บล.พาย: 

TM: ปี22 จะเป็นปีเริ่มต้นแห่งการฟื้นตัว

เริ่มต้นบทวิเคราะห์ด้วยคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 3.46 บาท อิง 23xPE’22E เทียบเท่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง ด้วยมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการที่คาดจะโตเฉลี่ยกว่าปีละ 30% ใน 3 ปีข้างหน้า (2022-24E) และ โอกาสให้ผลตอบแทนเงินปันผลเฉลี่ยปีละ 4%

ประเด็นสำคัญ:

  • ธุรกิจจำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์จะฟื้นตัวหลังโควิดชะลอลง
  • ขยายช่องทางจำหน่ายผ่านออนไลน์จะช่วยหนุนรายได้
  • การเพิ่มกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่เกี่ยวกับสุขภาพจะช่วยขยายฐานลูกค้า
  • ธุรกิจโครงการใหม่สำหรับผู้สูงวัยจะเป็น upside ในระยะถัดไป

ปัจจัยเสี่ยง:

  • ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

TM: เป้าหมายใหม่จะช่วยผลักดันการเติบโตในระยะยาว

ธุรกิจจำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์จะฟื้นตัวหลังโควิดชะลอลง

เราคาดว่าธุรกิจจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ประเภทกลุ่มอุปกรณ์และวัสดุสิ้นเปลือง ยังคงเป็นปัจจัยหลักผลักดันการเติบโตทั้งด้านรายได้และกำไรสุทธิ ให้เติบโตเฉลี่ยปีละ 11% และ 30% ตามลำดับ ในช่วง 3 ปีข้างหน้า (2022-24E) หนุนจากยอดขายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการผ่าตัดที่เพิ่มขึ้นในโรงพยาบาลรัฐ เอกชน และคลินิก ตามจำนวนเคสผ่าตัดที่เพิ่มขึ้น หลังสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศเริ่มคลี่คลายลง ส่งผลให้โรงพยาบาลสามารถกลับมาให้บริการผู้ป่วยผ่าตัด และกรณีทั่วไปได้ตามปกติ

เป้าหมายใหม่จะช่วยผลักดันการเติบโต

บริษัทตั้งเป้าหมายเติบโตของรายได้ในอีก 3 ปีถัดไป (2022-2024) ที่ระดับ 1 พันล้านบาท ภายใต้การขับเคลื่อน 3 กลยุทธ์ ดังนี้

1. การขยายช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ “TM CARE SHOP”

2. การเพิ่มกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่เกี่ยวกับสุขภาพ “TM Herb”

และ 3. ธุรกิจการดูแลผู้สูงอายุและโรงพยาบาลเฉพาะทางสำหรับผู้สูงอายุ “THE PARENTS” แม้จะค่อนข้างท้าทายแต่ก็มีความเป็นไปได้ (เราประมาณการรายได้ 922 ล้านบาทในปี 2024 เพิ่มขึ้นจาก 674 ล้นบาทในปี 2021)

เมื่อพิจารณาจากด้วยฐานรายได้ต่อปีไม่น้อยกว่า 600 ล้านบาทในช่วงห้าปีที่ผ่านมา แม้จะเกิดภาวะโควิดช่วงสองปีที่ผ่านมาส่งผลให้อุปกรณ์และวัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้ในห้องผ่าตัดมีการชะลอตัวลง แต่บริษัทก็มีความสามารถในการปรับตัวสูงโดยสามารถหาอุปกรณ์ประเภทอื่นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจโควิดมาทดแทนจนทำให้รายได้ปีที่ผ่านมาทรงตัวใกล้เคียงช่วงก่อนเกิดโควิด รวมถึงแสดงถึงการมีฐานลูกค้าโรงพยาบาลที่แข็งแกร่งรองรับการขยายตัวของยอดขายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องประเภทต่างๆ

ขยายช่องทางจำหน่ายผ่านออนไลน์จะช่วยหนุนรายได้

เรามีมุมมองเชิงบวกต่อกลยุทธ์ของบริษัทในการขยายช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ “TM CARE SHOP” ทั้งในเว็บไซต์บริษัท Facebook และ Line รวมไปถึงแอพพลิเคชั่น Lazada ที่กำลังดำเนินการอยู่ เนื่องจาก 1. สถานการณ์โควิด-19 ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคให้พึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น โดยในปี 21 ที่ผ่านมาตลาด eCommerce ในไทยได้เติบโตถึง 21% YoY 2. การขยายช่องทางการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ยังส่งผลให้บริษัทสามารถเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงมากขึ้น (B2C) จากเดิมที่เป็นกลุ่มลูกค้า B2B 3. การขายสินค้าผ่าน Online จะช่วยหนุน GPM ของบริษัทได้ในระยะยาว เนื่องจากการขายสินค้าผ่านช่องทาง ซึ่งเป็นการขายปลีกผ่านลูกค้ารายย่อยเป็นหลัก มีอัตรากำไรขั้นต้นที่สูงกว่าการขายส่งเดิม โดยเราคาดว่ากลยุทธ์เจาะกลุ่มตลาดออนไลน์ จะช่วยเพิ่มยอดขายในปี 22 ได้ราว 15 ล้านบาท และจะเติบโตเป็นสัดส่วนราว 7% ของรายได้รวมใน 3 ปีข้างหน้า

