รอบด้านตลาดหุ้น: วันนี้คาดดัชนี Sideways
Market wrap & Outlook
- ศุกร์ที่แล้วดัชนีย่อสลับเด้งทั้งวัน หุ้นกดดันตลาด ได้แก่ โรงกลั่น PTTGC TOP SPRC IRPC ESSO BCP พลังงาน-ปิโตรฯ อื่นๆ PTT PTTEP BANPU IVL และ JTS ขณะที่หุ้นบวกสวนตลาดมีธนาคาร KBANK BBL SCB โรงไฟฟ้า GULF EA BGRIM GPSC (รับข่าวขึ้น Ft + แนวโน้มต้นทุนเชื้อเพลิงชะลอ) สื่อสารฯ ADVANC TRUE DTAC ส่วน SMID Cap. แข็งกว่าตลาด เช่น OTO JAS FORTH FSMART BE8 TEAMG
- วันนี้คาดดัชนี Sideways คาดกลุ่มที่ยังคง Underperform ตามที่เราแนะให้ลดพอร์ตไปก่อนหน้านี้ คือ หุ้นตะกร้าเงินเฟ้อ ทั้งหลาย เช่น พลังงาน สินค้าโภคภัณฑ์ (เปราะบางและอ่อนไหวสุดกับดอกเบี้ยและเศรษฐกิจ) สื่อสารฯ โรงพยาบาล เป็นต้น และเราคงแนะให้ นักลงทุนหันมาเก็บ หุ้นธนาคาร (เงินลงทุนและส่วนต่างดอกเบี้ยรับ ชอบเวลาดอกเบี้ยขยับขึ้น) หุ้นเติบโตสูงก้าวข้ามเงินเฟ้อ และเติบโตสอดรับกับเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังฟื้นตัวได้เร็ว
What to watch
- รัฐบาลขอโรงกลั่น-โรงแยกก๊าซส่งเงินช่วย 3 เดือน โดยส่วนของกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันขอให้นำส่งกำไรค่าการกลั่นน้ำมันดีเซล (คาด 5-6 พันลบ./เดือน) เข้าสู่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และเบนซิน (คาด 1 พันลบ./เดือน) เพื่อนำมาลดราคาน้ำมันเบนซินให้กับผู้ใช้ทันที คาดว่าจะลดลงลิตรอย่างน้อย 1 บาทต่อลิตร
- กระทรวงการคลังเสนอมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว (นอกเหนือจาก “เราเที่ยวด้วยกัน” เฟสใหม่) โดยจะให้บริษัทเอกชนที่นำพนักงานไปท่องเที่ยวในเมืองรอง สามารถนำค่าใช่จ่ายมาหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ส่วนเมืองหลักหักลดหย่อนได้ 1.5 เท่า จะมีผลระหว่างวันที่ 15 ก.ค.-31 ธ.ค.65
หุ้นแนะนำวันนี้
- BTS หุ้นรับธีมเปิดเมือง-กลับมาทำงานออฟฟิศ แต่ราคายัง Laggard และสะท้อนความกังวลประเด็นสัมปทานเข้าไปมากแล้ว
Tactical port: เพิ่ม BTS
Tactical Strategy – Weekly warm up: ลงสะท้อนดอกเบี้ยขึ้นสะท้าน
แนะนำการหมุนตามกลุ่มที่เรา นำเสนอแนวคิดไปแล้ว ตลอด 2-3 สัปดาห์ ที่ผ่านมา คือ ลดพอร์ตหุ้น ตะกร้าเงินเฟ้อ และหันมาสะสม หุ้น เล่นตามดอกเบี้ยขาขึ้น ตลอดจน หุ้น SMID Cap ก้าวข้ามเงินเฟ้อ Where’s the alpha หุ้นแนะนำประจำสัปดาห์ AOT CPF BEM สัปดาห์ที่แล้วผลตอบแทน BBL +4.14% KBANK +3.55% MINT -0.36%
Technical Daily (T)
หัวข้อ: Sector rotation….Domestic & Energy
แนะนำ ซื้อ
ADVANC แนวรับ 200 แนวต้าน 210-212 (stop loss < 198)
EA แนวรับ 81-82 แนวต้าน 88-90 (stop loss < 80)
CPALL แนวรับ 59-60 แนวต้าน 63-65 (stop loss < 58)
Global Investing Brief : Meta เปิดตัวร้านขายเสื้อผ้าดิจิทัลบนโลก Metaverse // General Motors ขึ้นราคารถกระบะ Hummer EV หลังต้นทุนสูงขึ้น
Highlight
