มีลุ้นฟื้นตัวจากเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่น่าจะกำลังผ่านจุดสูงสุด

ภาพรวมการลงทุนต่างประเทศผันผวน หุ้นยุโรปฟื้นตัวหลั่งปรับลดลงหนักในช่วงก่อนหน้า ขณะที่หุ้นสหรัฐฯ ผันผวนจากการแสดงความเห็นของกรรมการเฟดหลายท่านที่สนับสนุนการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ต่อเนื่อง 2 ครั้ง ทั้งนี้ภาพรวมหุ้นสหรัฐฯ กลุ่มเทคโนโลยีและเซมิคอนดัคเตอร์ฟื้นตัวได้ดีกว่าหุ้นกลุ่มการเงิน, บริโภค และค้าปลีก ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี ทรงตัวในระดับใกล้เคียง 3% ลดลงจากสูงสุดช่วง 2 วันที่ผ่านมาที่ 3.20% ทั้งนี้หากการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ เม.ย. คืนนี้ออกมาตามคาดที่ 8.1% (จากมี.ค.ที่ 8.5%) แม้จะไม่ได้ทำให้ธนาคารกลาง สหรัฐฯ หยุดขึ้นดอกเบี้ย แต่จะเป็นการจำกัดเพดานของ “คาดการณ์เงินเฟ้อ” ซึ่งมีผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ชะลอการขึ้น หรืออาจปรับลดลงได้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะเป็นบวกต่อการฟื้นตัวของตลาดหุ้น หรือช่วยชะลอความเร็วในการการปรับฐานของตลาดหุ้นทั่วโลกได้

เลือกหุ้นได้ประโยชน์จากราคาพลังงานลงและบาทอ่อน ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงต่อ อาจจุดกระแสเก็งกำไรหุ้นที่ได้ประโยชน์จากพลังงานลง อาทิ SCGP, SCC, BJC, EPG เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบที่ทรงตัวในระดับสูง 90-100 เหรียญฯ ทำให้การนำเข้าพลังงานต่อการนำเข้ารวมของไทยอยู่ที่ราว 20% ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดขาดดุลการค้าและขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งจะยังเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินบาทในทิศทางอ่อนค่า โดยเฉพาะหากดุลบริการยังไม่สามารถกลับมาเพิ่มขึ้น ได้รวดเร็วจากการเปิดประเทศที่ยังต้องใช้เวลา ทั้งนี้การอ่อนค่าของเงินบาทจะบวกต่อหุ้นส่งออก พวกห้องเย็น อาหาร และอิเล็กทรอนิกส์ (ควรซื้อหลังงบออก)

ประเด็นเก็งกำไรอื่น

1) กลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ OSP, CBG, ICHI, SAPPE

2) กลุ่มท่องเที่ยว CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR

3) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO

4) กลุ่มมีลุ้นเข้า SET50 ได้แก่ JMT, JMART

5) กอง REIT ได้แก่ FIREIT, WHART

6) ขณะที่หุ้นกลาง-เล็กที่สามารถเลือกเก็งกำไร (แบบกำหนดจุดตัดขาดทุน) ในช่วงนี้ ได้แก่ THREL, BLA, MAJOR, TH, SCN, SCI, CMR, TKN, SPA เป็นต้น

7) หุ้นกลุ่มเก็งราคาน้ำมันลง SCGP, BJC, EPG, SCC

ภาพรวมกลยุทธ์: มีโอกาสฟื้นตัวจาก 1,595-1,600 จุด แต่การยืนยันการกลับมาสู่แนวโน้มเชิงบวก คือการผ่าน 1,635-1,644 จุดขึ้นมา ยังคงกลยุทธ์ แค่เก็งกำไรระหว่างรอจุดซื้อที่ดี โดยเน้นในหุ้นใหญ่พื้นฐานดีที่ valuation ไม่แพง หรือกระแสเงินสด ชสูงที่สามารถจำกัด downside risk ได้เป็นหลัก และใช้จังหวะปรับลดลงแรงในการทยอยซื้อหรือสะสมรายตัว

หุ้นแนะนำ: SCGP, BJC, OR, ASIAN

แนวรับ: 1,600-1,605 / แนวต้าน : 1,630–1,644 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%

