บล.พาย: 

EPG: กำไร 4QFY22 หดตัวลง YoY และ QoQ

กำไรสุทธิ 4QFY22 (ม.ค.-มี.ค.) อยู่ที่ 336 ล้านบาท หากไม่รวมกำไรอัตราแลกเปลี่ยน กำไรปกติจะอยู่ที่ 330 ล้านบาท (-11%YoY, -19%QoQ) ผลประกอบการดังกล่าวนับเป็นจุดต่ำสุดในรอบ 6 ไตรมาสและต่ำกว่าคาด

  • การอ่อนตัวลง YoY และ QoQ เพราะฐานส่วนแบ่งกำไรที่สูง (ส่วนแบ่งกำไรพิเศษ 27 ล้านบาทใน 3QFY22) และค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ที่สูงขึ้น
  • กำไรสุทธิทั้งปี FY2022 แตะจุดสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 1.6 พันล้านบาท (+31%YoY) หนุนจากผลงานที่แข็งแกร่งของบริษัทร่วม และรายได้จากทุกกลุ่มธุรกิจที่ออกมาดี (รายได้โต 23%)
  • คาดกำไรไตรมาสหน้ายังซบเซา หลังจากออสเตรเลียมียอดขายยานยนต์ที่อ่อนแอ แต่คาดถึงโอกาสในการฟื้นตัวใน FY2H23
  • ประกาศจ่ายเงินปันผลต่อหุ้น (DPS) 0.19 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนที่ 2%

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 12.60 บาท ถึง 21xPE’FY23E (ค่าเฉลี่ย 5 ปี) คำแนะนำซื้อได้แรงหนุนจาก กำไรบริษัทที่โตเด่นกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมในปี FY2023 ที่ได้อานิสงส์จากอุปสงค์ในกลุ่มฉนวนกันความร้อน และบรรจุภัณฑ์เพื่อผู้บริโภค ส่วนแบ่งกำไรที่สูงขึ้นจากผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมทุนในแอฟริกาใต้ และอินเดียที่ปรับดีขึ้น

สรุปผลประกอบการ

  • กำไรสุทธิ 4QFY22 (ม.ค.-มี.ค.) อยู่ที่ 336 ล้านบาท หากไม่รวมกำไรอัตราแลกเปลี่ยน กำไรปกติจะอยู่ที่ 330 ล้านบาท (-11%YoY, -19%QoQ) ผลประกอบการดังกล่าวนับเป็นจุดต่ำสุดในรอบ 6 ไตรมาสและต่ำกว่าคาด
  • กำไรที่หดตัวลง YoY เป็นผลจากส่วนแบ่งกำไรที่ลดลง 32% และ SG&A ต่อยอดขายที่สูงขึ้นแตะจุดสูงรอบ 6 ไตรมาสที่ 20.7% สืบเนื่องจากการจ่ายค่าตอบแทนให้พนักงานที่สูงขึ้น
  • ที่ลดลง QoQ เป็นเพราะฐานสูงของส่วนแบ่งกำไร (ส่วนแบ่งกำไรพิเศษ 27 ล้านบาทใน 3QFY22) และรายได้ที่ลดลง 2% (รายได้กลุ่มยานยนต์ลดลง 2% เหลือ 1.4 พันล้านบาท ส่วนรายได้ธุรกิจบรรจุภัณฑ์เพื่อผู้บริโภคลดลง 8% เหลือ 690 ล้านบาทจากฐานที่สูงใน 3QFY22
  • อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) โตแตะยอดสูงในรอบ 3 ไตรมาสที่ 32.2% จากการที่อัตรากำไรของกลุ่มฉนวนกันความร้อนแตะจุดสูงสุด เพราะได้แรงหนุนจากอุปสงค์ในสหรัฐฯ (48% ต่อรายได้ของ Aeroflex) และประโยชน์จากการปรับราคา

Revenue breakdown

Aeroklas คือผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์สำหรับรถกระบะ เช่น พื้นปูกระบะ หลังคากระบะ ฝาครอบกระบะเอนกประสงค์ และบันไดข้าง มีการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไปสู่มือลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่าน 3 แบรนด์ ได้แก่ Aeroklas, TJM และ Flexiglass โดยธุรกิจนี้คิดเป็น 50% ของรายได้ทั้งหมด

ขณะที่ Aeroflex คือกลุ่มธุรกิจที่ทำการผลิตฉนวนกันความร้อน เช่น ท่อสารนำความร้อนและเย็น ซึ่งคิดเป็น 27% ของรายได้ทั้งหมด Aeroflex ทำการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จำพวกฉนวนไปทั่วโลกภายใต้ 3 แบรนด์ ได้แก่ Aeroflex, Aerocel และ Celflex ปัจจุบันมีกำลังการผลิตยางสังเคราะห์ EPDM ต่อปีที่ 20,000 ตัน และฉนวนยางไนไตรล์ที่ 20,000 ตันจากฐานการผลิต 5 แห่งที่กระจายอยู่ในไทย สหรัฐฯ อินเดีย และจีน ในด้านอีสเทิร์น โพลีแพค (EPP) นั้นทำการผลิตและจัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้แล้วทิ้งสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม  รวมถึงแผ่นพลาสติกที่นำไปขึ้นรูปเป็นสินค้าต่างๆ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ ป้ายโฆษณา และแผ่นรองกระป๋อง โดยหน่วยธุรกิจนี้คิดเป็น 24% ของรายได้ทั้งหมด

- Advertisement -