Meta Platforms (Meta) เจ้าของแพลตฟอร์ม Facebook เปิดตัวร้านขายเสื้อผ้าดิจิทัลที่ผู้ใช้สามารถซื้อชุดจากนักออกแบบชื่อดังสําหรับอวตารของตัวเองในราคา $2.99-8.99 โดยมีเป้าหมายหลักคือเชื่อมโยงข้อมูลของผู้ใช้ Facebook, Instagram และบริการอื่นๆ ของบริษัทเข้าด้วยกัน และมุ่งสู่การสร้าง “Metaverse” ให้มีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ
- 3 ดัชนีหลักปิดผสมเมื่อคืนวันศุกร์ โดยดัชนี DJIA -0.1% ในขณะที่ S&P 500 +0.2% และ Nasdaq +1.2% ฟื้นตัวจากวันพฤหัสบดีที่ดัชนีปิดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 63 หนุนโดย AAPL +1.2%, MSFT +1.1%, KO +0.6% ด้านเจอโรม พาวเวล ให้สัมภาษณ์เน้นย้ำว่า Fed จะทำให้เงินเฟ้อลดลงสู่ระดับ 2% ตามเป้าหมายให้ได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและความเชื่อมั่นในสกุลเงินดอลลาร์ที่มีความสำคัญต่อประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
- General Motors (GM) ประกาศปรับราคารถกระบะ Hummer EV เพิ่มขึ้น $6,250 จากต้นทุนสินค้าโภคภัณฑ์และค่าขนส่งที่สูงขึ้น ปัจจุบันมียอดจองรถกระบะ Hummer EV ราว 80,000 คัน โดยมีอัตราการซื้อรถจากยอดจองสูงถึง 95% และ มีแนวโน้มที่บริษัทจะผลิตรถไม่ทันกับความต้องการที่อยู่ในระดับสูงจนถึงปี 67 ด้าน Bloomberg Consensus ให้ TP ที่ $60.47
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะหยุดทำการคืนนี้ เนื่องในวันเลิกทาส (Juneteenth Day)
ตลาดหุ้นฮ่องกง
- ดัชนีฮั่งเส็งปรับขึ้น 1.1% เมื่อวันศุกร์ นำโดย JD.com (9618) +6.1%, Meituan (3690) +5.2%, Alibaba (9988) +2.1% ด้านอัตราว่างงานของฮ่องกงเดือน มี.ค.-พ.ค. อยู่ที่ 5.1% ลดลงจาก 5.4% ในเดือน ก.พ.-เม.ย. หนุนจากอัตราว่างงานของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภค ที่ลดลงถึง 1.2% จากเดือน ก.พ.-เม.ย. เรามองว่าเป็นสัญญาณฟื้นตัวของการจ้างงาน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการสนับสนุนจากรัฐ และการระบาดของโควิดที่มีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ
- Xin Lijun CEO ธุรกิจค้าปลีกของ JD.com (9618) เผยมีความกังวลงบ 2Q22 จากสัญญาณการชะลอตัวของภาคบริโภคหลังมีการล็อกดาวน์ในช่วงก่อนหน้านี้ โดยบริษัทกำลังพิจารณาการเปิดตัวบริการขนส่งอาหารออนไลน์เพื่อขยายประเภทธุรกิจ อย่างไรก็ดี Xin มีมุมมองบวกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จากกฎระเบียบภาคธุรกิจเทคโนโลยีของจีนที่มีความสมเหตุสมผลมากขึ้น และ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่จะเริ่มสะท้อนผ่านงบ 3Q-4Q22 ด้าน Bloomberg Consensus ให้ TP ที่ HKD336.52
ตลาดหุ้นเวียดนาม
- ดัชนี VN ปิดลบ 1.6% เมื่อวันศุกร์ นำโดยกลุ่มธนาคาร VCB -3.8%, BID -2.2% และ CTG -4.7% จากความกังวลเรื่องแนวโน้มการปรับลดอัตราการเติบโตสินเชื่อสูงสุดของเหล่าธนาคารพาณิชย์จากเดิมที่ตั้งไว้ 14% ในปี 65 สู่ 11%-12% หากเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางเสียดนาม (SBV) เผยว่ายังไม่มีแผนการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในตอนนี้ นอกจากนี้ สภามีมติเรียกร้องให้ SBV ยกเลิกการกำหนดอัตราเติบโตสินเชื่อสูงสุดของธนาคารพาณิชย์ โดยมองว่าเป็นการจำกัดการเติบโตของเศรษฐกิจรวมถึงธุรกิจที่ต้องการใช้เงินทุน
