บล.พาย: 

EA: รอกำไรจากธุรกิจ EV และ ESS

การประชุมนักวิเคราะห์ให้ภาพเป็นกลาง คงคำแนะนำ “ถือ” เพราะหุ้นมีราคาแพง มูลค่าพื้นฐานอยู่ที่ 80.0 บาท คำนวณด้วยวิธีรวมส่วนธุรกิจ (SOTP) อิง 43x PE’22E

  • คาดกำไร 2Q22 โตทั้ง YoY และ QoQ หนุนจาก 1) ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่สูงขึ้น 2) การดำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่ดีขึ้น และ 3) ยอดขายไบโอดีเซลที่ปรับดีขึ้น
  • บริษัทมีงานส่งมอบ E-bus 87 คันใน 2Q22 ให้กับกลุ่ม Lotte และตั้งเป้ายอดขายอีก 1,000 คันใน 2H22 และ 2,500-3,000 คันภายในปี 2023-24 อิงจากคำสั่งซื้อที่อาจเข้ามาจาก TSB และ SMB
  • มีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อภาพรวมใน 2H22 เพราะยอดขาย EV ที่จะดียิ่งขึ้น ขณะที่ผลการดำเนินงานของทั้ง ธุรกิจโรงไฟฟ้าและไบโอดีเซลจะเข้าสู่ช่วงฟื้นตัวเต็มที่ หนุนจากความสามารถในการผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าพลัง แสงอาทิตย์ และยอดขายไบโอดีเซลที่ดีขึ้น หนุนจากการใช้ดีเซลที่สูงขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
  • ปัจจุบันหุ้นซื้อขายที่ 41x PE’23E หรือคิดเป็นค่าพรีเมี่ยมต่อค่าเฉลี่ยของกลุ่มในประเทศ ขณะที่เล็งเห็น downside risk 6%-12% ต่อประมาณการกำไรปี 2022-24 ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถบรรลุเป้าหมายยอดขาย EV ที่ให้ไว้ได้ ด้วยเหตุนี้จึงยังคงมุมมองเป็นกลาง

EA: Neutral tone from analyst meeting

ยอดขาย EV เพิ่มสูงขึ้น

  • บริษัทเริ่มธุรกิจ EV ในปี 2021 ส่งมอบ E-bus ไปทั้งหมด 120 คันในช่วงปีดังกล่าว คาดยอดขาย EV ที่ดีขึ้น จากอุปสงค์สะสม คือปัจจัยขับเคลื่อนกำไรที่สำคัญตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นไป
  • บริษัทมีงานส่งมอบ E-bus 87 คันใน 2Q22 ให้กับกลุ่ม Lotte และตั้งเป้ายอดขายอีก 1,000 คันใน 2H22 และ 2,500-3,000 คันภายในปี 2023-24 อิงจากคำสั่งซื้อที่อาจเข้ามาจาก TSB และ SMB
  • บริษัทมีแผนขยายกำลังการผลิตแบตเตอรี่ EV เป็น 4GWh ภายในปี 2023 หรือเพิ่มขึ้น 4 เท่าจากปัจจุบันที่ 1GWh สอดคล้องกับทิศทางยอดขาย EV ขณะที่คาดว่าอัตราการดำเนินงานที่ 60% ในปัจจุบันจะเพิ่มเป็น 90% ภายใน 2H22 อิงจากเป้าหมายยอดขาย EV
  • บริษัทมีแผนใช้งบลงทุน 3.0 หมื่นล้านบาทในปี 2022-24 มุ่งเน้นการขยายโรงผลิตแบตเตอรี่ และเข้าลงทุนใน ธุรกิจ EV ใหม่ๆ

ภาพรวมกำไรเชิงบวกในช่วง 2Q22-2022

  • คาดกำไร 2Q22 โตทั้ง YoY และ QoQ หนุนจาก 1) ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่สูงขึ้น 2) การดำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่ดีขึ้น และ 3) ยอดขายไบโอดีเซลที่ปรับดีขึ้น
  • คาดว่าปัจจัยตามฤดูกาลที่ดีขึ้นและความสามารถในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่ดีขึ้นหลังมีการยกระดับแผงพลังงานที่แล้วเสร็จใน 1Q22 จะช่วยชดเชยช่วง low season สำหรับโรงไฟฟ้าพลังลมใน 2Q22 ได้
  • มีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อภาพรวมใน 2H22 เพราะยอดขาย EV ที่จะดียิ่งขึ้น ขณะที่ผลการดำเนินงานของทั้งธุรกิจโรงไฟฟ้าและไบโอดีเซลจะเข้าสู่ช่วงฟื้นตัวเต็มที่ หนุนจากความสามารถในการผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ และยอดขายไบโอดีเซลที่ดีขึ้น หนุนจากการใช้ดีเซลที่สูงขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
  • คงมุมมองและประมาณการเชิงบวกต่อภาพรวมปี 2022 ด้วยการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS) ที่ 18% YoY หนุนจากผลการดำเนินงานจากทั้ง 3 ธุรกิจ (EV โรงไฟฟ้า และไบโอดีเซล)

Downside ต่อยอดขาย EV และอัตราการดำเนินงานของโรงผลิตแบตเตอรี่

  • ปัจจุบันหุ้นซื้อขายที่ 41x PE’23E หรือคิดเป็นค่าพรีเมี่ยมต่อค่าเฉลี่ยของกลุ่มในประเทศ การที่บริษัทผันตัวเป็นผู้เล่น EV-ESS เต็มรูปแบบตามทิศทางของโลกดูเหมือนเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อมูลค่าซื้อขายที่สูงของบริษัท
  • มูลค่าพื้นฐาน 80 บาทอิงวิธี SOTP โดยมีสัดส่วนก้อนใหญ่มาจากธุรกิจ EV-ESS ที่ยังอยู่ในช่วงต้นของการพัฒนากิจการ แต่การเลื่อนกำหนดการเริ่มดำเนินงานเชิงพาณิชย์ (COD) โรงผลิตแบตเตอรี่กำลังการผลิตที่ 1GWh ในช่วงปีที่ผ่านมา บวกกับการยกเลิกสัญญาการขายรถ MINE-EV (5,000 คัน) และการส่งมอบ E-bus ต่างส่งผลกระทบต่อประมาณการยอดขาย EV และการเติบโตของกำไร
  • เป้าหมายยอดขาย EV ที่ 1,000-3,000 คันในช่วงปี 2022-24 ของผู้บริหารถือเป็นตัวเลขเชิงบวกเกินไป ขณะที่เราเล็งเห็น downside risk ต่อปริมาณขายเมื่อพิจารณาจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และจากการที่ไม่มี การส่งมอบเลยใน 1Q22 เมื่ออิงการวิเคราะห์ปัจจัยความอ่อนไหวเชิงรัดกุมพบว่าปริมาณขายที่ลดลง 50% อาจฉุดกำไรปี 2022-24E ลง 6%-12%
  • ปัจจุบันยังคงประมาณการและสมมติฐานยอดขายในระดับที่สอดคล้องกับเป้าหมายของผู้บริหาร แต่อาจทบทวนตัวเลขอีกครั้งหลังประกาศงบ 2Q22

สรุปผลประกอบการ

  • กำไรสุทธิ 1Q22 อยู่ที่ 1.4 พันล้านบาท (-3% YoY, -27% QoQ) สอดคล้องกับคาดการณ์
  • กำไรที่ลดลง YoY และ QoQ มีสาเหตุมาจากการรับรู้รายได้ที่ลดลงจากธุรกิจโรงไฟฟ้า (ความเร็วลมที่ลดลงกระทบผลการดำเนินงาน) และอัตรากำไรรวมถึงปริมาณขายของไบโอดีเซลที่ ลดลงจากสภาวะอุปทานที่ตึงตัวและการออกกฎเกณฑ์ต่างๆ จากภาครัฐ
  • รายได้อยู่ที่ 4.7 พันล้านบาท (ทรงตัว YoY, -14% QoQ) ลดลง QoQ จากการรับรู้รายได้จากธุรกิจโรงไฟฟ้าที่ลดลง แม้ส่วนแบ่งจากธุรกิจไบโอดีเซลจะปรับสูงขึ้นก็ตาม (จากราคาขายของหน่วยที่โต 30%)
  • อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ลดลงเหลือ 38.7% ใน 1Q22 เทียบกับ 46% ใน 1Q21 และ 40% ใน 4Q21 จากอัตรากำไรที่ลดลงในธุรกิจไบโอดีเซลและต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น

Revenue breakdown

แหล่งรายได้หลักของบริษัทมาจากการขายไบโอดีเซล และขายไฟฟ้าผ่านบริษัทย่อยในประเทศไทย โดยบริษัทมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมขนาดรวม 664MWe อยู่ในมือ และการผลิตไบโอดีเซลที่มีกำลังการผลิต 800,000 ลิตรต่อวัน

ในปี 2021 บริษัทมีรายได้จากการขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. และกฟภ. คิดเป็นสัดส่วน 44% ของรายได้รวม ในขณะที่รายได้จากการขายไบโอดีเซลและกลีเซอรีนมีสัดส่วนที่ 40% ของรายได้รวม และธุรกิจอื่นๆ รวมถึงธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าคิดเป็นอีก 5% ที่เหลือ

 

- Advertisement -