จับตาตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐคืนนี้
สรุปภาวะตลาด
วันอังคารที่ผ่านมา ดัชนีรีบาวด์ประมาณ +18 จุด โดยในภาคเช้าดัชนีมีการหลุดบริเวณ 1,600 จุด ดัชนีทำจุดต่ำสุดที่ 1,592 จุด ดัชนีปรับตัวขึ้นจากแรงช้อนซื้อในหุ้นที่ปรับตัวลงมามาก ในภาพใหญ่ ตลาดหุ้นยังคงถูกกดดันจากปัจจัยลบหลายๆ อย่าง นักลงทุนติดตามตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐเดือนเม.ย. ที่จะรายงานในวันที่ 11 พ.ค. โดยตลาดคาด +8.1%YoY ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,622.78 จุด +18.29 จุด +1.14% มูลค่าการซื้อขาย 83,382 ลบ. ต่างชาติ +2,430.39 ลบ. TFEX +1,193 สัญญา ตราสารหนี้ -1,157.70 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ เซี่ยงไฮ้รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลงต่อเนื่อง แต่ยังไม่ยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดเป็นเวลานานกว่า 1 เดือนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
+ สหรัฐรายงานดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมทรงตัวที่ระดับ 93.2 ในเดือนเม.ย. หลังจากปรับตัวลงติดต่อกัน 3 เดือน
+ สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย (ABS) เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกปรับตัวขึ้น 1.2%QoQ ใน 1Q65 สูงกว่าที่ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 1% โดยได้แรงหนุนจากอุปสงค์ที่ฟื้นตัวในกลุ่มผู้บริโภค
+ ครม.ไฟเขียวมาตรการ REIT buy-back สั่งเว้นภาษี ค่าฟีเหลือ 0.01% อุ้มทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หวังช่วยเสริมสภาพคล่องภาคธุรกิจจากผลกระทบโควิด-19
+ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์กเปิดเผยผล สำรวจคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคสหรัฐประจำเดือน เม.ย. พบว่าภาคครัวเรือนสหรัฐคาดว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงในช่วง 12 เดือนข้างหน้า
+ที่ประชุมครม. เห็นชอบลดค่าธรรมเนียมครั้งเดียวเหลือ 50,000 บาท (จากเดิม 100,000 บาท) ให้คนต่างด้าวที่ พำนักระยะยาว (Long-term resident visa : LTR Visa) 10 ปี
+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 7,650 ราย มีผู้เสียชีวิต 56 ราย รักษาหาย 9,322 ราย
ปัจจัยลบ –
– ดัชนีดาวโจนส์ปิด ลดลง 84.96 จุด -0.26% กังวลแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq ดีดตัวขึ้นเกือบ 1% ขานรับแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 3.33 ดอลลาร์ +3.2% ปิดที่ 99.76 ดอลลาร์/บาร์เรล กังวลว่าจีนล็อกดาวน์ เมืองสำคัญเป็นเวลานานจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และความต้องการใช้น้ำมัน
– ญี่ปุ่นรายงานว่าการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนญี่ปุ่นลดลง 2.3%YoY ในเดือนมี.ค. ปรับลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือนเนื่องจากภาคครัวเรือนใช้จ่ายด้านอาหารลดน้อยลง
– นักเศรษฐศาสตร์ของแบงก์ ออฟ อเมริกา ซีเคียวริตีส์ เปิดเผยว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยงรุนแรงที่จะเกิดความวุ่นวายในสังคม หากราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้นมาก
– ธนาคารเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนายุโรป (EBRD) ปรับลดคาดการณ์ GDP ยูเครนปีนี้ โดยคาดว่าอาจลดลงถึง 30% ในปีนี้จากการบุกโจมตีของรัสเซีย
– ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจเปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.65 ว่า ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนนับตั้งแต่เดือนก.ย.64 มาอยู่ที่ 40.7 จากระดับ 42.0 ในเดือน มี.ค.65
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวนระหว่างวัน โดยนักลงทุนยังจับตาสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนเม.ย.คืนนี้ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวหลุด 100 ดอลลาร์/บาร์เรล กดดันหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,610-1,620 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- กรณีสงครามยืดเยื้อ ราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูง บวกต่อ PTTEP PTTGC TOP, สินค้าเกษตร ข้าวสาลี และ กากถั่วเหลืองขึ้น เป็นบวกต่อ TMILL TVO และเป็นลบต่อธุรกิจอาหารสัตว์ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น CPF GFPT ASIAN