- VCB ที่มีสัดส่วน 3% ในดัชนี VN 30 เผยผลประกอบการ 5M22 ดีต่อเนื่อง สินเชื่อเติบโต 12.8%YTD และ สัดส่วนหนี้เสีย (NPL) ที่ 0.7% ขณะที่จำนวนสินเชื่อที่ปรับโครงสร้างหนี้ลดลงครึ่งหนึ่ง และ กำไรจากการดำเนินงานก่อนเงินสำรอง 5M อยู่ที่ VND19tn เป็นไปตามเป้า หรือคิดเป็น 42% ของคาดการณ์ FY22 นอกจากนี้ Private Placement ในปีนี้ที่ 6.5% ยังอยู่ในระหว่างการวางแผน โดยโบรคเวียดนามให้ TP ที่ VND99,700
US Special Report – เปิดกลยุทธ์ฝ่ามรสุมหุ้นสหรัฐฯ ครึ่งปีหลัง
- Fed ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมวันที่ 14-15 มิ.ย. เป็นไปตามที่ตลาดคาด โดยเราประเมินว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 0.5-0.75% ในการประชุมวันที่ 26-27 ก.ค. หลังคาดว่าเงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับสูง สาเหตุจาก 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) การจ้างงาน 2) ราคาปุ๋ย 3) ราคาบ้านสหรัฐฯ 4) ราคาน้ำมัน
- ในเชิง Valuation ถึงแม้ P/E ปัจจุบันของ S&P 500 (16 เท่า) จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีที่อยู่ราว 18 เท่า แต่เราประเมินว่ายังมี downside อีกเล็กน้อย หากเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีตช่วงที่เกิดเศรษฐกิจถดถอย (13.5 เท่า) ทั้งนี้ ได้เกิด Inverted Yield Curve ระหว่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ อายุ 2 และ 10 ปี อีกครั้งในรอบ 2 เดือน เมื่อ 13 มิ.ย. อาจเป็นสัญญาณเศรษฐกิจถดถอยใน 12-24 เดือนข้างหน้า
- ดัชนี S&P 500 ปรับลงมาแล้ว 23.6% นับจากจุดยอดเมื่อเดือน ม.ค. คิดเป็นเวลากว่า 6 เดือน ซึ่งหากเทียบกับตลาดหมีในอดีตที่มักใช้เวลาราว 8-15 เดือน ก็อาจมีโอกาสปรับลงต่อได้ อย่างไรก็ดีเนื่องจากกำไร S&P 500 ยังไม่ชะลอตัวลงมากนัก หลัง Bloomberg คาดโต 10% ในปี 65 และ 66 ดังนั้น เราจึงประเมินว่าตลาดหมีรอบนี้อาจใช้เวลาเพียง 8 เดือน นั่นหมายถึงหุ้นสหรัฐฯ อาจพบจุดต่ำสุดใน 3Q22
- ด้าน Morgan Stanley ประเมินราคาเป้าหมายของ S&P 500 ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 66 ไว้ที่ 3,900 จุด สำหรับกรณีปกติ, 4,450 จุด สำหรับกรณีดีที่สุด และ 3,350 จุด สำหรับกรณีแย่ที่สุด โดยปัจจุบันมี downside จากกรณีแย่สุดราว 9%
- เราประเมิน 3 ธีมการลงทุนฝ่าความผันผวนครึ่งปีหลัง ดังนี้ 1) หุ้น Quality MSFT, GOOGL, SPGI 2) หุ้นชนะเงินเฟ้อ RACE, CAT, V 3) Defensive หุ้นการแพทย์ JNJ, UNH, CVS, PFE และ สินค้าบริโภคจำเป็น KO, PEP, PG
Fed vs. เงินเฟ้อ สงครามที่ยังไม่จบง่ายๆ
