นโยบายปกป้องอาหารเป็นบวกต่อหุ้นกลุ่มอาหารของไทย
- เข้าสู่ช่วงที่ตัวเลขเศรษฐกิจชะลอก่อนดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ตลาดหุ้นยุโรปและสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงหลังการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่ชะลอลง ไม่ว่าจะเป็น 1) PMI Composite ยุโรป พ.ค.ที่ 54.9 (จาก เม.ย.ที่ 55.8 และต่ำสุดในรอบ 2 เดือน) 2) PMl Manufacturing สหรัฐฯ พ.ค.ที่ 57.5 (จาก เม.ย.ที่ 59.2 และต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ) 3) PMI Services สหรัฐฯ พ.ค.ที่ 53.5 (จาก เม.ย.ที่ 55.6 และต่ำสุดในรอบ 4 เดือน ) 4) ยอดขายบ้านใหม่ สหรัฐฯ เม.ย. ที่ 591,000 หน่วย (ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 750,000 หน่วย และต่ำสุดในรอบ 2 ปี) ทั้งนี้ตัวเลขเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยเฉพาะยอดขายบ้านใหม่ ไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจ เมื่อมองว่าอัตราการกู้ยืมผ่อนบ้าน (30 year fixed mortgage rate) ของสหรัฐฯ ขยับขึ้นจากจุดต่ำสุดปลายปี 2563 ที่ 2.65% เป็นราว 5% ในปัจจุบัน
- เงินอาจไหลเข้าพันธบัตรในช่วงที่นักลงทุนกังวลแนวโน้มการเติบโต ในสภาวะปกติการลดลงของผลตอบแทนพันธบัตรจะเป็นสัญญาณบวกต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ปัจุบันที่นักลงทุนกังวลกับมุมมองการเติบโตของเศรษฐกิจและความเสี่ยงจากการปรับลดประมาณการกําไร บจ. ทำให้อาจตัดสินใจพักเงินไว้ในสินทรัพย์ปลอดภัยระหว่างรอสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อยืนยันว่าจะไม่เกิดความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย // เรามองทิศทางเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นอาจชะลอจากปัจจัยข้างต้น อย่างไรก็ตาม โมเมนตัมการเติบโตของอาเซียนที่ดีกว่ายุโรปและสหรัฐฯ ทำให้ความเสี่ยงของตลาดหุ้นอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า // ทั้งนี้เราคงมุมมองตลาดหุ้นไทยปีนี้เคลื่อนไหวออกข้างในกรอบ 1,540-1,730 จุด โดยมีกรอบการเก็งกำไรระยะสั้นที่ 1,620-1,643 จุด
- นโยบายปกป้องอาหารโดยรวมน่าจะเป็นผลบวกต่อหุ้นกลุ่มอาหารของไทย ผลของราคาพลังงาน และต้นทุนการผลิต รวมถึงราคาปุ๋ยและสินค้าเกษตรที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้อาหารและสินค้าเกษตรในหลายประเทศปรับสูงขึ้นจนเริ่มเห็นการประกาศระงับการส่งออกของหลายประเทศในช่วงที่ผ่านมา เรามองแนวโน้มของนโยบายปกป้องอาหาร (Food protection) ที่กำลังเกิดขึ้นจะหนุนให้เกิดการสํารองอาหาร