Our View? “คละคลุ้ง”
คาดตลาดวันนี้ “Sideways” มองแนวรับที่บริเวณ 1,650 / 1,645 และแนวต้านที่บริเวณ 1,665 / 1,670 คาดตลาดเริ่มกลับมากังวลกับแนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) อีกครั้ง เพื่อสกัดการเร่งตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ หลังเมื่อคืนนี้นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในคณะผู้ว่าการ FED แสดงความคิดเห็นว่า FED ควรขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ 0.50% ต่อเนื่องในการประชุมแต่ละครั้งจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง ขณะที่ CME FED Watch Tools กลับมาบ่งชี้ตลาดกลับมาคาดการณ์ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) จะขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ 0.50% ในอีก 3 ครั้งถัดไป จากสัปดาห์ก่อนที่จะขึ้นต่อเนื่องแค่ 2 ครั้ง ทำให้อัตราดอกเบี้ยในช่วงสิ้นปีสหรัฐกลับไปอยู่ที่ระดับ 3.00% แต่ยังไม่คาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในช่วงปี’66 คาดจะเป็นปัจจัยจํากัด Upside การฟื้นตัวของราคาสินทรัพย์เสี่ยงได้อยู่
ขณะที่เมื่อวานนี้ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน พ.ค. ของสหภาพยุโรป (EU) ออกมา +8.1% ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง และมากกว่าที่ตลาดคาดคาดจะกระตุ้นความกังวลธนาคารกลางยุโรป (ECB) อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่ตลาดคาดไว้ ส่งผลให้สภาพคล่องในตลาดลดลงเร็วมากขึ้น
อย่างไรก็ดี คาดตลาดในภูมิภาคอาจเคลื่อนไหวได้ดีกว่าจากจิตวิทยาเชิงบวกของการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งได้รับผลกระทบของ COVID-19 กว่า 33 มาตรการ ครอบคลุมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและกระตุ้นการซื้อรถยนต์ คาดจะหนุนทิศทางตลาดได้ ภูมิภาครวมถึงหุ้นในกลุ่มส่งออกที่คาดจะได้รับประโยชน์ทางอ้อมจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนได้บ้าง โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (KCE, HANA และ SVI)
ทางด้านราคาสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ส่งมอบเดือน ก.ค. ปรับตัวขึ้นแรงทดสอบแนวต้านใกล้บริเวณ 120 ดอลลาร์ก่อนจะลงมาปิดที่ระดับ 114.67 ดอลลาร์/บาร์เรล -0.40 ดอลลาร์ หรือ -0.35% จากรายงานของ Wall street journal ระบุ OPEC+ มีแนวโน้มจะระงับการมีส่วนร่วมของรัสเซียในข้อตกลงด้านการผลิตของ OPEC+ หลังรัสเซียเผชิญการคว่ำบาตรการส่งออกพลังงานของ EU คาดจะส่งผลให้สมาชิกใน OPEC+ สามารถปรับเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อชดเชยกำลังการผลิตที่หายไปของรัสเซียได้ คาดจะช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมัน กดดันทิศทางราคาน้ำมัน-หุ้นในกลุ่มพลังงานอ่อนตัวลงได้
ในส่วนของปัจจัยในประเทศ เรามีมุมมองเชิงบวกต่อรายงานเศรษฐกิจไทยเดือน เม.ย. ของ ธนาคารแห่ง ประเทศไทย (ธปท.) โดยเศรษฐกิจไทยเดือน เม.ย. ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน มี.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากการบริโภคเอกชนฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่อง หลังผ่อนคลายความกังวลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ขณะที่ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติ สามารถทยอยปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มองเป็นปัจจัยบวกหนุนทิศทางตลาดหุ้นไทยได้อยู่ โดยเราคาดว่าหุ้นในกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการเตรียมกลับมาเปิดประเทศ-เศรษฐกิจเต็มรูปแบบ คาดจะหนุนทิศทางหุ้นในกลุ่มโรงแรม-ท่องเที่ยว-สายการบิน (AOT, MINT, CENTEL, ERW, AWC, AAV และ BA) ฟื้นตัวขึ้นได้อีกครั้ง รวมทั้งเรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่มธนาคาร (KBANK, SCB, BBL และ TTB) จากการที่ ธปท. ส่งสัญญาณเตรียมผ่อนผันให้ธนาคารฯ ไม่ต้องนับระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์รอการขายตั้งแต่ช่วงปี 65-66 และไม่ต้องกันเงินสํารองเพิ่มเติมในช่วงเวลาดังกล่าว คาดจะเป็นปัจจัยช่วยลดตัวเลข NPL ของธนาคารฯ อ่อนตัวลงได้ อย่างไรก็ตาม แนะนำติดตามการประชุม กนง. ในวันที่ 8 มิ.ย. คาดอาจจะมีการปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยได้บ้างหลังเผชิญปัญหาอากภายนอก คาดจะว่ากัดการฟื้นตัวของตลาดได้บ้าง
ธีมการลงทุน “Selective Play”
หุ้นแนะนำวันนี้ “CENTEL”
กลยุทธ์ แนวรับ 42.00 / 41.00 Target 44.50 / 46.50 Stop <41.00