บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์:

Bangkok Bank Plc. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

กำไรเพอร์มาต้าแบงก์น่าช่วยหนุนผลประกอบการปีนี้

  • 1Q65 กำไรโต 3%YoY มองสินเชื่อทรงตัวถือว่าดีกว่าปกติแล้ว ยังคงเป้าสินเชื่อทั้งปีโต 4-6% เชื่อมั่นทำได้
  • กำไรเพอร์มาต้าแบงก์ดีขึ้นมาก 1Q65 กำไรโต 52% YoY คิดเป็น 25% ของกำไร BBL แล้ว จาก 9% ช่วงแรก
  • ยังคงกำไรทั้งปีโตสูงถึง 31% YoY แม้กำไร 1Q65 คิดเป็น 21% ของประมาณการ มองว่ากำไรปกติไม่รวม gain on investment ยังเป็นไปตามเป้า บวกกำไรเพอร์มาต้าแบงก์ช่วยหนุน
  • ถือเป็นหุ้นพื้นฐานดี เงินกองทุนแข็งแกร่ง มีสำรองสูงมาก ราคาหุ้นถูกเทรดเพียง 0.5XPBV แนะ “ซื้อ”

ประเด็นการลงทุน

  • ยังคงประมาณการ GDP 3-4% โดยมองความเป็นไปได้ที่ 3% หลังรับผลกระทบรัสเซีย-ยูเครน BBL ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจ มองผลกระทบการระบาดของโอมิครอนสามารถบริหารจัดการได้ การฉีดวัคซีนทำได้ดี โดยฉีดเข็ม 3 ได้กว่า 40% ของประชากรไทย มองสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้มากกว่า 90% แล้ว ยังคงเป้าปีนี้ GDP โต 3 4% เดิมมองมีโอกาสมากกว่าเป้าได้จากภาคการท่องเที่ยว ล่าสุดหลังวิกฤติรัสเซีย-ยูเครน น่าจะส่งผลกระทบให้ GDP ไทยอยู่ที่ราว 3% เท่านั้น ยังคงไม่ปรับประมาณการ เชื่อว่า Engine Growth จะมาจากภาครัฐที่ขับเคลื่อนผ่าน Public infrastructure อย่างโครงการ EEC, ท่าเรือมาบตาพุด รวมถึงโครงการรถไฟ 3 สนามบิน และยังมีหลาย โครงการที่อนุมัติไปแล้วอย่างรถไฟฟ้าใต้ดิน และมอเตอร์เวย์เป็นต้น และมองว่า engine เรื่องนักท่องเที่ยวน่าจะเข้ามาช่วย จากโมเมนตัมที่ดีในเดือนเม.ย.เชื่อ 12 เดือนต่อจากนี้มีโอกาสที่นักท่องเที่ยวจะกลับมาราว 7 ล้านคน ส่วนทางด้านเงินเฟ้อที่ล่าสุดอยู่ที่ 5.7% จะค่อยๆ ลดลง เชื่อธปท.อยากให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าเล็กน้อยเพื่อพยุงภาคส่งออก ท่องเที่ยว และภาคเกษตร เชื่อปีนี้ยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ย มองค่าเงินบาทอ่อนราว 35 บาทต่อดอลลาร์
  • ยังคงเป้าสินเชื่อปี 65 โต 4-6% YoY คุม NPL < 4% 1Q65 BBL รายงานกำไร 7,118 ลบ. เพิ่มขึ้นเพียง 2.8% YoY เป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่เติบโต 10% YoY แต่สุทธิจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลง 5% YoY จากธุรกรรมบัตรเครดิต ประกัน และธุรกิจจัดการกองทุน และรายได้จาก gain on investment ที่ลดลงมากจากการ mark to market พอร์ตลงทุนซึ่งส่วนใหญ่เป็นพอร์ต Equity ที่ผันผวนตามภาวะตลาดทุน สำหรับสินเชื่อ 1Q65 ยังทรงตัว YTD โดยสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่ยังโตดี แต่สุทธิจากสินเชื่อกิจการต่างประเทศที่ลดลง