- ศบค.ยกเลิกตรวจ RT-PCR มีผล 1 พ.ค. นี้ : AOT ERW CENTEL MINT AWC
- หุ้นที่ได้ประโยชน์จากอากาศร้อน SNC KOOL SAPPE ICHITACC
- ตัวเลขส่งออกเดือนมี.ค.ขยายตัว+เงินบาทอ่อนค่า TWPC ASIAN XO SNC SKN PIMO SMT
หุ้นรายงานพิเศษ
DCC (Bloomberg Consensus 3.40 บาท) 1Q22 มีกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์
- บริษัทมียอดขาย 1Q22 เท่ากับ 2,394.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +22%QoQ จากการปรับราคาขายและได้แรงหนุนจากปัจจัยฤดูกาล แต่ทรงตัว QoQ จากปริมาณลดลง -14%YoY จากผลกระทบโควิด-19 แต่ยังสามารถปรับ ราคาขายเฉลี่ยขึ้นได้ +14%YoY ด้านอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ระดับ 44.2% ดีขึ้นจาก 43.0% ในไตรมาสก่อน และ 42.7% จากการเน้นขายสินค้าที่มี Margin สูงมากขึ้นใน 1Q21 ส่งผลให้บริษัทรายงานกำไรสุทธิ 1Q22 เท่ากับ 534.3 ล้านบาท เติบโต +38% Q-Q และ +8% Y-Y นับเป็นกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์
- สำหรับแนวโน้มผลประกอบการ 2Q22 บริษัทคาดว่าจะยังทรงตัว QoQ เนื่องจากตลาดซ่อมแซมบ้านที่ชะลอตัว ในขณะที่กลุ่มสร้างบ้านใหม่ยังขยายตัวได้ดี ทำให้บริษัทมีแผนเน้นเจาะกลุ่มสร้างบ้านใหม่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้บริษัทได้ปรับลดเป้ารายได้ปี 22 เติบโต 5%YoY จากระดับ 5%-10%
- ความเห็น :เรามีมุมมองเป็นกลางเนื่องจากบริษัทสามารถชดเชยราคาต้นทุนก๊าซที่เพิ่มขึ้น ด้วยการปรับราคาขาย และลงทุนติดตั้ง Solar Rooftop เพิ่มขึ้นเพื่อช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้า เราจึงแนะนำ “ซื้อ”
หุ้นมีข่าว
(+) WICE (Bloomberg Consensus 23.00 บาท) ตีปีก! รับเปิดประเทศเต็มรูปแบบ หนุนงานขนส่งทะลัก พร้อมส่งซิกครึ่งหลังปี 2565 ฟอร์มแจ่ม รับพอร์ตลูกค้าโต-เข้าสู่ช่วงไฮซีซัน แถมจ่อยื่นไฟลิ่ง ETL ระดมทุนเสริมแกร่งระยะยาว คาดชัดเจนไตรมาส 3/2565 (ที่มา ทันหุ้น)
(+) SABUY (Bloomberg Consensus 50.00 บาท) เดินหน้าลงทุนต่อ ดันธุรกิจเติบโตเท่าตัว แย้มไตรมาส 2/2565 เปิดกรุรับเงินลงทุนเต็มสูบ ด้านผู้บริหารโชว์ฝีมือโค้งแรกปี 2565 ปั้มกำไรโดด 219% โกยรายได้เข้าพอร์ตกว่า 107 ล้านบาท ระบุ Drop Off หรือจุดบริการรับส่งพัสดุเป็นพระเอก เดินหน้าสยายปีกภาคอีสาน อัพสาขาชน 20,000 จุด เตรียมเปิดตัวเหรียญ 2 เหรียญดิจิทัล ในงาน Money Expo Bangkok 2022 และงาน Thailand Crypto Expo 2022 ในวันที่ 12 พฤษภาคมนี้ (ที่มา ทันหุ้น)
(+) RBF (Bloomberg Consensus 18.00 บาท) ส่งซิกไตรมาส 2/2565 จ่อรับรู้รายได้ธุรกิจกัญชงเต็มสูบ หลังส่งมอบออเดอร์ให้ลูกค้าต่อเนื่อง ขณะที่เซ็นสัญญารับออเดอร์ใหม่หลายราย เตรียมยกระดับโรงสกัดสารกัญชง เพื่อรองรับคำสั่งซื้อจากกลุ่มลูกค้าเวชภัณฑ์และการแพทย์เพิ่มขึ้น ปลื้มผลงานไตรมาส 1/2565 กำไรพุ่งกว่า 117% กว่า 165 ล้านบาท และมีรายได้ 984.23 ล้าน บาท ยอดขายในต่างประเทศเพิ่ม หลังโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย (ที่มา ทันหุ้น)
(+) JMT (Bloomberg Consensus 83.50 บาท) มองการเติบโตในช่วง 4 เดือนแรกปี 2565 ดีต่อเนื่อง หนุนผลงานครึ่งแรกปี 2565 ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน ตามยอดจัดเก็บหนี้ที่เพิ่มขึ้น จับตาครึ่งปีหลัง 2565 โดดเด่นกว่าหลังเข้าไฮซีซันสถาบันปล่อย NPL เต็มที่ มีโอกาสใช้เงินเกินงบหมื่นล้านบาท แย้มมีความสนใจหา Synergy ใหม่ (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 11 พ.ค. ประชุมคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน ภาคเอกชน (กกร.)
- สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
- 17 พ.ค. วันสุดท้ายส่งงบการเงิน 1Q65
- 18 พ.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 3/2565
- สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการส่งออก-นําเข้า
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 11 พ.ค. จีน รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเม.ย.
สหรัฐ รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนเม.ย. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศ ด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
- 12 พ.ค. สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน เม.ย.
- 13 พ.ค. สหรัฐ รายงาน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนพ.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน 16 พ.ค. จีน รายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย.