KS Daily View 15.06.2022 > บาทอ่อนค่าสุดรอบ 5 ปี หุ้นส่งออก และ Bond Yields สหรัฐปรับขึ้นต่อทำ New High SET คาด 1590-1600 จุด หุ้นแนะนำ TU
ต่างประเทศ : ประเด็นสำคัญที่ตลาดหุ้นโลกให้น้ำหนักในวันนี้คือ รอผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) ซึ่งประเด็นเรื่อง Fed ที่ตลาดได้ตอบรับ(Price in) ไปในราคาหรือดัชนีแล้ว KS ประเมิน 1)ตอบรับคาดการณ์ Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 75:75:50 bps ใน 3 การประชุมครั้งหน้าและดอกเบี้ยสหรัฐจะขึ้นไปทำจุดสูงสุด(Peak) อยู่ที่ 4%ในเดือน มิ.ย.2022 2.)ตอบรับความเสี่ยงโอกาสเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอย(Recesion)ด้วยความน่าจะเป็นอยู่ที่ 35%ใน 12 เดือนข้างหน้า 3.)คาดเงินเฟ้อสหรัฐจะทำจุดสูงสุด(Peak)ที่ระดับ 8.8%ในช่วงงวด 3Q22 4)ตอบรับค่าแรงสหรัฐทำจุดสูงสุดแล้วในงวด 2Q22 และทยอยลดลง พร้อมกับอัตราการว่างงาน(Unemployment rate) จะเริ่มปรับขึ้น ขณะที่ Nonfarm Payrollจะเริ่มลดลง
โดยการประชุม Fed วันนี้ KS ประเมินเป็น 3 กรณี (Scenario) ติดตามจะออกมาทาง? คือ
1.) กรณีฐาน (Base case) ถ้าออกมาตามที่เราคาด ประเมินว่าค่าเงิน Dollar, Bond Yields จะเริ่มพักฐาน ในส่วนของตลาดหุ้นจะเริ่ม Rebound ในช่วงสั้นๆราว 1-2% สำหรับ SET Index ประเมินแนวรับจะไม่หลุด 1,585 จุด ส่วนแนวต้านคาดอาจจะเห็นการ Rebound ขึ้นไปทดสอบ 1630 จุด โดยหุ้นแนะนำ คือ กลุ่มโรงกลั่น(TOP, BCP, ESSO), กลุ่มส่งออกอาหาร (ASIAN, TFG)
2.) กรณีที่ดี (Best case) คือ ธนาคารกลางสหรัฐ Surprise ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 50bps : 50 : 50 ประเมินตลาดหุ้นโลกและหุ้นไทยมีโอกาสเด้งกลับ คาดแนวต้านของ SET จะอยู่ที่ 1,666 จุด หุ้นแนะนำลงทุนคือ กลุ่มการเงิน, กลุ่มโรงไฟฟ้า, หุ้นเติบโต(Growth Stock) อาทิ MTC, CKP, BE8, JMT
3.) กรณีเลวร้ายสุด (Worst case) คือ ประธาน Fed Powell ส่งสัญญาณเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย(Hawkish) ด้วยตัวเอง โดยประโยคที่นักการเงินจะใช้คือคำว่า “Expeditiously” กล่าวคือ ส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ
75 :75:75:75:75 bps ติดต่อกัน 5 ครั้งในการประชุม Fed ที่เหลือของปี พร้อมเร่งเพิ่มวงเงินในการทำ QT ขึ้นมาแตะระดับ 100bn ประเมินตลาดหุ้นโลกจะปรับลง คาด SET Index ระดับอยู่ที่ 1,530+
ส่วนประเด็นที่เป็นกระแส หลักๆ คือ “ค่าเงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 5 ปีแตะ 35 บาท” (ห้องค้ากสิกรคาดเงินบาทตลอดสัปดาห์นี้ อยู่ที่ 34.4 -35.1 บาท) ผลจากสกุลดอลลาร์ Dollar Index แข็งค่าทำจุดสูงสุดและยืนเหนือ 105 จุด โดยรวมเงินบาทที่อ่อนจะบวกต่อหุ้นส่งออก (จากการศึกษาของ KS เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาทจะส่งผลบวกต่อ Bottom line โดย SVI +25%, KCE, ASIAN +15%, TU +8%, GFPT +1% แต่จะกระทบกับ กลุ่มโรงไฟฟ้า คือ BGRIM -9.9%, EGCO -8.4% คาดจะได้ Sentiment เชิงลบ) โดย KS แนะนำเน้นลงไปที่กลุ่มส่งออกอาหาร อาทิ ASIAN, TU, GFPT, CPF,TFG อีกประเด็นคือ “Bond Yields สหรัฐยังปรับขึ้นติดต่อกัน 9 วัน เช้านี้ อายุ 2 ปีขยับขึ้นมาอยู่ที่ 3.41%ทำ New High เท่ากับในปี 2007 ส่วน Bond Yields อายุ 10 ปี อยู่ที่ 3.456% โดยรวมยังเป็น Sentiment บวกต่อหุ้น BLA แนะนำเก็งกำไร แต่อีกฝั่ง US 10-2 Year Treasury Yield Spread ใกล้ติดลบ ทำให้ความกังวลเศรษฐกิจถดถอยยังกดดันตลาดหุ้น