ทำให้ราคาอาหารทรงตัวในระดับสูงถึงปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกกับกลุ่มผู้ผลิตอาหารและสินค้าเกษตรในไทย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตเนื้อสัตว์ ที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นในปีก่อนจะเริ่มขึ้นราคาได้ และทำให้อัตรากำไรทยอยปรับดีขึ้น / กลุ่มน้ำตาล ผลผลิตจากการหีบอ้อยที่ดีขึ้น (85-90 ล้านตัน ในปี 64 65 vs 66 ล้านตัน ในปี 63/64) และการระงับการส่งออกของอินเดียที่เป็นผู้ผลิตหมายเลข 2 ของโลก (10.9% ของการส่งอกน้ำตาลทั้งโลก) จะส่งผลดีต่อราคาน้ำตาลโลกและไทย ที่เป็นผู้ผลิตหมายเลข 3 ของโลก (7.7%)
ประเด็นเก็งกำไรอื่น
1) กลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ OSP, CBG, ICHI, SAPPE
2) กลุ่มท่องเที่ยว CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR
3) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO
4) กลุ่มมีลุ้นเข้า SET50 ได้แก่ JMT, JMART
5) กอง REIT ได้แก่ FIREIT, WHART
6) ขณะที่หุ้นกลาง-เล็กที่สามารถเลือกเก็งกำไร (แบบ กำหนดจุดตัดขาดทุน) ในช่วงนี้ ได้แก่ THREL, BLA, MAJOR, TH, SCN, SCI, CMR, TKN, SPA เป็นต้น
7) หุ้นกลุ่มเก็งราคาน้ำมันลง SCGP, BJC, EPG, SCC
8) หุ้นเด่นกลุ่มพลังงาน OR
9) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, GFPT, TFG, TU, KSL, KTIS, KBS
ภาพรวมกลยุทธ์: แกว่งตัว 1,620-1,643 จุด หากผ่านจะยกกรอบการเล่นขึ้น และมีโอกาสทดสอบ 1,670-1,680 จุด ภาพรวมยังเน้นในหุ้นใหญ่พื้นฐานดีที่ valuation ไม่แพง หรือกระแสเงินสดสูง ที่สามารถจำกัด downside risk ได้เป็นหลัก และใช้จังหวะปรับลดลงแรงในการทยอยซื้อหรือสะสมรายตัว
หุ้นแนะนำ: CPF, KSL, TTCL, OR
แนวรับ: 1,620 / แนวต้าน : 1,643 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
ประเด็นการลงทุน
- มาเลเซียระงับส่งออกเนื้อไก่บางส่วน – ระงับการส่งออกไก่จำนวน 3.6 ล้านตัวต่อเดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.นี้
- อินเดียเล็งจํากัดส่งออกน้ำตาลครั้งแรกรอบ 6 ปี – เตรียมจำกัดการส่งออกน้ำตาลเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปีเพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของราคาภายในประเทศ
- แจกอีก 1.5 ล.สิทธิ เที่ยวด้วยกันเฟส4 – ครม.ไฟเขียวเที่ยวด้วยกันเฟส 4 แจกอีก 1.5 ล้านสิทธิ เปิดลงทะเบียน มิ.ย. เดินเครื่องบัตรคนจนดีเดย์ ส.ค.
- กลางมิ.ย. ถอดแมสก์ได้เหลือใส่ 3 กรณี ป่วยหนัก ที่ปิด คนเยอะ – ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเผยว่า มีการปรับคำแนะนำเรื่องการสวมหน้ากากอนามัย โควิดเดินหน้าสู่โรคประจําถิ่น กลาง มิ.ย.