ทั้งนี้สินเชื่อที่ทรงตัวใน 1Q65 ถือว่าค่อนข้างดี เนื่องจากที่ผ่านมาทุกไตรมาสแรก สินเชื่อจะหดตัวลงเป็น seasonal สำหรับสินเชื่อต่างประเทศที่หดตัวลง ไม่ได้มีความกังวลแต่อย่างใด ทั้งนี้เป็นผลจากประเทศจีน ฮ่องกง เวียดนาม ที่เป็นช่วง Chinese New Year ให้ชะลอการเบิกจ่าย โดยสินเชื่อที่อนุมัติไปมีเป็นจำนวนมาก รอเพียงการเบิกใช้จ่าย (drawdown) จึงเชื่อว่าเป้าสินเชื่อทั้งปี 65 โต 4-6% ทำได้ ขณะที่คงเป้าด้านอื่นๆ ทั้ง NIM 2.1% ใกล้เคียงปีก่อน และคุม Cost to income ที่ 50% ต้นๆ บวกคุม NPL <4% รวมถึงการตั้ง credit cost ราว 2.6 หมื่นลบ.ลดลงจากปีก่อนที่ตั้งสูงถึง 3.4 หมื่นลบ.
  • กำไรเพอร์มาต้าแบงก์ดีขึ้นเป็นลำดับ 1Q65 โต 52% YoY จาก presentation ของ Permata Bank อินโดนีเซีย 1Q65 ธนาคารมีกำไร 750.3 พันล้านรูเปียะ (ราว 1.8 พันลบ.) เพิ่มขึ้น 52% YoY โดยมีสินเชื่อโต 3.2% YTD NPL 3.2% Coverage ratio 226% BIS 33% ทั้งนี้ BBL ค่อนข้างพอใจกับผลประกอบการของเพอร์มาต้าแบงก์ที่ทำได้ดีขึ้นเป็นลำดับ โดยสัดส่วนการทำกำไรของเพอร์มาต้าแบงก์ ณ 1Q65 คิดเป็น 25% ของกำไร 1Q65 ของ BBL ขณะที่ช่วงแรกที่ซื้อช่วงปี 62-63 สัดส่วนกำไรคิดเป็นเพียง 9% ของกำไร BBL เท่านั้น เชื่อภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นของอินโดนีเซียน่าจะทำให้กำไรของเพอร์มาต้าแบงก์ปีนี้ยังคงเติบโตดีขึ้น และช่วยหนุนกำไรปีนี้ของ BBL ด้วย
  • ยังไม่ปรับประมาณการ มองกำไรปกติหากไม่รวม Gain on investment ยัง inline แม้กำไร 1Q65 จะคิด เป็นเพียง 21% ของประมาณการกำไรทั้งปี 65 ของเรา เป็นผลจาก Gain on investment ที่ลดลงจากการ mark to market พอร์ตลงทุนตามภาวะตลาดที่ผันผวน ถือเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ทั้งนี้ กำไรปกติหากไม่รวมรายการดังกล่าว ยังคง inline ดังนั้นเรายังคงประมาณการกำไรทั้งปี 65 ไว้ที่เดิม ยังคาดจะมีกำไรจะโต 31% YoY กลับมาใกล้เคียงช่วง Pre-Covid ปี 62 แล้ว โดยคาดกำไรที่ดีขึ้นมากของเพอร์มาต้าแบงก์จะช่วยหนุน

คําแนะนํา

แนะ “ซื้อลงทุน” ด้วยความเป็นธนาคารใหญ่ที่คงความ conservative เตรียมพร้อมรับความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตตลอด เรายังคงชอบ BBL และถือเป็น Top Pick ในกลุ่มธนาคาร ทั้งนี้ BBL ถือเป็นหุ้น value stock ที่น่าลงทุน ปัจจุบันเทรดเพียง 0.5xBV ทั้งที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง ทั้งเงินกองทุนที่ 19.6% และ coverageratio ที่สูงมากถึง 226% ยังคงแนะนำ ซื้อลงทุน

ปัจจัยเสี่ยง: วิกฤติรัสเซีย-ยูเครน ท่ียืดเยื้อกระทบเศรษฐกิจโลกรวมถึงไทย บวกกับการกลับมาระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ทําให้เศรษฐกิจถดถอยหนักกว่าคาด+เกิดหน้ีเสียเพิ่มสูงข้ึนอย่างมีนัยสําคัญ

- Advertisement -