ฟี้นตัวจากความคาดหวังเงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุด

  • ตลาดรับข่าวร้ายไปมาก ขณะที่รอยืนยันการผ่านจุดสุดของเงินเฟ้อ หลังตอบรับข่าวร้ายระยะสั้นไปพอสมควร ทั้งความเสี่ยงจากการปรับประมาณการเศรษฐกิจ การปรับคาดการณ์ผลประกอบการ รวมไปถึงความเสี่ยงจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบแข็งกร้าวของธนาคารกลางสหรัฐฯ ตลาดหุ้นโลกเริ่มฟื้นตัว ซึ่งเราประเมินว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ 1) ระดับการถือเงินสดในมือที่สูง หลังนักลงทุนปรับพอร์ตรับความเสี่ยงข้างต้นไปล่วงหน้าแล้ว ทำให้มีความพร้อมในการกลับเข้าซื้อ 2) ความคาดหวังว่าเงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และธนาคารกลางสหรัฐฯ มีโอกาสจบวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยได้ในช่วงปลายปีนี้ (จากที่คาดว่าจะเป็นต้นปีหน้า) ซึ่งสะท้อนผ่านมายังผลตอบแทนพันธบัตรและค่าเงินสหรัฐฯ ที่ปรับลดลง // เราประเมินปลายพ.ค. – ต้นมิ.ย. เข้าสู่ช่วงเวลาเป็นบวกต่อการเก็งกำไร เน้นหุ้นยังขึ้นน้อยหรือได้ประโยชน์จากผลตอบแทนพันธบัตรลดลง อาทิ กลุ่มการเงิน อาหาร (เนื้อสัตว์), ขณะที่ภาพระยะกลางยังมองทยอยสะสมหุ้นในกลุ่มได้ประโยชน์จากการเปิดเมือง และเปิดประเทศ
  • เข้าสู่ช่วงเวลาที่อาจจะดีที่สุดต่อราคาน้ำมันดิบ ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นโดยมีแรงหนุนเชิงบวก จาก 1) การเข้าสู่ฤดูขับขี่ของสหรัฐฯ 2) คาดการณ์ว่าสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) จะบรรลุข้อตกลงในการแบนนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียในการประชุม 30-31 พ.ค. 3) สต็อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ลดลงต่อเนื่องและมากกว่าคาด 4) ตลาดคาดโอเปคจะคงแผนเพิ่มกำลังการผลิต 432,000 บาร์เรล/วัน สำหรับการก.ค. ในการประชุม 2 มิ.ย.นี้ ซึ่งปัจจัยข้างต้นทำให้ราคาน้ำมันดิบมีโอกาสปรับขึ้น และเป็นช่วงดีที่สุดของปี ขณะที่ครึ่งปีหลังเราประเมินกำลังการผลิตจากอิหร่านจะเข้ามาช่วยลดความร้อนแรงของราคาน้ำมัน

ประเด็นเก็งกำไรอื่น

1) กลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ OSP, CBG, ICHI, SAPPE

2) กลุ่มท่องเที่ยว CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR

3) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO

4) กลุ่มมีลุ้นเข้า SET50 ได้แก่ JMT JMART

5) กอง REIT ได้แก่ FIREIT, WHART

6) ขณะที่หุ้นกลาง-เล็กที่สามารถเลือกเก็งกำไร (แบบ กำหนดจุดตัดขาดทุน) ในช่วงนี้ ได้แก่ THREL, BLA, MAJOR, TH, SCN, SCI, CMR, TKN, SPA เป็นต้น

7) หุ้นกลุ่มเก็งราคาน้ำมันลง SCGP, BJC, EPG, SCC

8) หุ้นเด่นกลุ่มพลังงาน OR

9) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, GFPT, TFG, TU, KSL, KTIS, KBS

ภาพรวมกลยุทธ์ มีโอกาสลุ้นผ่าน 1,643 จุด เพื่อขึ้นทดสอบ 1,660 จุด ภาพรวมยังเน้นในหุ้นใหญ่พื้นฐานดีที่ valuation ไม่แพง หรือกระแสเงินสดสูงที่สามารถจำกัด downside risk ได้เป็นหลัก และใช้จังหวะปรับลดลงแรงในการทยอยซื้อหรือสะสมรายตัว

หุ้นแนะนำ: CPF*, ASW*, TTCL*, BFIT*

แนวรับ: 1,630 / แนวต้าน : 1,643 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%