- “คลัง” ส่อเลื่อนเก็บภาษีขายหุ้น – หลังเฟทโกยื่นหนังสือค้าน “อาคม” เผยต้องรอให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพก่อน จากปัจจุบันฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป
- นายกฯ โยน ชัชชาติชี้ขาดต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว – ด้านผู้ว่าคนใหม่ ยืนยันต้องเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุน “บีทีเอส” เล็งหารือหนี้เดินรถ ติดตั้งระบบ
- รฟม. เปิดรับข้อเสนอประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ก.ค.นี้ – คาดเซ็นร่วมทุนปลายปี
- คาดเข้า/ออก SET50 – คาดเข้า JMT, JMART, BLA /คาดออก RATCH, STGT, KCE
- คาดเข้า/ออก SET100 – คาดเข้า SABUY, TIPH, JAS /คาดออก RS, TTA, MAJOR
ประเด็นติดตาม: 25 พ.ค. – US Core Durable Goods Orders, FOMC Meeting Minutes / 26 พ.ค. – US GDP Q1, US Initial Jobless Claims, US Pending Home Sales / 30 พ.ค. – China Manufacturing PMI
ประเด็นลงทุนสำหรับหุ้นแนะนำ
- เก็งกำไร CPF* (29) : แนวโน้มราคาเนื้อสัตว์ที่ปรับขึ้นได้จาก food inflation เป็นผลบวกต่อแนวโน้มผลการดำเนินงาน ตัดขาดทุน 24.00 บาท
- เก็งกำไร KSL* (4.40) : ผลผลิตน้ำตาลมากขึ้น จากปริมาณการหีบอ้อยทั้งประเทศที่สูงขึ้น และการจำกัดการส่งออกของอินเดีย ตัดขาดทุน 3.74 บาท
- เก็งกำไร TTCL* (5.50) : ผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และเข้าสู่ช่วง tumaround ตัดขาดทุน 4.74 บาท
- เก็งกำไร OR* (31) : คาดผลประกอบการทยอยฟื้นตัวในช่วงสองถึงสามไตรมาสถัดไป ตัดขาดทุน 23.75 บาท
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)
Market News & Factors
- ตลาดหุ้นสหรัฐ – ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเพียงเล็กน้อยในวันอังคาร (24 พ.ค.) ขณะที่ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ปิดร่วงลงหลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และบริษัทจดทะเบียนบางแห่งได้ปรับลดแนวโน้มผลประกอบการ นอกจากนี้ นักลงทุนยังกังวลว่าการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อนั้น อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย (อินโฟเควสท์)
- ตลาดหุ้นยุโรป – ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงในวันอังคาร (24 พ.ค.) โดยปรับตัวลงตามตลาดหุ้นทั่วโลก เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลง และการคุมเข้มนโยบายการเงิน (อินโฟเควสท์)
- ตลาดหุ้นญี่ปุ่น – ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดปรับตัวลง โดยถูกกดดันจากการร่วงลงของดัชนีดาวโจนส์ร่วงลงในช่วงบ่าย และจากการที่นักลงทุนเทขายหุ้นเพื่อทำกำไร หลังจากดัชนีนิกเกอิปิดพุ่งขึ้น 2 วันทำการติดต่อกัน (อินโฟเควสท์)
- ตลาดนํ้ามัน – สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร (24 พ.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมทั้งการที่สหรัฐส่งสัญญาณว่าอาจจะจำกัดส่งออกน้ำมันเพื่อควบคุมราคาพลังงานในประเทศ (อินโฟเควสท์)
- สหรัฐเผยยอดขาย บ้านใหม่ต่ำกว่าคาด – ยอดขายบ้านใหม่ดิ่งลง 16.6% สู่ระดับ 591,000 ยูนิตในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี และต่ำกว่าที่คาดการณ์ที่ระดับ 750,000 ยูนิต จากระดับ 709,000 ยูนิตในเดือนมี.ค. (อินโฟเควสท์)
- ดัชนี PMI รวมภาคผลิต-บริการสหรัฐต่ำสุด รอบ 4 เดือน – ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 53.8 ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน จากระดับ 56.0 ในเดือนเม.ย. (อินโฟเควสท์)
- มาเลเซียระงับส่งออก เนื้อไก่บางส่วน – ระงับการส่งออกไก่จำนวน 3.6 ล้านตัวต่อเดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.นี้ (อินโฟเควสท์)