กลยุทธการลงทุน : Theme หุ้นในช่วงสั้น ยังแนะนำเก็งกำไรหุ้น BLA จากกระแส Bond Yields สหรัฐยังปรับขึ้น, กลุ่มที่กระแสบวกจากเงินบาทอ่อนค่า อาทิ กลุ่มส่งออกเน้นไปที่กลุ่มส่งออกอาหาร อาทิ ASIAN, TU, GFPT, CPF กลุ่มท่องเที่ยวและโรงแรม ERW CENTEL, กลุ่ม Defensive อาทิ กลุ่ม ICT แนะนำ TRUE, DTAC กลุ่มโรงพยาบาล อาทิ BH, BDMS,VIBHA ส่วนกลุ่มที่แนะนำชะลอลงทุน คือ กลุ่ม Global Play ที่ได้รับความกังวลจากเศรษฐกิจถดถอย อาทิ กลุ่มพลังงาน, กลุ่มปิโตรเครมี, กลุ่มยานยนต์ และกลุ่มที่เคยได้ประโยชน์จาก Work From home เช่นกลุ่ม Gadget อุปกรณ์ IT และกลุ่ม Growth High PE
มุมมองตลาดหุ้น SET คาด 1590 -1600 จุด หุ้นแนะนำ TU
Top pick :
TU (ราคาพื้นฐาน 22.8 บาท) ได้ Sentiment บวกจากแนวโน้มเงินบาทที่อ่อนค่า ล่าสุด แตะ 35 บาท โดยเงินบาทที่อ่อนค่าๆทุกๆ 1 บาทจะส่งผลบวกต่อ Bottomline บริษัทราว 8% โดยราคาหุ้น TU ขณะนี้มูลค่าหุ้นที่ไม่แพง โดยซื้อขายอิงตาม PER ปี 2566 ที่ 10.1 เท่า หรือ -2 SD ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PER ล่วงหน้าในอดีต
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
- วันพุธ ติดตามตัวเลขการลงทุนทางตรงจากต่างชาติ (FDI) ของจีนใน 5M22 คาด +17% YoY ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนเดือน พ.ค. คาด -0.5% YoY ตัวเลข Retail sales ของจีน เดือน พ.ค. คาด -7.3% YoY การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของจีนใน 5M22 คาด +6% YoY ตัวเลข Retail sales ของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด +0.2% MoM สต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯรายสัปดาห์ ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ คาดปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 50bps. เป็น 1.25-1.50% ถ้อยแถลงของ Fed Powell และ Dot plot
- วันพฤหัสฯ ติดตาม ดุลการค้าของญี่ปุ่นเดือน พ.ค. คาดขาดดุล 2,022bn เยน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล 839bn เยน ผลการประชุมธนาคารอังกฤษคาดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25bps. เป็น 1.25% ตัวเลข Housing starts ของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด -1.5% MoM เป็น 1.7 ล้านยูนิต ตัวเลข Building permits ของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด -1.7% MoM เป็น 1.787 ล้านยูนิต
- วันศุกร์ ติดตามผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด +0.4% MoM และถ้อยแถลงของ Fed Chair Powell