ประเด็นการลงทุน

  • สหรัฐเผยเศรษฐกิจหดตัวมากกว่าคาดใน Q1/65 – ตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สำหรับ GDP ไตรมาส 1/65 หดตัว -1.5% จากเดิมที่รายงานว่าหดตัว -1.4% ในตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ขณะที่คาดการณ์หดตัวเพียง -1.3%
  • สหรัฐเผยดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายร่วงเป็นเดือนที่ 6 – pending home sales ลดลง 3.9% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายเดือนสู่ระดับ 99.3 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2563 และปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6
  • สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานต่ำกว่าคาด – ลดลง 8,000 ราย สู่ระดับ 210,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว และต่ำกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 215,000 ราย
  • แบงก์ชาติรัสเซียลดดอกเบี้ย 3% สู่ 11% – พร้อมระบุว่ามีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในปีนี้ จากเงินเฟ้อชะลอตัวลง และเศรษฐกิจมีแนวโน้มหดตัว
  • รัสเซียพร้อมแก้วิกฤติอาหาร – โดยเปิดเส้นทางเรือที่ปลอดภัยในทะเลดำและทะเลอาซอฟ เพื่อให้สามารถขนส่งอาหารจากยูเครนได้ แลกกับการที่ชาติตะวันตกจะต้องยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย
  • ชัชชาติ ขอเวลา 1 เดือนจัดการสัมปทานสายสีเขียว – โดยมีแนวคิดว่า กทม.ควรจะโอนงานรถไฟฟ้ากลับไปให้หน่วยงานกลาง คือ กระทรวงคมนาคม เป็นผู้รับผิดชอบ เนื่องจากเส้นทางรถไฟฟ้าในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน และได้ขยายออกไปยังปริมณฑลค่อนข้างมากแล้ว ไม่ได้จำกัดอยู่ภายใน กทม.เท่านั้น
  • ผู้บริโภคค้านดีลควบทรูดีแทคกังวลค่าบริการพุ่ง – ผู้บริโภคให้ความเห็น 100% ค้านทรูควบรวมดีแทค กลัวเกิดการผูกขาดอุตสาหกรรม หากเหลือ 2 รายใหญ่ อาจเกิดการร่วมกันกำหนดราคาค่าบริการที่แพงกระทบผู้บริโภค
  • หุ้นมีโอกาสเข้าเกณฑ์ Cash Balance – ได้แก่ TEAMG, ALL, FSMART, ARIN, NBC
  • คาดเข้า/ออก SET50 – คาดเข้า JMT, JMART, BLA /คาดออก RATCH, STGT, KCE
  • คาดเข้า/ออก SET100 – คาดเข้า SABUY, TIPH, JAS /คาดออก RS, TTA, MAJOR

ประเด็นติดตาม: 30 พ.ค. – China Manufacturing PMI / 31 พ.ค. – EU CPI, US Consumer Confidence, TH MSCI Rebalance / 1 มิ.ย. – US ISM Manufacturing PMI, US Job Openings / 3 มิ.ย. US Nonfarm Payrolls, US Participation Rate, US Unemployment Rate

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

ประเด็นลงทุนสำหรับหุ้นแนะนำ

  • เก็งกำไร CPF* (29) : แนวโน้มราคาเนื้อสัตว์ที่ปรับขึ้นได้จาก food inflation เป็นผลบวกต่อแนวโน้มผลการดำเนินงาน ตัดขาดทุน 24.00 บาท
  • เก็งกำไร ASW* (11) : กำไรไตรมาส 1/65 คือจุดต่ำสุด ราคาปัจจุบันซื้อขายที่ PER เพียง 6.3 เท่า ตัดขาดทุน 7.50 บาท
  • เก็งกำไร TTCL* (5.50) : ผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และเข้าสู่ช่วง turnaround ตัดขาดทุน 4.74 บาท
  • เก็งกำไร BFIT* (44) : ฟื้นตัวหลังผลตอบแทนพันธบัตรเริ่มปรับลง ตัดขาดทุน 29.50 บาท

