หุ้นสหรัฐฯ ร่วงหนักสุดนับตั้งแต่ปี 63

สินทรัพย์ในเกือบทุก asset classes ถูกเทขายหนักอีกครั้ง นำโดยหุ้นสหรัฐฯ (Down Jones -3.12%, SP500 -3.56%, NASDAQ -4.99%), ทองคำ (Gold future -1.88%) รวมถึงพันธบัตร หลังนักลงทุนตระหนักได้ว่าความพยายามของเฟดในการผ่อนคลายตลาดนั้นไร้ผล เมื่อพิจารณาจากระดับอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงนานกว่าคาด ซึ่งจะบีบให้เฟดอาจต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยแรงในท้ายสุด ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยเริ่มเห็นผลกระทบที่ชัดมากขึ้นผ่านตัวเลขความเชื่อมั่นและการบริโภคในประเทศที่ชะลอตัวลงจากผลของค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขกำไรคาดการณ์ ตลาดหุ้นไทยที่ถูกปรับลงต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา

บอนด์ยีลอาจไม่หยุดที่ 3% จากการศึกษาไซเคิลอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐในอดีต (ช่วงปี 1994-1995, 1999-2000, 2004-2006, 2015-2018) พบว่าผลตอบแทนพันธบัตรมักผ่านจุด peak ก่อนเฟดขึ้นดอกเบี้ยสุดราว 2-3 เดือน ซึ่งหากอ้างอิงจากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถบ่งชี้ได้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอาจขึ้นต่ออย่างน้อยจนถึงไตรมาส 4/65 (ตลาดคาดเฟดขึ้นดอกเบี้ย) ซึ่งหากเป็นไปตามที่คาด ตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มลงต่อจากระดับ Eamings Risk Premium (ERP) ที่แคบลง **อัตราผลตอบแทน ตลาดหุ้น – พันธบัตร

โฟกัสการลงทุนรายตัว/กลุ่ม กลยุทธ์การเลือกหุ้นจะทำได้ยากขึ้นในช่วงที่ตลาดเข้าสู่ช่วงปลายวัฏจักรขาขึ้น (late cycle) ผ่านผลกระทบของเงินเฟ้อที่สูง และการทยอยถอนมาตรการกระตุ้นของกลุ่มธนาคารกลาง เราเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อต่ำ, ภาพรวมกำไรคาดการณ์ที่ยังคงแข็งแกร่ง และถูกซื้อขายบนระดับ PE ที่ไม่แพง อาทิ พลังงาน, ธนาคาร, โรงพยาบาล, ประกันฯ เป็นต้น

ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ OSP, CBG, ICHI, SAPPE 2) กลุ่มท่องเที่ยว CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR 3) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO 4) กลุ่มมีลุ้นเข้า SET50 ได้แก่ JMT, JMART 5) กอง REIT ได้แก่ FIREIT, WHART 6) ขณะที่หุ้นกลาง-เล็กที่สามารถเลือกเก็งกำไร (แบบกำหนดจุดตัดขาดทุน) ในช่วงนี้ ได้แก่ THREL, BLA, MAJOR, TH, SCN, SCI, CMR, TKN, SPA เป็นต้น

ภาพรวมกลยุทธ์: แม้โดยรวมยังคงมุมมองระมัดระวังสำหรับไตรมาส 2/65 ที่อัพไซต์ อาจจะจำกัด แต่ระยะสั้นตลาดมีโอกาสฟื้นตัว หลังนักลงทุนปรับสถานะการลงทุนผ่าน sell in April ไปพอสมควร ทำให้ถือเงินสดในมือสูง และมีความพร้อมในการเข้าเพิ่มสถานะการลงทุน อย่างไรก็ตาม เน้นในหุ้นใหญ่พื้นฐานดีที่ valuation ไม่แพงหรือกระแส เงินสดสูงที่สามารถจำกัด downside risk ได้เป็นหลัก

หุ้นแนะนำ SCB*, OR*, MAJOR*, BLA*

แนวรับ: 1,630 / แนวต้าน : 1,653-1,660 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%

