บล.ทรีนีตี้:
INTER PHARMA – อินเตอร์ ฟาร์มา (IP)
กำไร 1Q65 ยังคงแข็งแกร่ง มอง 2Q65F กำไรกลับมาใกล้ High เดิม
- กำไร 1Q65 จำนวน 30 ล้านบาท ลดลง 16.2% QoQ และเพิ่มขึ้น 53.2% YoY ซึ่งโดยปกติ 1Q ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงที่กำไรต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสอื่น
- คาดกำไรไตรมาสที่เหลือลุ้นทำ New High เนื่องจากสถาณการโควิด-19 ที่ผ่อนคลาย รวมถึงการรับรู้รายได้จาก LAB PHARMACY ที่จะเข้ามาในไตรมาสต่อไป และการต่อยอดธุรกิจผ่านการจับมือกับ PTT
- คาดกำไรปี 65 เติบโตต่อเนื่อง โดยเรามองว่าบริษัทจะสามารถทำกำไรทั้งปีได้ ใกล้เคียงกับประมาณการของเรา
- คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายเดิมที่ 29.43 บาท จากวิธี DCF
ผลการดำเนินงาน 1Q65
- กำไรสุทธิ 1Q65 เท่ากับ 30 ล้านบาท (-16.2%QoQ, +60.4%YoY) มาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น และการบริหารควบคุม COGS และ SG&A ที่ดีขึ้น
- รายได้รวม 1Q65 เท่ากับ 273 ล้านบาท (-8.14% QoQ +35.8% YoY) โดยแบ่งเป็นรายได้จากการขาย 270 ล้านบาท และรายได้อื่นๆ 3 ล้านบาท ซึ่งรายได้จากการขายส่วนใหญ่มาจากการเติบโตของผลิตภัณฑ์ยารักษาโรคจาก Modern Pharma และ Interphrama (85 ล้านบาท คิดเป็น 31.1% ของรายได้ทั้งหมด) ผลิตภัณฑ์รักษาสุขภาพ และชะลอวัย (85.1 ล้านบาท คิดเป็น 31.2% ของรายได้ทั้งหมด) และถึงผลิตภัณฑ์ดูแลและส่งเสริมสุขภาพของสัตว์เลี้ยง (73.4 ล้านบาท คิดเป็น 26.9% ของรายได้ทั้งหมด)
- อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 43.2% (low season, but higher GM than 4Q21?) (41.5% ใน 4Q64 และ 49.0% ใน 1Q64) เพิ่มขึ้น QoQ เนื่องจากบริษัทได้มีการปรับปรุงค่าใช้จ่ายของโรงงานยา (เทวา ฟาร์มา) ที่ซื้อเข้ามาในไตรมาส 3/2564 จากที่ก่อนซื้อเดิมเป็นธุรกิจที่มีอัตรากำไรขั้นต้นที่ต่ำ ทำให้อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้เพิ่มขึ้นใน 3Q65 และ 4Q65 แต่ด้วยการปรับปรุงของบริษัท ทำให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดียิ่งขึ้น
- สัดส่วน SG&A ต่อยอดขายอยู่ที่ 27.9% (26.8% ใน 4Q64 และ 33.3% ใน 1Q64) เพิ่มขึ้น QoQ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับพนักงานที่สูงขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทางของพนักงานขายที่เพิ่มขึ้น
- โดยสรุปกำไรไตรมาส 1/2565 คิดเป็นสัดส่วนราว 17.6% จากประมาณการกำไรทั้งปี 2565 ที่ 170 ล้านบาท โดยเรายังคงประมาณการเดิมไว้ เนื่องจากถ้าเราหักกำไรที่คาดการณ์จาก LAB PHRAMARCY (ประมาณ 50 ล้านบาท) สัดส่วนของกำไรไตรมาส 1/2565 จะอยู่ที่ 25.2% ของกำไรทั้งหมด และเรามองว่ากำไรจาก LAB PHRAMARCY ที่จะเข้ามาในไตรมาสต่อไปจะใกล้เคียงกับประมาณการกำไร
แนวโน้มไตรมาส 2/2565
คาดทำกำไร New High จากรายได้การขายของธุรกิจหลักที่เติบโตขึ้น เนื่องจากเทรนด์การรักสุขภาพ รวมถึงเทรนด์สัตว์เลี้ยงที่กำลังโตแรง และจะเริ่มรับรู้รายได้จาก LAB PHARMACY ที่จะเข้ามาในไตรมาส 2/2565 เป็นไตรมาสแรก