- ผลประชุม Fed วันที่ 14-15 มิ.ย. ได้ข้อสรุปขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ครั้งแรกในรอบ 28 ปี และจะลดขนาดงบดุล (QT) เดือนละ $47.5bn เป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ โดยคณะกรรมการส่วนใหญ่มีความเห็นว่าจะขึ้นดอกเบี้ยไปถึง 3.4% ในปลายปีนี้ (Exhibit 1) จากเดิมที่ประเมินไว้เพียง 1.9% ขณะที่ในปีหน้า Fed มีมุมมองว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 3.8% เพิ่มขึ้นจากปีนี้เพียงเล็กน้อย ส่วนปี 67 Fed มองว่าจะกลับลงมาที่ 3.4% จึงอาจแปลได้ว่าดอกเบี้ยจะไม่ขึ้นเร็วเท่าปีนี้และอาจเริ่มเห็นการลดดอกเบี้ยในปี 67 เป็นต้นไป
- ด้วยเหตุนี้ เราจึงคาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 0.5-0.75% ในการประชุมวันที่ 26-27 ก.ค. ตามมุมมองของ Powell ซึ่งเราคาดว่าเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. จะยังอยู่ในระดับสูง (CPI อาจอยู่บริเวณ 8.3-8.6%YoY) จากสาเหตุดังต่อไปนี้
- ตัวเลขจ้างงานที่แข็งแกร่ง อาจส่งผลให้แรงงานในตลาดขาดแคลน ทำให้บริษัทต้องเพิ่มค่าจ้างเพื่อดึงดูดแรงงาน โดยค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมงเพิ่มขึ้นถึง 5.2%YoY ในเดือน พ.ค. สูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีที่อยู่ราว 2%YoY ซึ่งหากพิจารณาจาก Exhibit 2 จะเห็นถึงความสัมพันธ์ของค่าจ้างกับเงินเฟ้อที่ไปด้วยกัน
- ราคาปุ๋ยที่ปรับขึ้นกว่า 46% นับจากต้นปี (Exhibit 3) ส่งผลให้ราคาอาหารโลกปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากหากปุ๋ยมีราคาแพง จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารขึ้น โดยราคาอาหารและเครื่องดื่มมีน้ำหนักราว 14% ในการคำนวณเงินเฟ้อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE)
- ราคาบ้านในสหรัฐฯ ที่ยังอยู่ในระดับสูง (Exhibit 4) คาดว่าจะทำให้เงินเฟ้อยังมีแนวโน้มสูงเช่นกัน เนื่องจากราคาบ้านมีน้ำหนักราว 23% ในการคำนวณ PCE ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีน้ำหนักมากที่สุด
- ราคาน้ำมันที่อาจยังอยู่ในระดับสูง หากสงครามรัสเซีย-ยูเครนยังไม่จบ โดยสหภาพยุโรปจะลดการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียมากกว่า 90% ภายในปีนี้ อีกทั้งฝั่งอุปทานยังไม่เพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยอุปสงค์ได้อย่างเพียงพอ หลังกลุ่ม OPEC+ ยังไม่สามารถเพิ่มกำลังผลิตน้ำมันได้ตามโควต้าที่กำหนดไว้ (เส้นสีฟ้าใน Exhibit 5)
โควิด = โรคประจำถิ่น ติดตามความเสี่ยงกลายพันธุ์
- เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 65 Bill Gates ได้ให้สัมภาษณ์กับ Financial Times ว่ามีโอกาสมากกว่า 5% ที่เรายังไม่พ้นจุดต่ำสุดของโรคโควิด เนื่องจากเชื้อไวรัสยังมีโอกาสกลายพันธุ์ได้และอาจมีความรุนแรงขึ้น โดย Bill Gates เป็นผู้ที่เคยทำนายไว้เมื่อปลายปี 64 ว่าโรคโควิดจะกลายเป็นไข้หวัดธรรมดาในปีนี้ ซึ่งเรามองว่า Bill Gates ได้ทำนายอย่างถูกต้อง เนื่องจากหลายประเทศทั่วโลกได้ลดมาตรการคุมเข้มโควิดไปพอสมควรแล้ว เหลือการประกาศให้กลายเป็นโรคประจำถิ่นอย่างเป็นทางการโดย WHO
- จากคำทำนายของ Bill Gates ล่าสุดข้างต้น หากมีข่าวการกลายพันธุ์ของโควิดเกิดขึ้นอีกครั้ง เรามองว่ามีโอกาสที่หุ้นเทคโนโลยีที่เคยได้