ประเด็นการลงทุน

  • นักลงทุนยังคงคาดเฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% เดือนหน้า – FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่านักลงทุนให้น้ำหนัก 75% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมวันที่ 14-15 มิ.ย. เพิ่มขึ้นจากระดับ 19% เมื่อเดือนที่แล้ว
  • สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานสูงกว่าคาด – เพิ่มขึ้น 19,000 ราย ระดับ 200,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. และ เป็นตัวเลขการเพิ่มขึ้นรายสัปดาห์มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.2564 นักวิเคราะห์คาดอยู่ที่ระดับ 182,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว
  • BoE ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 1.00% สูงสุดในรอบ 13 ปี – ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 1.00% ในการประชุมวันนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ
  • พลังงานพุ่งดัน “เงินเฟ้อ” สูงเดือนเม.ย.ขึ้นต่อเนื่อง – เงินเฟ้อ เดือน เม.ย.เพิ่ม 4.65% ผลจากราคาพลังงงาน อาหารสด มาตรการคว่ำบาตรของรัสเซีย คาดเงินเฟ้อ เดือนพ.ค. 2565 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง
  • ก.ล.ต.ปรับ บิทคับ ออนไลน์-คณะกรรมคัดเลือกเหรียญ KUB เข้าเทรด – จำนวน 5 ราย กระทำการหรือละเว้นกระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำ เป็นเหตุให้เหรียญ KUB เข้าชื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์

ประเด็นติดตาม: 6 พ.ค. US Nonfarm Payrolls, US Unemployment Rate / 8 พ.ค. – China Trade Balance / 11 พ.ค. US Core CPI / 12 พ.ค. – MSCI Rebalancing, US PPI

ประเด็นลงทุนสําหรับหุ้นแนะนำ

  • เก็งกำไร SCB* (124) : มีโอกาสเห็น pair trade ระหว่าง SCB (-5% YTD) กับ KBANK (+7% YID)/BBL (+8% YTD) ตัดขาดทุน 113.50 บาท
  • เก็งกำไร OR* (31) : คาดผลประกอบการทยอยฟื้นตัวในช่วงสองถึงสามไตรมาสถัดไป ตัดขาดทุน 23.75 บาท
  • เก็งกำไร MAJOR* (22) : กระแสเงินสดแข็งแกร่ง และผลการดำเนินงานฟื้นตัวจากการเปิดประเทศ และหน้าหนังที่ดี ตัดขาดทุน 20 บาท
  • เก็งกำไร BLA* (50) : ได้ประโยชน์จากแนวโน้มบอนด์ยีลขาขึ้น ตัดขาดทุน 37 บาท

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

Market News & Factors

  • ตลาดหุ้นสหรัฐ: ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทรุดตัวลงกว่า 1,000 จุดในวันพฤหัสบดี (5 พ.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมเดือนหน้า แม้ นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดส่งสัญญาณว่า เฟดยังไม่ได้พิจารณาเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงขนาดนั้นก็ตาม (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดหุ้นยุโรป: ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงในวันพฤหัสบดี (5 พ.ค.) เป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ โดยหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวลงหลังจากที่บวกขึ้นในช่วงเช้าโดยได้แรงหนุนจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แสดงความเห็นว่าจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรงถึง 0.75% (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดหุ้นญี่ปุ่น: ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดทำการ (5 พ.ค.) เนื่องในวันเด็ก (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดน้ำมัน: สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WII) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี (5 พ.ค.) โดยตลาดยังคงได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ตลาดน้ำมันโลกจะเผชิญภาวะตึงตัวมากขึ้น หลังสหภาพยุโรป (EU) ส่งสัญญาณเตรียมคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย (อินโฟเควสท์)
  • นักลงทุนยังคงคาดเฟดขึ้น ดอกเบี้ย 0.75% เดือนหน้า: FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 75% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมวันที่ 14-15 มิ.ย. เพิ่มขึ้นจากระดับ 19% เมื่อเดือนที่แล้ว (อินโฟเควสท์)
  • สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานสูงกว่าคาด: เพิ่มขึ้น 19,000 ราย สู่ระดับ 200,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. และเป็นตัวเลขการเพิ่มขึ้นรายสัปดาห์มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2564 นักวิเคราะห์คาดอยู่ที่ระดับ 182,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว (อินโฟเควสท์)
  • BoE ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 1% สูงสุดรอบ 13 ปี: ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 1.00% ในการประชุมวันนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 13 ปีเพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ (อินโฟเควสท์)
  • พลังงานพุ่งดัน “เงินเฟ้อ” สูง เดือนเม.ย.ขึ้นต่อเนื่อง: เงินเฟ้อไทยเดือน เม.ย. เพิ่ม 4.65% ผลจากราคาพลังงาน อาหารสด มาตรการคว่ำบาตรของรัสเซีย คาดเงินเฟ้อเดือน พ.ค. 2565 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง (กรุงเทพธุรกิจ)
  • ก.ล.ต. ปรับ บิทคับ ออนไลน์-คณะกรรมคัดเลือกเหรียญ KUB เข้าเทรด: รวมจำนวน 5 ราย กระทำการหรือละเว้นกระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำ เป็นเหตุให้เหรียญ KUB เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ (กรุงเทพธุรกิจ)