ประเด็นการลงทุน

  • คาดสหรัฐเผยเงินเฟ้อชะลอตัว 8.1% – นักลงทุนจับตาตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในวันพรุ่งนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าตัวเลขเงินเฟ้อดังกล่าวจะชะลอตัวลง หลังพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 40 ปีก่อนหน้านี้
  • บอนด์ยีลด์สหรัฐร่วงหลุด 3% – อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวลงต่ำกว่าระดับ 3% ก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อในวันพรุ่งนี้
  • “มาเลเซีย” จ่อลดภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มครึ่งหนึ่ง – ช่วยบรรเทาภาวะขาดแคลนน้ำมันพืชทั่วโลก และขยายส่วนแบ่งตลาดให้กับมาเลเซีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตอันดับสองของโลก ขณะที่มาเลเซียสามารถลดภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มสู่ 4% – 6% จากปัจจุบันอยู่ที่ 8% มีแนวโน้มจะเป็นมาตรการชั่วคราว โดยจะตัดสินใจประมาณเดือนมิ.ย.
  • ปธน.อินโดฯ เล็งคุย “อีลอน มัสก์” หวังดันอุตฯ นิกเกิลหนุนผลิตรถไฟฟ้า – โจโก วิโดโด ผู้นำอินโดนีเซียวางแผนที่จะพบปะกับนายอีลอน มัสก์ ซีอีโอของบริษัทเทสลา ในการเดินทางเยือนสหรัฐ โดยอินโดนีเซียกําลังเร่งผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมนิกเกิล เพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทยต่ำสุดในรอบ 8 เดือน – ม.หอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.อยู่ที่ 40.7 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และต่ำสุดในรอบ 8 เดือนจากความกังวลราคาน้ำมัน ค่าครองชีพที่สูง โอมิครอน
  • นายกฯ สั่งช่วยเหลือน้ำมันดีเซล – ต่อมาตรการลดภาษีสรรพสามิตดีเซล 3 บาทต่อลิตร พร้อมลดค่าเอฟที 4 เดือน จับตาหารือครม. 17 พ.ค.
  • คาดหุ้นเข้า/ออก SET50 – คาดเข้า JMT, JMART / คาดออก RATCH, IRPC
  • คาดเข้า/ออก MSCI – คาดเข้า JMT, COM7 / คาดออก BGRIM, STGT

ประเด็นติดตาม: 11 พ.ค. – US CPI, ประมูลพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี / 12 พ.ค. – MSCI Rebalancing, US PPI, US Initial Jobless Claims / 16 พ.ค. – TH GDP Q1 / 17 พ.ค. – EU GDP Q1, US Retail Sales, US Industrial Production / 18 พ.ค. – EU CPI, US Building Permits

ประเด็นลงทุนสำหรับหุ้นแนะนำ

  • เก็งกำไร SCGP* (69) : ราคาปรับลดลงจนเริ่มน่าสนใจ เก็งกำไรราคาพลังงานลด ช่วยผลประกอบการฟื้นตัว ตัดขาดทุน 52 บาท
  • เก็งกำไร BJC* (71) : เก็งกำไรผลการดำเนินงานฟื้นตัวจากการเปิดประเทศ และราคาพลังงานลด ตัดขาดทุน 34.75 บาท
  • เก็งกำไร OR* (31) : คาดผลประกอบการทยอยฟื้นตัวในช่วงสองถึงสามไตรมาสถัดไป ตัดขาดทุน 23.75 บาท
  • เก็งกำไร ASIAN* (19) : ได้ประโยชน์จากแนวโน้มเงินบาทที่อ่อนค่า ตัดขาดทุน 15.90 บาท

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ

Market News & Factors

  • ตลาดหุ้นสหรัฐ: ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร (10 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq ดีดตัวขึ้นเกือบ 1% ขานรับแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดหุ้นยุโรป: ตลาดหุ้นยุโรปปิดดีดตัวขึ้นในวันอังคาร (10 พ.ค.) จากระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน เนื่องจากนักลงทุนกลับเข้าช้อนซื้อหุ้นราคาถูกซึ่งร่วงลงจากแรงเทขายก่อนหน้านี้ท่ามกลางความวิตกว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงอย่างรุนแรง (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดหุ้นญี่ปุ่น: ดัชนีนิกเอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดปรับตัวลงตามทิศทางดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นสหรัฐที่ปิดดิ่งลงเมื่อวานนี้ ตลอดจนนักลงทุนวิตกว่า เศรษฐกิจโลกจะได้รับผลกระทบจากการที่จีนดำเนินมาตรการสกัดโควิด-19 อย่างเข้มงวด (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดน้ำมัน: สัญญานํามันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงหลุดจากระดับ 100 ดอลลาร์ในวันอังคาร (10 พ.ค.) โดยตลาดยังคงถูกกดดันจากความกังวลว่าการที่จีนล็อกดาวน์เมืองสำคัญเป็นเวลานานจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และความต้องการใช้น้ำมัน นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ (อินโฟเควสท์)
  • คาดสหรัฐเผยเงินเฟ้อ ชะลอตัวสู่ 8.1%: นักลงทุนจับตาตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในวันพรุ่งนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าตัวเลขเงินเฟ้อดังกล่าวจะชะลอตัวลง หลังพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 40 ปีก่อนหน้านี้ (อินโฟเควสท์)
  • บอนด์ยีลด์สหรัฐร่วงหลุด 3%: อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวลงต่ำกว่าระดับ 3% ก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อในวันพรุ่งนี้ (อินโฟเควสท์)
  • “มาเลเซีย” จ่อลดภาษีส่งออก น้ำมันปาล์มครึ่งหนึ่ง: ช่วยบรรเทาภาวะขาดแคลนน้ำมันพืชทั่วโลก และขยายส่วนแบ่งตลาดให้กับมาเลเซีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตอันดับสองของโลก ขณะที่มาเลเซียสามารถลดภาษีส่งออกน้ำมันปาล์ม 4% – 6% จากปัจจุบันอยู่ที่ 8% มีแนวโน้มจะเป็นมาตรการชั่วคราว โดยจะตัดสินใจประมาณเดือนมิ.ย. (กรุงเทพธุรกิจ)
  • ปธน.อินโดฯเล็งคุย “อีลอน มัสก์” หวังดันอุตฯ นิกเกิล หนุนผลิตรถไฟฟ้า: โจโก วิโดโด ผู้นําอินโดนีเซียวางแผนที่จะพบปะกับนายอีลอน มัสก์ ซีอีโอของบริษัทเทสลาในการเดินทางเยือนสหรัฐ โดยอินโดนีเซียกำลังเร่งผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมนิกเกิล เพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ (อินโฟเควสท์)
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทยต่ำสุดในรอบ 8 เดือน: ม.หอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.อยู่ที่ 40.7 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และต่ำสุดในรอบ 8 เดือนจากความกังวลราคาน้ำมัน ค่าครองชีพที่สูง โอมิครอน (อินโฟเควสท์)
  • นายกฯสั่งช่วยเหลือน้ำมันดีเซล: ต่อมาตรการลดภาษีสรรพสามิตดีเซล 3 บาทต่อลิตร พร้อมลดค่าเอฟที 4 เดือน จับตาหารือครม. 17 พ.ค. (กรุงเทพธุรกิจ)
  • ปลากระป๋อง’ ขอขึ้น 2 บาท: เนื่องจากต้นทุนเหล็กและขนส่งพุ่งไม่หยุด (ประชาชาติ)
  • คาดหุ้นเข้า/ออก SET50: คาดเข้า JMT, JMART / คาดออก RATCH, IRPC (UOB KayHian)