- อินเดียเล็งจำกัดส่งออกน้ำตาล ครั้งแรกรอบ 6 ปี – เตรียมจำกัดการส่งออกน้ำตาลเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของราคาภายในประเทศ (อินโฟเควสท์)
- แจกอีก 1.5 ล. สิทธิ เที่ยวด้วยกันเฟส 4 – ครม.ไฟเขียวเที่ยวด้วยกันเฟส 4 แจกอีก 1.5 ล้านสิทธิ เปิดลงทะเบียน มิ.ย. เดินเครื่องบัตรคนจนดีเดย์ ส.ค. (มติชน)
- กลาง มิ.ย. ถอดแมสก์ได้ – ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเผยว่า มีการปรับคำแนะนำเรื่องการสวมหน้ากากอนามัยเหลือใส่ 3 กรณี ป่วยหนัก ที่ปิด คนเยอะ โควิดเดินหน้าสู่โรคประจำถิ่น กลาง มิ.ย. (ข่าวสด)
- “คลัง” ส่อเลื่อนเก็บภาษีขายหุ้น – หลังเฟทโก้ยื่นหนังสือค้าน “อาคม” เผยต้องรอให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพก่อน จากปัจจุบันฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป (กรุงเทพธุรกิจ)
- นายกฯโยนชัชชาติ ชี้ขาด ต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว – ด้านผู้ว่าคนใหม่ยืนยันต้องเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุน “บีทีเอส” เล็งหารือหนี้เดินรถ ติดตั้งระบบ (กรุงเทพธุรกิจ)
- ฟม.เปิดรับข้อเสนอประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ก.ค.นี้ – คาดเซ็นร่วมทุนปลายปี (อินโฟเควสท์)
- คาดเข้า/ออก SET50 – คาดเช้า JMT, JMART, BLA // คาดออก RATCH, STGT, KCE (UOB KayHian)
- คาดเข้า/ออก SET100 – คาดเข้า SABUY, TIPH, JAS // คาดออก RS, TTA, MAJOR (UOB KayHian)
Report & Corporate News
- WHA Maintained BUY TP: 4.10 บาท – จากผลประกอบการที่แข็งแกร่งของ WHA ใน 1Q22 ทำให้เราคาดว่ากำไรจะยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่องใน 2Q22 และ 2H22 นอกจากนี้เรายังคาดว่ารายได้จากการขายที่ดิน และค่าเช่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่รายได้จากธุรกิจสาธารณูปโภคจะฟื้นตัวใน 2Q22 เนื่องจากปัญหาด้านลบทั้งหมดจะคลี่คลายลง คงคําแนะนํา ซื้อ ราคาเป้าหมาย: 4.10 บาท
- BANPU – บริษัทมองแนวโน้มราคาถ่านหินในไตรมาส 2/65 ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง หรือเฉลี่ยอยู่ที่กว่า 400 เหรียญสหรัฐ/ตัน จากไตรมาส 1/65 อยู่ที่ระดับ 397.82 เหรียญสหรัฐ/ตัน เนื่องจากปัญหาความไม่สงบระหว่าง รัสเซียและยูเครน นโยบายห้ามการส่งออกถ่านหินของรัฐบาลอินโดนีเซีย ส่งผลให้ซัพพลายในตลาดมีจํากัด สวนทางกับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น (อินโฟเควสท์)
- BPP – บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาขยายการลงทุนโรงไฟฟ้า Combined Cycle Gas Turbine เพิ่มเติมในรัฐเท็กซัสของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อสร้าง Economies of Scale รวมทั้งการลงทุนเกี่ยวกับ Energy Technology เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Renewable) หรือ แบตเตอรี่ เพื่อเสริม Portfolio และ Ecosystem ของกลุ่ม บมจ.บ้านปู (BANPU) ในรัฐเท็กซัส (อินโฟเควสท์)
- BRR – “บมจ.น้ำตาลบุรีรัมย์ หรือ BRR” ประกาศผลงานงวดไตรมาส 1 ปี 65 บุ๊คกำไร 425.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 128.73% รายได้จากการขายและบริการอยู่ที่2,212.21 ล้านบาท เติบโต 126.88% เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน รับผลบวกจากราคาน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้น และรับอานิสงส์เงินบาทอ่อนค่า ทำให้กลุ่มธุรกิจกลับมามีกำไร ประเมินปี 65 กำไรฟื้นตัวต่ออย่างมีนัยสำคัญ เหตุมีคำสั่งซื้อบรรจุภัณฑ์ชานอ้อยในมือรอรับรู้รายได้ มั่นใจกลุ่มธุรกิจโตในทุกมิติ เชื่อรายได้พุ่ง 50% เมื่อเทียบกับปีก่อนได้ตามแผน (อินโฟเควสท์)