บล.หยวนต้า (ประเทศไทย):
Action TRADING
TP upside (downside) +11.7%
Close Jun 13, 2022 Price (THB) 2.98
12M Target (THB) 3.34
What’s new?
- IFS รายงานกำไรสุทธิ 43 ลบ. ลดลง 2.5%QoQ แต่ยังเติบโต 20.2%YoY หนุนจากรายได้ดอกเบี้ยรับและรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นตามพอร์ตสินเชื่อ ขณะที่ค่าใช้จ่ายยังคุมได้ดี แม้มีการตั้งสํารองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
- 2Q65 คาดกำไรเติบโตต่อได้ จากการปล่อยสินเชื่อกลุ่ม SME ที่เร่งตัวขึ้น ส่วนภาพทั้งปี 2565 คาด IFS มีกำไร 164 ลบ. เติบโต 7%YoY หนุนจากความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว
Our view
- แม้เรามองธุรกิจของ IFS ยังมีทิศทางเติบโต และคาดมี Div. Yield สูงราว 5.4% แต่ด้วยราคาหุ้นที่มี Upside ค่อนข้างจำกัด จากมูลค่าพื้นฐานปี 2565 ที่ 3.34 บาท (อิงวิธี Gordon Growth Model โดย Ke=10.8%, Sustainable ROE=10.5%, LTG=2%) เราจึงคงคำแนะนำเพียง “Trading”
IFS CAPITAL (IFS) ผลดำเนินงานเติบโตต่อได้ แต่ราคาหุ้นมี Upside จำกัด
กำไรสุทธิ 1Q65 ชะลอเล็กน้อย QoQ แต่ยังเติบโต 20.2%YoY
IFS รายงานกำไรสุทธิ 1Q65 จำนวน 43 ลบ. ลดลง 2.5%QoQ หลังผ่านช่วง High Season ที่มีความต้องการสินเชื่อเข้ามามากในช่วงปลายปี แต่ยังเติบโต 20.2%YoY ใกล้เคียงคาด หนุนด้วย 1) รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิที่ปรับขึ้น 9.8%YoY สอดรับไปกับพอร์ตสินเชื่อรวมที่ขยับขึ้น 6.6%YoY หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 บรรเทาความรุนแรงลงมาก และมีความต้องการใช้สินเชื่อจากลูกค้ากลุ่ม SME เข้ามามากขึ้นเพื่อเตรียมกลับมาขยายธุรกิจ ช่วยชดเชยปัจจัยลบจาก NIM ที่ปรับตัวลงเล็กน้อยเหลือ 6.6% จาก 6.7% ใน 1Q64 ซึ่งหลักๆ มาจากสัดส่วนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำอย่าง Factoring ที่ปรับตัวขึ้นจาก 91.6% ใน 1Q64 เป็น 92.3% ของพอร์ตรวม ณ สิ้น 1Q65 กดดันให้ Asset Yield เหลือ 7.6% จาก 7.8% ใน 1Q64 2) รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 11%YoY ได้อานิสงค์บวกจากปริมาณธุรกรรมที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินเชื่อ Factoring ที่มีค่าธรรมเนียมสูงกว่าผลิตภัณฑ์อื่น และ 3) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปรับลง 3.4%YoY หลังคุมค่าใช้จ่ายในส่วนงานต่างๆ อย่างเข้มงวด ช่วยลด Cost to Income Ratio ให้ลดลงเหลือ 41.1% จาก 47% ใน 1Q64 ในแง่คุณภาพของพอร์ตสินเชื่อมีพัฒนาการที่ดีขึ้น โดยตัวเลข NPL Ratio ปรับลดลงเหลือ 2.97% จาก 3.12% สอดรับกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ที่สูงขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัว ส่วน Coverage Ratio ปรับลงเล็กน้อยเหลือ 104.2% จาก 108.1% ใน 4Q64 แต่ยังถือว่าไม่ได้ต่ำกว่าระดับ Coverage Ratio ปกติของบริษัทที่ราว 90-100%
มองกำไรปรับขึ้นต่อใน 2Q65 ส่วนทั้งปีคาดกำไรสุทธิเติบโต 7%YoY
กำไรสุทธิ 1Q65 คิดเป็น 26.1% ของประมาณการทั้งปี โดยเรายังคงประมาณการเดิม โดยคาดผลดำเนินงานของบริษัทจะมีทิศทางปรับขึ้นเล็กน้อย QoQ ใน 2Q65 หนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลัง ภาครัฐฯ คลายล็อคในหลายส่วนทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้ความต้องการสินเชื่อในกลุ่ม SME ซึ่งเป็นลูกค้าหลักของบริษัทเริ่มกระเตื้องขึ้น เนื่องจากมีความยืดหยุ่น และความคล่องตัวมากกว่าการขอสินเชื่อจากธนาคาร เราคาดรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมจะปรับตัวขึ้นตาม ขณะที่ด้านค่าใช้จ่ายคาดยังทรงตัวในระดับที่ใกล้เคียงกับ 1Q65 แต่คาดการตั้งสำรองจะปรับขึ้นเล็กน้อยตามปริมาณสินเชื่อที่เร่งตัวขึ้น ส่วนทั้งปี 2565 ยังมองเป็นบวก โดยบริษัทตั้งเป้าขยายสินเชื่อในกลุ่มผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างและร้านอาหาร (เน้นใช้บริการสินเชื่อ Factoring ทำให้เป็นกลุ่มลูกค้าที่ให้ผลตอบแทนต่ำแต่มีความเสี่ยงไม่สูง) ที่เริ่มกลับมาขยายธุรกิจเป็นหลัก พร้อมๆ กับการติดตามสถานะของลูกหนี้ในพอร์ต เพื่อปรับรูปแบบการชำระเงินให้สอดคล้องกับกระแสเงินสดของลูกค้า ลดความเสี่ยงที่จะเกิดหนี้เสีย ส่วนสถานะทางการเงิน ณ สิ้น 1Q65 บริษัทมี D/E Ratio อยู่ที่ 1.3x และมีแผนใช้เงินกู้ระยะ ยาวมากขึ้นเพื่อล็อคต้นทุนทางการเงิน ขณะที่การปล่อยสินเชื่อของบริษัทส่วนใหญ่เป็นระยะสั้น ทำให้สามารถส่งผ่านต้นทุนให้กับลูกค้าได้บางส่วน เพื่อลดผลกระทบในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น เราจึงคงคาดทั้งปี 2565 IFS จะมีกำไรสุทธิ 164 ลบ. เติบโต 7%YoY
ปันผลดี แต่ราคาหุ้นมี Upside ค่อนข้างจำกัด
แม้เรามองธุรกิจของ IFS ยังมีทิศทางเติบโตและคาดมี Div. Yield สูงราว 5.4% แต่ด้วยราคาหุ้นที่มี Upside ค่อนข้างจำกัด จากมูลค่าพื้นฐานปี 2565 ที่ 3.34 บาท (อิงวิธี Gordon Growth Model โดย Ke=10.8%, : Sustainable ROE=10.5%, LTG=2%) เราจึงคงคำแนะนำเพียง “Trading”