Report & Corporate News

  • LPN Maintained HOLD TP: 4.80 บาท: LPN ประกาศกำไรสุทธิใน 1Q22 ที่ 191 ลบ. (+56% yoy, +497% qoq) ซึ่งผลประกอบการเป็นไปตามที่เราคาดไว้ แต่สูงกว่าที่ตลาดคาด 7% เราเชื่อว่า LPN จะยังคงใช้แคมเปญส่งเสริมการขายต่อไป เนื่องจากอุปสงค์ของกลุ่มแนวสูง (high rise) ที่ฟื้นตัวช้า และข้อจำกัดของอุปทานทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เราคาดการณ์ถึง upsid risk ที่อาจเกิดขึ้นต่อประมาณการกำไรของเรา จากกำไรจากการขายสินทรัพย์ และอัตราเงินปันผลตอบแทนยังคงน่าสนใจ คงคำแนะนำ ถือ ราคาเป้าหมาย: 4.80 บาท
  • RATCH: เตรียมลงทุนขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าอีกประมาณ 30 เมกะวัตต์ และไอน้ำอีกประมาณ 5 ตันต่อชั่วโมง โดยใช้วงเงินลงทุนประมาณ 1,724 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนของเงินกู้ 70% และส่วนผู้ถือหุ้น 30% โครงการดังกล่าวมีแผนจะเริ่มก่อสร้างในเดือน ธ.ค.65 คาดว่าจะแล้วเสร็จและเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ประมาณ เดือน มิ.ย.67 (อินโฟเควสท์)
  • PTTEP: บริษัทคาดว่าผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/65 จะเติบโตตามคาดการณ์ปริมาณการขายเฉลี่ยเพิ่มมาที่ 4.67 แสนบาร์เรล/วัน (KBOED) จาก 4.27 แสนบาร์เรล/วันในไตรมาส 1/65 และคาดว่าทั้งปีก็น่าจะอยู่ที่ระดับเฉลี่ยดังกล่าว (อินโฟเควสท์)
  • CRC: ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) กล่าวว่า ธุรกิจ CRC มีการเติบโตแบบ V shape ตั้งแต่ไตรมาส 4/64 และยังคงโตต่อเนื่องจนถึงไตรมาส 1/65 อย่างก้าวกระโดด ซึ่งยังมีโมเมนตั้มที่ดีมาจนถึงไตรมาส 2/65 ทำให้บริษัทมั่นใจว่าภาพรวมการเติบโตของธุรกิจของ CRC ในปี 65 รายได้จะทะลุเป้า 15% ตามที่ได้วางไว้ และด้วยงบลงทุนกว่า 1.8-2 หมื่นล้านบาท ที่วางไว้ในปีนี้จะใช้ในการเปิด ศูนย์การค้าโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ทั้งหมด 3 แห่ง รวมถึงเพิ่มร้านค้า และเปิดตัวธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ทุกไตรมาส ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มอีกหลายพันตำแหน่ง และด้วยแรงหนุนจากการเปิดประเทศจะยิ่งเป็นผลดีต่อการเติบโตของ CRC มากขึ้นไปอีก (อินโฟเควสท์)
- Advertisement -