บล.พาย: 

MINT: อยู่บนเส้นทางแห่งการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 38.0 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) (WACC 8%, TG 2%) อิง 42.0xPE’22 และ 32xPE’23 คำแนะนำนี้สะท้อนภาพเชิงบวกของกำไรในปี 2022-23 หนุนจากภาคการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวขึ้นหลังคลายล็อกดาวน์

  • ขาดทุนสุทธิ 1Q22 ที่ 3.8 พันล้านบาทเทียบกับขาดทุนสุทธิ 7.2 พันล้านบาทใน 1Q21 และขาดทุนสุทธิ 1.6 พันล้านบาทใน 4Q21 โดยรวมสอดคล้องกับคาดการณ์
  • หากไม่รวมรายการพิเศษจะขาดทุนจากการดำเนินงานน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ YoY เป็น 3.7 พันล้านบาท ได้แรงหนุนจากรายได้ที่โตขึ้น 71% YoY ด้วยแรงกระตุ้นจาก 1) อัตราการเข้าพักเฉลี่ยจากพอร์ตโรงแรมทั้งหมดที่เพิ่มเป็น 43% (21% ใน 1Q21) และ 2) ยอดขายธุรกิจอาหารในไทยที่โตขึ้น 20% YoY จากการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ที่ 12.4% และการขยายสาขาที่ช่วยบรรเทาการชะลอตัวของกิจการในจีนและออสเตรเลียได้
  • ภาพรวมเชิงบวกตั้งแต่ 2Q22 เป็นต้นไป คาดกิจการจะพลิกมาเป็นกำไรได้ตั้งแต่ 3Q22 เป็นต้นไป จากการผ่อนปรนมาตรการโควิด-19 และการเปิดพรมแดนเพื่อการเดินทางระหว่างประเทศมากขึ้นในช่วง high season

สรุปผลประกอบการ

  • ขาดทุนสุทธิ 1Q22 ที่ 3.8 พันล้านบาทเทียบกับขาดทุนสุทธิ 7.2 พันล้านบาทใน 1Q21 และขาดทุนสุทธิ 1.6 พันล้านบาทใน 4Q21 โดยรวมสอดคล้องกับคาดการณ์
  • หากไม่รวมรายการพิเศษจะขาดทุนจากการดำเนินงานน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ YoY เป็น 3.7 พันล้านบาทใน 1Q22 ได้แรงหนุนจากรายได้ที่โตขึ้น 71% YoY
  • รายได้ได้รับแรงกระตุ้นจาก 1) ธุรกิจโรงแรมที่โตขึ้น YoY ในแง่ของอัตราการเข้าพักเฉลี่ยจากพอร์ตโรงแรมทั้งหมดที่เพิ่มเป็น 43% (21% ใน 1Q21) เป็นผลจากการฟื้นตัวของทุกรูปแบบธุรกิจและทุกภูมิภาค หลังจากมีการกลับมาเปิดพรมแดนการเดินทางระหว่างประเทศมากขึ้น และ 2) ยอดขายธุรกิจอาหารในไทยที่โตขึ้น 20% YoY จาก SSSG ที่ 12.4% และการขยายสาขาที่ช่วยบรรเทาการชะลอตัวของกิจการในจีนและออสเตรเลียได้
  • อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) โตขึ้นแข็งแกร่งจาก 16.5% ใน 1Q21 เป็น 34.3% ใน 1Q22 เพราะกิจการ Minor Hotels ที่ปรับดีขึ้น
  • บริษัทขยายร้านอาหารเพิ่ม 21 แห่ง ขณะที่เพิ่มโรงแรม 4 แห่ง ในโอมาน ไทย จีน และอาร์เจนตินา และปิดอีก 4 แห่งในยุโรป

Revenue breakdown

รายได้ของบริษัทมาจาก 3 ธุรกิจหลัก ดังนี้

(1) ธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโรงแรม คิดเป็นสัดส่วน 66% ของรายได้ทั้งหมด ปัจจุบันธุรกิจนี้ประกอบด้วยโรงแรม 535 แห่ง จำนวนห้องทั้งหมด 75,621 ห้อง ภายใต้แบรนด์ Anantara AVANI, TIVOLI, NH Hotel, NH Collection, nhow และ OAKS

(2) ธุรกิจอาหาร คิดเป็นสัดส่วน 30% ของรายได้ทั้งหมด ปัจจุบันธุรกิจนี้ประกอบด้วยร้านอาหาร จำนวน 2,389 สาขา ใน 26 ประเทศทั่วโลก ภายใต้ 10 แบรนด์หลัก ดังนี้ The Pizza Company, Swensens, Sizzler, Dairy Queen, Burger King, The Coffee Club, Thai Express, Jiang Bian Cheng Wai, Benihana และ Bon Chon

(3) ธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้า คิดเป็นสัดส่วน 4% ของรายได้ทั้งหมด ปัจจุบันธุรกิจนี้ประกอบด้วยร้านจัดจำหน่ายสินค้า 386 ร้านในไทย ภายใต้แบรนด์ Anello, Esprit, Bossini, Charles & Keith, Etam, OVS และ Redley

- Advertisement -