TM: เป้าหมายใหม่จะช่วยผลักดันการเติบโต

การเพิ่มกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่เกี่ยวกับสุขภาพจะช่วยขยายฐานลูกค้า

  • บริษัทได้เพิ่มกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ “TM Herb” ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น เครื่องทำน้ำด่าง ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง อาหารเสริมบำรุงสุขภาพ ผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพรในรูปแบบแคปซูล รวมถึงผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ โดยจะทยอยจำหน่ายทางเชิงพาณิชย์ ภายใต้ร้าน “TM CARE SHOP” ในช่วง 2Q22
  • บริษัทฯ ยังวางแผนจ้างผลิตจำหน่าย (OEM) ภายใต้แบรนด์ TM เช่น สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เช็ดตัวสำหรับผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์อาบน้ำ และผ้าอ้อมผู้สูงอายุ ซึ่งเรามองว่าการเพิ่มกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทจะช่วยเพิ่มรายได้ให้บริษัท และเป็นการขยายฐานลูกค้าในกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพและผู้สูงอายุ ซึ่งจะช่วยหนุนรายได้ของบริษัทใน 3-5 ปีข้างหน้า

ธุรกิจการดูแลผู้สูงอายุ และโรงพยาบาลเฉพาะทางสำหรับผู้สูงอายุจะเป็น upside ในระยะถัดไป

  • บริษัทฯ ได้เล็งเห็นสัดส่วนผู้สูงอายุที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ส่งผลให้บริษัทเข้าสู่ธุรกิจใหม่เพื่อการดูแลผู้สูงอายุและโรงพยาบาลเฉพาะทาง สำหรับผู้สูงอายุภายใต้โครงการ “THE PARENT” ด้วยงบลงทุนราว 500 ล้านบาท (รวมที่ดิน) โดย TM ถือหุ้นสัดส่วน 80% ทั้งในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และโรงพยาบาลเฉพาะทาง และเตรียมที่จะเปิดให้บริการในส่วนของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ภายในช่วงท้าย 4Q22 และคาดว่าจะเปิดดำเนินการโรงพยาบาลเฉพาะทางได้เต็มรูปแบบในปี 23
  • บริษัทฯ มีเป้าหมายผลักดันให้ THE PARENTS เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในการให้บริการดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรทุกมิติ ส่งผลให้ “TM” รับรู้รายได้จาก THE PARENTS เข้ามาเฉลี่ย 100 -150 ล้านต่อปี ราว 20% ของรายได้ปี 21
  • เนื่องจากอยู่ในช่วงเริ่มต้นของโครงการ และเป็นธุรกิจใหม่ที่ยังคงประเมินความสำเร็จได้ยาก เราจึงรอดูความชัดเจนและรายละเอียดเรื่องแผนการลงทุน การตลาด การขยายกิจการ ตลอดจนถึงอัตราผลตอบแทน จึงยังไม่รวมไว้ในประมาณการกำไร แต่เชื่อว่าเป็น Upside ต่อการปรับประมาณการกำไรและมูลค่าพื้นฐานในอนาคต
  • หากโครงการนี้ประสบความสำเร็จ และให้ผลตอบแทนเท่ากับ ROE ของบริษัท (เฉลี่ย 8% ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา) ธุรกิจนี้ควรมีกำไรสุทธิไม่น้อยกว่าปีละ 40 ล้านบาทต่อปี (เงินลงทุนxROE = 500×8%) หลังจากถึงจุดคุ้นทุน (ธุรกิจโรงพยาบาลทั่วไปจะใช้เวลาคุ้มทุนไม่น้อยกว่า 1.8 ปี)

กำไรสุทธิ 1Q22 ทรงตัวท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ที่ 6 ล้านบาท (1,092%YoY, -14.7%QoQ)

กำไรสุทธิ 1Q22 ทรงตัวใกล้เคียง 4Q21 ผลจากค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเทียบสกุลดอลลาร์สหรัฐ กอปรกับต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้น กดดันอัตรากำไรขั้นต้นลงมาที่ 35.7% (-2.2ppt YoY, -0.2ppt QoQ) ขณะที่ยอดขายทรงตัว QoQ ที่ 154 ล้านบาท (+5%YoY) บ่งบอกว่าธุรกิจหลักเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ แม้กำไรสุทธิคิดเป็นสัดส่วนรวม 14% ของประมาณการกำไรทั้งปี แต่เชื่อว่าจะกลับมาเร่งตัวในช่วง 2H22 เนื่องจากเป็นช่วงเบิกจ่าย