Report & Corporate News

  • ADVANC Maintained BUY TP: 244.00 บาท: กำไรหลักใน 1Q22 ของ ADVANC ลดลงเล็กน้อย qoq สาเหตุหลักมาจากรายได้ค่าบริการที่ลดลง อันเป็นผลจากการระบาดของ Omicron แต่จะได้รับการชดเชยจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และค่าใช้จ่าย SG&A ที่ลดลง qoq เราคาดกำไรมี upside เป็นบวกจากโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งประกอบด้วย AISCB (ธุรกิจสินเชื่อดิจิทัล) ผลประโยชน์จากการผนึกกำลังที่อาจเกิดขึ้นจาก GULF สำหรับธุรกิจจัดการพลังงานอัจฉริยะ และการลงทุนใหม่ในธุรกิจศูนย์ข้อมูลระดับภูมิภาค (Data Centre) คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย: 244.00 บาท
  • AP Maintained BUY TP: 13.00 บาท: AP ประกาศกำไรสุทธิใน 1Q22 ที่ 1,730 ล้านบาท (+23% yoy, +74% qoq) คิดเป็น 34% ของประมาณการของเราในปี 2565 ซึ่งผลประกอบการเป็นไปตามที่เราคาดการณ์ไว้ โดยโมเมนตัมยอด Presales ของ AP ณ 4M22 ยังคงแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และคาดว่ายอด Presales ของกลุ่มแนวราบ (low-rise) จะเติบโตต่อเนื่องใน 2Q22 คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย: 13.00 บาท
  • BJC Maintained BUY TP: 44.25 บาท: BJC ประกาศกำไรสุทธิใน 1Q22 ที่ 1.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 24% yoy ซึ่งสูงกว่าประมาณการของเรา 12% แต่สอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ เมื่อมองไปข้างหน้า เราคาดว่ากำไรของ BJC จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหนุนจาก SSSG ที่เป็นบวก และการขยายสาขาเพิ่มเติม เราคาดว่า BJC จะรายงานการเติบโตของกำไรที่สูงขึ้นใน 2H22 โดยได้แรงหนุนจากการผ่อนคลายข้อจำกัดการเดินทาง คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย: 44.25 บาท
  • SPALI Maintained BUY TP: 26.50 บาท: SPALI ประกาศกำไรสุทธิใน 1Q22 ที่ 1,178 ล้านบาท (+59% yoy, -59% qoq) ซึ่งผลประกอบการต่ำกว่าที่เราและตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 6-7% เราคาดว่ายอด Presales จากกลุ่มแนวราบ (low-rise) ที่แข็งแกร่งจะดำเนินต่อไป และกำไรจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 2Q22 เป็นต้นไป นอกจากนี้ การประเมินมูลค่านั้นไม่แพงเนื่องจากหุ้นซื้อขายที่ประมาณ 6x 2022F PE หรือ -1SD ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง โดยมีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลน่าสนใจที่ 6.5% คงคําแนะนํา ซื้อ ราคาเป้าหมาย: 26.50 บาท
- Advertisement -