เราคาดว่าค่าใช้จ่ายโดยรวมจะเพิ่มขึ้นนิดหน่อย เนื่องจากเงินเฟ้อในประเทศที่รุนแรง อาจส่งผล ให้ Gross Profit Margin ลดลง
อินโนบิก บริษัทย่อยทางอ้อมของ ปตท. เข้าถือหุ้น 20%
บริษัทได้มีการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 74,510,000 หุ้น แบบ Private Placement ให้กับบริษัท อินโนบิก แอลแอล โฮลดิ้ง จำกัด (“INNIOBIC LL”) (ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อมของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (“PTT”) ซึ่งจะถือหุ้นในบริษัทคิดเป็นสัดส่วน 20% ของทุนจดทะเบียนภายหลังการเพิ่มทุน โดยเรายังไม่ได้นำหุ้นเพิ่มทุนมาคำนวนในประมาณการ โดยบริษัทมีแผนที่จะนำเงินเพิ่มทุนไปใช้ในการขยายธุรกิจเดิมที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ เช่น ร้านขายยา โรงงานสมุนไพร Tele-pharmacy Telemedicine เป็นต้น รวมถึงนำเงินไปลงทุนในโครงการ EU standard ของการผลิตยาตา การสร้างแผนกผลิตเวชสำอาง และเม็ดฟู่ การขยายสาขา การจ่ายเงินคืนเงินกู้ และเป็นเงินหมุนเวียน
เป้าหมายและแผนดำเนินการปี 2565F
เป้าหมายการขยายสาขายังอยู่ที่ 40 สาขา (จาก 22 สาขาในปี 2564) แต่อาจจะมีการโตกว่าเป้าที่ตั้งไว้ โดยตั้งเป้าขยายสาขา LAB PHARMACY ไม่ต่ำกว่า 10 สาขา คาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงไตรมาส 4/2565 และจะมีการให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์มากขึ้น เพื่อให้มีความได้เปรียบในการคุมราคาสินค้า รวมถึงยังมีการร่วมมือทางธุรกิจกับ PTT ที่จะเริ่มเห็นช่วงครึ่งปีหลัง และคาดว่าโมเมนตัมของแต่ละประเภทธุรกิจจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด แต่อาจจะต้องระวังเรื่องค่าใช้จ่ายที่อาจจะสูงกว่าคาด เนื่องจากค่าเงินเฟ้อ เราคาดว่ารายได้ 2565F จะอยู่ที่ 170 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 62% จากปีก่อน คิดเป็น EPS 0.57 บาท
คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายเดิม 29.43 บาทต่อหุ้น
คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายใหม่ 29.43 บาทต่อหุ้น อ้างอิงวิธี DCF สมมติฐาน WACC 7% Terminal growth 3% ณ ราคาปัจจุบัน ซื้อขายบน Forward P/E ราว 37.2 เท่า โดยเรายังไม่ได้นำหุ้นเพิ่มทุนมาคำนวนในประมาณการ เนื่องจากหุ้นเพิ่มทุนยังไม่ได้ถูกนำเข้ามาซื้อขายในตลาด (ถ้ารวมหุ้นเพิ่มทุน 2022F และ 2023F EPS จะอยู่ที่ 0.46 และ 0.66 บาท คิดเป็น Forward P/E ปี 2565 ราว 46 เท่า โดยเรามองว่า IP ยังมีช่องว่างในการเติบโตอีกมากมาย ไม่ว่าจะมาจากธุรกิจแปรรูปกัญชา รวมถึงตลาดต่างประเทศที่สามารถเติบโตได้ และโครงการการผลิตยาตาที่กำลังศึกษาอยู่
ซึ่งเราได้ทำตาราง DCF Sensitivity Analysis ที่ BETA ในกรอบ 0.5 ถึง 0.75 และบน Terminal Growth ระหว่าง 1-5% เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน
IP DCF Sensitivity Analysis
Source: Trinity Research and Company Data
ความเสี่ยง: การแข่งขันในตลาดสุขภาพและความงามรุนแรง, พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง