บล.พาย: 

BANKING (OVERWEIGHT) ระมัดระวังต่อภาพรวมการเติบโตมากขึ้น

TOP PICK: BBL

คุณภาพสินเชื่อค่อนข้างยืดหยุ่นแม้มีประเด็นความกังวลเรื่องโควิด- 19

  • แม้มีประเด็นความกังวลเกี่ยวกับโควิด-19 แต่คุณภาพสินเชื่อกลุ่มธนาคารไทยถือว่ายืดหยุ่นต่อสถานการณ์โดยรวม อัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL ratio) โดยรวมของกลุ่มลดลงเล็กน้อยเหลือ 2.9% ใน 1Q22 (4021: 3.0%) จาก NPLs กลุ่มสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่ลดลง ในด้านสินเชื่อที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (SMLs) โดยรวมของกลุ่มลดลงต่อเนื่องเป็น 6.6% ใน 1Q22 (4021: 6.9%) สืบเนื่องจาก SMLs ในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และผู้บริโภคที่ลดลง สำหรับสินเชื่อผู้บริโภคพบว่าสินเชื่อบ้านและสินเชื่อเช่าซื้อค่อนข้างทรงตัว QoQ ใน 1Q22 แต่คุณภาพสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลถดถอยลงเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากหนี้ภาครัวเรือนที่สูงและเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า

อัตราเงินเฟ้อและปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์อาจฉุดภาพรวมการเติบโตลง

  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตเศรษฐกิจเป็น 3.3% YoY ในปี 2022 และเดิมที่ 3.2% (2021: +1.6%) สืบเนื่องจากการบริโภคในประเทศที่ฟื้นตัวดีขึ้น ขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจจะโตต่อเนื่อง 4.2% ในปี 2023 ขณะที่เราคาดว่าสินเชื่อโดยรวมของธนาคาร 7 แห่งที่วิเคราะห์อยู่จะโตขึ้น 4.8% YoY ในปี 2022 แม้เศรษฐกิจอาจฟื้นตัวดีขึ้นในอนาคต แต่การเติบโตของสินเชื่ออาจออกมาต่ำกว่าคาด เพราะความเสี่ยงที่สูงขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อระดับสูง และสภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อที่ต่างบั่นทอนอุปสงค์การขอสินเชื่อใหม่ลง และสร้างความกังวลต่อคุณภาพสินเชื่อมากขึ้น

งบดุลแข็งแกร่งพร้อมรับมือความไม่แน่นอน

  • คาด NPLs โดยรวมจะเพิ่มขึ้นปานกลาง 7% YoY ในปี 2022 (2021: +2%) เพราะลูกค้าบางรายที่ออกจากมาตรการช่วยเหลืออาจไม่สามารถ ชำระหนี้ได้เพราะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า แม้คาด NPLs ใหม่ที่สูงขึ้น แต่กลุ่มธนาคารไทยได้ตั้งสำรองส่วนเพิ่มเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้งบดุลของตัวเองเพื่อรับมือกับความเสี่ยงด้าน NPLs แล้ว ทั้งนี้ อัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ โดยรวมของกลุ่มธนาคารไทยเพิ่มเป็น 166% ใน 1Q22 (4Q21: 161%) ขณะที่ NPL ratio โดยรวมของกลุ่มค่อนข้างทรงตัว QoQ ที่ 4% ใน 1Q22

เลือก BBL เป็นหุ้นเด่นในกลุ่ม

  • คงมุมมองเชิง “บวก” ต่อกลุ่มธนาคาร เพราะ 1) คาดกำไรสุทธิโตมั่นคงที่ 14% YoY ในปี 2022 2) มีงบดุลที่ยืดหยุ่นต่อสถานการณ์โดยรวม (อัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่สูง และฐานเงินทุนที่แข็งแกร่ง) และ 3) มูลค่าหุ้นเฉลี่ยของกลุ่มไม่แพงเพราะปัจจุบันซื้อขายอยู่ที่ 0.7x PBV’22E หรือ -1.0SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี
  • ด้วยความไม่แน่นอนในอนาคตจึงเชื่อว่าปัจเจกบุคคลจะได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานและหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงชอบกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่มากกว่า เพราะมีฐานสินเชื่อหลากหลายมากกว่าและอาจได้ประโยชน์จากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) เลือก BBL (“ซื้อ” เป้าหมาย 159.0 บาท) เป็นหุ้นเด่นของกลุ่ม เพราะมีงบดุลยืดหยุ่น การเติบโตของกำไรสุทธิฟื้นตัวต่อเนื่อง และมีมูลค่าหุ้นที่น่าดึงดูด สำหรับกลุ่มธนาคารขนาดเล็กและกลางเลือก KKP (“ซื้อ” เป้าหมาย 82.0 บาท) เป็นหุ้นเด่นในกลุ่มนี้เพราะสินเชื่อที่โตมั่นคง กำไรสุทธิโตแข็งแกร่ง ผลตอบแทนปันผลสูง และมูลค่าหุ้นน่าดึงดูด

