้นโยบายล็อกดาวน์ที่เข้มงวดของจีนจะฉุดอัตรากำไรลงเล็กน้อยก็ตาม แต่ยังชอบ SCGP (บริษัทถือหุ้นอยู่ 72%) อิงจากภาพรวมเชิงบวกของธุรกิจหลักและดีล M&P ในอนาคต
สรุปผลประกอบการ
- กำไรปกติ 1Q22 อยู่ที่ 7.1 พันล้านบาท (-48%YoY, +8%QoQ) สอดคล้องกับคาดการณ์และคิดเป็น 20% ของประมาณการกำไรปกติปี FY2022
- รายได้โต 25%YoY และ 7%QoQ มาอยู่ที่ 1.53 แสนล้านบาท สอดคล้องกับคาดการณ์ หนุนจากผลประกอบการจากทุกธุรกิจที่ปรับดีขึ้น
- รายได้ธุรกิจปิโตรเคมีอยู่ที่ 6.9 หมื่นล้านบาท (+34%YoY +5%QoQ) ที่พุ่งสูงขึ้น YoY เป็นผลจากราคาผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้นด้วยยอดขายที่ทรงตัว ขณะที่กำไรอยู่ที่ 3.6 พันล้านบาท ลดลง 59%YoY และ 20%QoQ จากต้นทุนวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้น
- รายได้ธุรกิจ CBM อยู่ที่ 5.1 หมื่นล้านบาท (+10%YoY, +11%QoQ) ที่โตขึ้นทั้ง YoY และ QoQ เป็นเพราะอุปสงค์ซีเมนต์ที่ฟื้นขึ้นจากการกลับมาของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและราคาขายเฉลี่ยที่สูงขึ้น ส่วนกำไรอยู่ที่ 2.3 พันล้านบาท (-18%YoY, +67%QoQ) ที่ลดลง YoY เป็นผลจากต้นทุนวัตถุดิบและพลังงานที่สูงขึ้น
- รายได้ธุรกิจบรรจุภัณฑ์อยู่ที่ 3.7 หมื่นล้านบาท (+34%YoY, +4%QoQ) ที่โตขึ้น YoY เป็นผลจากการรับรู้ส่วนแบ่งเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากดีล M&P และการคลายล็อกดาวน์ ส่วนกำไรอยู่ที่ 1.7 พันล้านบาท (-22%QoQ) ลดลงเพราะฐานสูงจากการรับรู้กำไรพิเศษครั้งเดียว 1.1 พันล้านบาทใน 4Q21
Revenue breakdown
ในกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี การผลิตผลิตภัณฑ์ของบริษัทครอบคลุมตั้งแต่การผลิตโอเลฟินส์ต้นน้ำไปจนถึงการผลิตเม็ดพลาสติกหลักสามชนิดในขั้นปลายน้ำ ได้แก่ โพลิเอทิลีน โพลิโพรพิลีน และโพลีไวนิลคลอไรด์ บริษัทจัดจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ในปี 2021 ยอดขายของธุรกิจเคมีภัณฑ์ คิดเป็น 45% ของยอดขายรวมของบริษัท
ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างคิดเป็น 32% ของยอดขายรวม ดำเนินการผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ คอนกรีตผสมเสร็จ ปูนขาว ปูนแห้ง กระเบื้องหลังคา แผ่นปูคอนกรีต กระเบื้องเซรามิก เครื่องสุขภัณฑ์และอุปกรณ์สุขภัณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่บริษัทจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้าในประเทศ
ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ (คิดเป็น 23% ของยอดขายรวม) โดยบริษัทผลิตและจำหน่ายกระดาษและบรรจุภัณฑ์เยื่อกระดาษ พลาสติก เยื่อกระดาษ เยื่อละลาย กระดาษพิมพ์และกระดาษเขียน