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

Market News & Factors

  • ตลาดหุ้นสหรัฐ – ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 500 จุดในวันพฤหัสบดี (26 พ.ค.) ขานรับผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทค้าปลีก รวมทั้งรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดหุ้นยุโรป – ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกในวันพฤหัสบดี (26 พ.ค.) โดยหุ้นกลุ่มค้าปลีกนำตลาดปรับตัวขึ้น หลังจากอังกฤษเปิดเผยแผนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ และตลาดยังได้แรงหนุนจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังคงยืนยันที่จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาดไว้ (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดหุ้นญี่ปุ่น – ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดลบท่ามกลางการซื้อขายที่เป็นไปอย่างไร้ทิศทาง โดยนักลงทุนเข้าซื้อหุ้นกลุ่มการท่องเที่ยว หลังมีรายงานว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนหน้า อย่างไรก็ดี  แรงหนุนดังกล่าวถูกบดบังด้วยแรงขายหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ (อินโฟเควสท์)
  • ตลาดนํ้ามัน – สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี (26 พ.ค.) โดยตลาดได้แรงหนุนจากการความต้องการใช้น้ำมันในสหรัฐที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงวันหยุด Memorial Day รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่าสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) จะสามารถบรรลุข้อตกลงคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย (อินโฟเควสท์)
  • สหรัฐเผยเศรษฐกิจหดตัว มากกว่าคาดใน Q1/65 – ตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สำหรับ GDP ไตรมาส 1/65 หดตัว -1.5% จากเดิมที่รายงานว่าหดตัว -1.4% ในตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ขณะที่คาดการณ์หดตัวเพียง 1.3% (อินโฟเควสท์)
  • สหรัฐเผยดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย ร่วงเป็นเดือนที่ 6 – pending home sales ลดลง 3.9% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายเดือนสู่ระดับ 99.3 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ เดือนเม.ย. 2563 และปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 (อินโฟเควสท์)
  • สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานต่ำกว่าคาด – ลดลง 8,000 ราย สู่ระดับ 210,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว และต่ำกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 215,000 ราย (อินโฟเควสท์)
  • แบงก์ชาติรัสเซียลดดอกเบี้ย 3% สู่ 11% – พร้อมระบุว่ามีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในปีนี้ จากเงินเฟ้อชะลอตัวลงและเศรษฐกิจมีแนวโน้มหดตัว (อินโฟเควสท์)
  • ชัชชาติ ขอเวลา 1 เดือน จัดการสัมปทานสายสีเขียว – โดยมีแนวคิดว่า กทม.ควรจะโอนงานรถไฟฟ้ากลับไปให้หน่วยงานกลาง คือ กระทรวงคมนาคม เป็นผู้รับผิดชอบ เนื่องจากเส้นทางรถไฟฟ้าในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน และได้ขยายออกไปยังปริมณฑลค่อนข้างมากแล้ว ไม่ได้จํากัดอยู่ภายใน กทม.เท่านั้น (กรุงเทพธุรกิจ)
  • ผู้บริโภคด้านดีลควบทรูดีแทค กังวลค่าบริการพุ่ง – ผู้บริโภคให้ความเห็น 100% ด้านทรูควบรวมดีแทค กลัวเกิดการผูกขาดอุตสาหกรรม หากเหลือ 2 รายใหญ่ อาจเกิดการร่วมกันกำหนดราคาค่าบริการที่แพงกระทบผู้บริโภค (กรุงเทพธุรกิจ)
  • หุ้นมีโอกาสเข้าเกณฑ์ Cash Balance – ได้แก่ TEAMG, ALL, FSMART, ARIN, NBC (UOB KayHian)
  • คาดเข้า/ออก SET50 – คาดเช้า JMT, JMART, BLA //คาดออก RATCH, STGT, KCE (UOB KayHian)
  • คาดเข้า/ออก SET100 – คาดเข้า SABUY, TIPH, JAS // คาดออก RS, TTA, MAJOR (UOB KayHian)

Report & Corporate News

  • VGI Maintained BUY TP: 6.30 บาท – VGI ประกาศผลประกอบการ 4QFY22 ที่น่าวิตก เนื่องจากกลุ่มธุรกิจจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน โดยถูกกดดันจากผลขาดทุนจากการลงทุน ซึ่งทำให้กำไรสุทธิปี 2020 ต่ำที่สุดในรอบทศวรรษ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ไม่ได้สิ้นหวังอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากมีโอกาสที่ดีที่จะเห็นกำไรของ VGI กลับมาเป็นบวกใน FY23 ซึ่งมีแรงหนุนกลักมาจากการฟื้นตัวของรายได้จากโฆษณา คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย : 6.30 บาท
  • BCH Upgraded HOLD TP: 18.00 บาท – BCH ได้เปิดตัวกลยุทธ์มากมายสำหรับการเติบโตหลัง COVID-19 และตั้งเป้าไปที่ผู้ป่วยต่างชาติที่ WMC และศูนย์เบาหวานแห่งใหม่ อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่คาดว่าจะได้รับสัดส่วนรายได้จำนวนมากจากรายการที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 อย่างไรก็ตาม ตลาดมีการรับรู้ความกังวลบางส่วนแล้วท่ามกลางจำนวนผู้ป่วย COVID-19 ที่ลดลง และความเสี่ยงด้านลบ ณ จุดนี้ถูกจำกัดโดยฐานรายได้หลัง COVID-19 ที่สูงขึ้น ปรับเพิ่มคําแนะนําเป็น ถือ ราคาเป้าหมาย: 18.00 บาท
  • EA – บริษัทคาดผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/65 จะเติบโตดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากโครงการ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) ดำเนินการเปลี่ยนแผงโซลาร์ใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ทำให้ ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าดีขึ้น จะส่งผลดีต่อการรับรู้รายได้เข้ามามากขึ้น ประกอบกับบริษัทจะทยอยรับรู้รายได้จากการส่งมอบรถบัสไฟฟ้า (E-Bus) ด้วย ซึ่งทั้งปีนี้คาดว่าส่งมอบได้ราว 1,500-2,000 คัน (อินโฟเควสท์)
  • PYLON – บริษัทคาดว่ารายได้ปี 65 จะกลับมามากกว่า 1,000 ล้านบาท หลังจากที่บริษัทตุนงานในมือ (Backlog) รวมมูลค่า 1,381.4 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการจากภาครัฐ 52% และโครงการจากภาคเอกชน 48% โดย คาดว่าจะสามารถรับรู้รายได้เข้ามาเกือบทั้งหมดในปีนี้ โดยบริษัทคาดว่าจะมีอัตราการใช้เครื่องจักรราว 80-85% (อินโฟเควสท์)
- Advertisement -