ใกล้ฟื้นตัวแต่ยังมีปัจจัยเสี่ยง

  • ธปท. ปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยเป็น 3.3% YoY สำหรับปี 2022 จากเดิมที่ 3.2% สืบเนื่องจากการบริโภคภายในประเทศที่ฟื้นตัวดีกว่าคาด นอกจากนี้ ธปท. ยังปรับเพิ่มประมาณการการส่งออก และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสำหรับปี 2022 ขึ้นอีกด้วย ส่วนภาพในปี 2023 ธปท. คาดว่า GDP ไทยจะโตมากขึ้นที่ 4.2% YoY จากเดิมที่ 4.4% โดยเราประเมินว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเป็นผลจากการกลับมาเปิดเศรษฐกิจมากขึ้น บวกกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สูงขึ้น และผลกระทบจากโควิด-19 ที่เบาบางลง สืบเนื่องจากประสิทธิภาพการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น
  • คาดไทยเข้าสู่ขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง เนื่อง คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติลงคะแนน 4 ต่อ 3 ให้คงอัตราดอเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ณ การประชุมในเดือน มิ.ย. คาด กนง. อาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 25 50bp ในการประชุมครั้งถัดไป (ส.ค. ก.ย. และ พ.ย.) อาจมีการปรับเพิ่มเป็น 0.75-1.00% ภายในสิ้นปี 2022 เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อ ในกรณีนี้กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่อาจได้ประโยชน์มากกว่าจาก NIM ที่สูงขึ้นในอนาคต เพราะมีพอร์ตสินเชื่อที่กระจายความเสี่ยงดีกว่ากลุ่มธนาคารขนาดเล็ก ที่มุ่งเน้นสินเชื่อรายย่อยมากกว่า
  • แต่ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่สูงและสภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังดำรงอยู่อาจก่อให้เกิดความไม่แน่นอนในอนาคตได้ อุปสงค์ต่อสินเชื่อใหม่อาจอ่อนแอลง เพราะกลุ่มองค์กรมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และมีการบริโภคที่ชะลอตัวลง ยิ่งกว่านั้นการคว่ำบาตรรัสเซียมีโอกาสฉุดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกลง และบั่นทอนโอกาสการเติบโตของการส่งออกไทย

สินเชื่อโตมั่นคงใน 1Q22

สินเชื่อโดยรวมของกลุ่มธนาคารไทยโตต่อเนื่อง 1.9% QoQ เป็น 18.2 ล้านล้านบาท (+4.8% YoY) ใน 1Q22 หลังจากโตไปแล้ว 2.7% QoQ ใน 4Q21 สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่โต 3.2% QoQ สินเชื่อ SME โต 1.7% QoQ สินเชื่อทั้ง 2 กลุ่มนี้ได้แรงหนุนจากอุปสงค์จากภาคการผลิต การค้าส่ง และค้าปลีกที่สูงขึ้น แต่สินเชื่อผู้บริโภคค่อนข้างทรงตัว เพราะสินเชื่อจดจำนองและส่วนบุคลที่สูงขึ้นถูกหักลบโดยสินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อบัตรเครดิตที่ลดลง

สัญญาณบ่งชี้ว่า SML จะปรับดีขึ้น

  • SMLs โดยรวมของกลุ่มลดลงต่อเนื่อง 2.8% QoQ ใน 1Q22 (4Q21: -2.1% QoQ) เหลือ 1.1 ล้านล้านบาท เป็นผลจาก SMLs จากกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ และกลุ่มผู้บริโภคที่ปรับดีขึ้น ขณะที่ในกลุ่ม SMEs มี SMLs ที่สูงขึ้นเล็กน้อย 1.6% QoQ ส่วนในด้านสินเชื่อภาคธุรกิจพบว่า SMLs ในภาคการผลิต ภาคอสังหาริมทรัพย์  สาธารณูปโภค และคมนาคมต่างปรับตัวลดลง เช่นเดียวกันกับกลุ่มสินเชื่อผู้บริโภคอย่างสินเชื่อจดจำนอง สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลที่มี SMLs ลดลง
  • จากธนาคาร 7 แห่งที่วิเคราะห์อยู่พบว่า SCB มี SMLs ลดลงมากที่สุดที่ 24.4% QoQ ใน 1Q22 ส่วนธนาคารอื่นที่มี SMLs ลดลงคือ KTB และ TISCO

คุณภาพสินเชื่อยังยืดหยุ่นท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับโควิด-19

  • แม้ผลกระทบจากโควิด-19 ยังไม่หายไปไหน แต่ NPL ratio ของกลุ่มธนาคารไทยปรับลดลงเหลือ 2.9% QoQ ใน 1Q22 (4Q21: 3.0% QoQ) มาอยู่ที่ 5.31 แสนล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างสินเชื่อเชิงรุก เศรษฐกิจที่ค่อยๆ ปรับดีขึ้น และฐานสินเชื่อที่สูงขึ้น สาเหตุที่ทำให้ NPL ratio ลดลงมาจาก NPLs กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่ลดลง แต่หนี้เสียของกลุ่ม SME เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 5 ไตรมาสแล้วใน 1Q22 สำหรับ สินเชื่อผู้บริโภคพบว่ามี NPLs เพิ่มขึ้นในกลุ่มสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล
  • จาก 7 ธนาคารที่วิเคราะห์พบว่า TISCO มี NPLs ที่ลดลงมากสุด 11.5% QoQ ใน 1Q22 ส่วนธนาคารอื่นที่มี NPLs ลดลงคือ KKP KTB และ SCB
  • แม้ยอด NPLs สูงขึ้นแต่อัตราการตั้งสำรองหนี้ฯ ของกลุ่มโดยรวมยังโตต่อเนื่องเป็น 167% เป็นเพราะการตั้งสำรองส่วนเพิ่มเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น ธนาคารส่วนใหญ่ต่างรายงานอัตราการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่สูงขึ้น ทั้งนี้ด้วยการที่ TISCO มี NPLs ลดลงบวกกับตั้งสำรองเพิ่มเติม จึงทำให้มีอัตราการตั้งสำรองหนี้ฯ สูงสุดที่ 262% ใน 1Q22
- Advertisement -