อัปเดตภาพรวม

กำไรสุทธิทั้งปี 21 ของ TM อยู่ที่ 30 ล้านบาท (-25.7% YoY) นับว่าต่ำสุดตั้งแต่ 18 แต่ผู้บริหารยังเชื่อว่าทิศทางจะพลิกฟื้นขึ้นในปี 25 จากการรับรู้สาเหตุต้นทุนที่สูงขึ้น โดยจะปรับการขายสินค้าโดยตรงกับลูกค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ และการจ้างผลิตกับบริษัทจากงบประมาณของโรงพยาบาลภาครัฐ ที่คิดเป็นสัดส่วนราว 70% ของฐานรายได้บริษัทประเทศจีน ญี่ปุ่น และประเทศในอาเซียน เพื่อลดต้นทุนภาษีนำเข้า

TM: ผลกระทบจากการแปลงวอแรนท์จะเกิดขึ้นในปี 2024

  • เนื่องจากวอแรนท์ TM-W1 สามารถใช้สิทธิครั้งแรกช่วยปลายปี 2023 ดังนั้นผลกระทบ Dilution Effect ต่อกำไรต่อหุ้นจะเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไป
  • ในกรณีเลวร้ายสุด หากผู้ถือ TM-W1 ใช้สิทธิแปลงเป็นหุ้น TM ทั้งหมด จะเกิด Dilution Effect ต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ราว 25% ในปี 2024 (คำนวณจาก 3 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่) หากในปีดังกล่าวผลประกอบการเติบโตน้อยกว่า 25% จะมีโอกาสกระทบการประเมินมูลค่าเหมาะสมสำหรับปีนั้น

Revenue breakdown

รายได้ของบริษัทในปี 2021 มาจากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ดังนี้

(1) กลุ่มอุปกรณ์และวัสดุสิ้นเปลือง คิดเป็น 96% ของรายได้ทั้งหมด ตัวอย่างสินค้า เช่น อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับดูดและเก็บสารคลั่งหลั่ง เสื้อคลุมผ่าตัด ถุงมือยางธรรมชาติ เจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ สเปรย์น้ำยาทำความ สะอาด เข็มเจาะเลือดปลายนิ้ว วัสดุปิดแผล และสายดูดเสมหะ

(2) กลุ่มอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ คิดเป็น 4% ของรายได้ทั้งหมด ตัวอย่างสินค้า เช่น เครื่องมือผ่าตัด อุปกรณ์ยกหัวใจระหว่างผ่าตัด อุปกรณ์สำหรับเลื่อยกระดูก โคมไฟสวมศีรษะสำหรับงานผ่าตัด เครื่องกระตุกหัวใจ อัตโนมัติ เครื่องควบคุมการให้อาหารอัตโนมัติ และเครื่องสองเส้นเลือด

TM: Valuation assumption

ปัจจุบันราคาหุ้นซื้อขายที่ 20.3xPE’22E หรือราว -0.25SD ของค่าเฉลี่ยในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ผลจากสถานการณ์โควิดกดดันกำไรสุทธิให้ปรับตัวลงจากระดับสูงสุดที่ 61 ล้านบาทในปี 19 มาอยู่ที่ 30 ล้านบาทในปี 21 หรือลดลงถึง

เรามองว่าบริษัทสมควรกลับไปซื้อขายที่ค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง บริเวณ 23xPE’22E ภายใน 12 เดือนข้างหน้า คำนวณมูลค่าพื้นฐานได้ 3.46 บาท จากประมาณการกำไรต่อหุ้นปี 22 ที่ 0.15 บาท ด้วยเหตุผลต่อต่อไปนี้

(1) แนวโน้มของกำไรสุทธิที่เราคาดจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 30% ใน 3 ปีข้างหน้าจากระดับ 30 ล้านบาทในปี 21 ขึ้นถึงระดับ 67 ล้านบาทในปี 24 จากสมมติฐานรายได้โตเฉลี่ยที่ 11% จาก 674 ล้านบาทในปี 21 ขึ้นแตะระดับ 924 ล้านบาทใน ปี 24 (92% ของเป้าหมายของผู้บริหาร), อัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยที่ 38.6% ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขายที่ 29% ดีขึ้นเล็กน้อยจาก 29.5% ของค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีผลจากการประหยัดขนาด

(2) Upside จากธุรกิจใหม่ด้านการดูแลผู้สูงอายุ และโรงพยาบาลเฉพาะทางสำหรับผู้สูงอายุ

(3) จ่ายปันผลต่อเนื่องให้ผลตอบแทนเงินปันผลเฉลี่ยปีละ 4% ใน 3 ปีข้างหน้าจากสมมติฐาน Payout Ratio ที่ 70% ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี

- Advertisement -