บล.เคทีบีเอสที :
กำไร 2Q21 ดีตามคาด, เริ่มปล่อยสินเชื่อ KTBL ใน 3Q21E
เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” และราคาเป้าหมายที่ 90.00 บาท อิง 2022E PBV ที่ 7.4x (+3SD above 3-yr average PBV) บริษัทรายงานกำไรสุทธิ 2Q21 ที่ 1.68 พันล้านบาท (+46% YoY, +3% QoQ) ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาด โดยเป็นผลของค่าใช้จ่ายสำรองที่ปรับตัวลงคิดเป็น credit cost ที่ 519 bps จาก 2Q20 ที่ 1,012 bps ตามฐานสำรองที่สูง และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเป็น management overlay ด้านสินเชื่อ (ไม่รวม KTBL) อยู่ที่ +2% YoY, -2% QoQ โดยหดตัว QoQ จากผลกระทบ COVID-19 รอบ 3 ในขณะที่ NPL (ไม่รวม KTBL) ยังทรงตัวที่ 1.97% (1Q21=1.91%) จากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อที่มากขึ้น
ทั้งนี้เราคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2021E และปี 2022E ที่ 6.38 พันล้านบาท (+20% YoY) และ 7.44 พันล้านบาท (+17% YoY) จาก
1) สินเชื่อที่จะขยายตัวปีละ +8% YoY จากการปล่อยสินเชื่อที่ครบวงจรภายหลังที่เริ่มปล่อยสินเชื่อ KTBL ใน 3Q21E และ
2) credit cost ที่ทยอยลดลงเป็น 606 bps และ 455 bps จากอัตราการตั้งสำรองที่ลดลงจากการปล่อยสินเชื่อ secured เพิ่มขึ้น
ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น และ outperform SET +8% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา จากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รอบใหม่ที่ไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัย
อย่างไรก็ตามเราแนะนำ “ซื้อ” โดยเราประเมินว่ากำไรจะกลับมาขยายตัวสูงตั้งแต่ปี 2022E จากการปล่อยสินเชื่อ secured loan ที่มีความเสี่ยงต่ำ รวมทั้งการใช้จ่ายผ่านบัตรที่จะกลับมาดีขึ้น หลังการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตั้งแต่ ต.ค. 2021 ที่มีการฉีดวัคซีนทางเลือกมากขึ้น ราคาปัจจุบันเทรดที่ 2022E PBV 5.8x (+1SD) ยังน่าสนใจจากแนวโน้มผลการดำเนินงานที่จะขยายตัวต่อเนื่องที่ 2020-2022E EPS CAGR +18% และโอกาสในการขยายสินเชื่อเข้าสู่ digital platform ภายหลังที่ได้รับใบอนุญาต e-Money ในช่วงที่ผ่านมา
Event: 2Q21 results review
กำไรสุทธิ 2Q21 ตามคาดจากสำรองฯที่ต่ำ บริษัทรายงานกำไรสุทธิ 2Q21 ที่ 1.68 พันล้านบาท (+46% YoY, +3% QoQ) ใกล้เคียงกับที่ตลาด และเราคาด โดยขยายตัว YoY จาก
1) ค่าใช้จ่ายทางเงินที่ปรับตัวลง -7% YoY ตามต้นทุนทางการเงินที่ลดลงเป็น 2.70% (2Q20 = 2.96%) และ
2) ค่าใช้จ่ายสำรองที่ปรับตัวลง -45% YoY เนื่องจากไม่มีการต้องตั้งสำรองเพิ่มเป็น management overlay เหมือน 2Q20 ที่ 550 ล้านบาท
ในขณะที่กำไรสุทธิ 2Q21 ทรงตัว QoQ จากค่าใช้จ่ายสำรองที่ปรับตัวลง -5% QoQ เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น +4% QoQ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายพนักงานที่เพิ่มขึ้น +11% QoQ จากจำนวนพนักงานของบริษัท และ KTBL ที่เพิ่มขึ้น
ด้านสินเชื่อขยายตัว +7% YoY, +3% QoQ จากการรวมพอร์ตสินเชื่อของ KTBL จำนวน 4.3 พันล้านบาท ในขณะที่สินเชื่อที่ไม่รวม KTBL จะอยู่ที่ +2% YoY, -2% QoQ โดยสินเชื่อที่หดตัว QoQ สะท้อนให้เห็นการใช้จ่ายผ่านบัตรที่ยังไม่ดีขึ้นที่ -6% QoQ จาก COVID-19 รอบ 3 ในขณะที่ NPL ที่เพิ่มขึ้นเป็น 4.3% (1Q21=1.91%) เกิดจากการรวมพอร์ต KTBL ที่เป็น NPL มากถึง 51.7%
ทั้งนี้หากไม่รวมพอร์ต KTBL NPL จะทรงตัวที่ 1.97% จากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อที่มากขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ส.ค. 2020 ที่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยลง 2-3% และทำให้ credit cost (ไม่รวม KTBL) ปรับตัวลงเป็น 529 bps (1Q21 = 544 bps)
คงกำไรสุทธิปี 2021E/2022E ที่ขยายตัว +20% YoY/ +17% YoY เราคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2021E/2022E ที่ 6.38 พันล้านบาท (+20% YoY) และ 7.44 พันล้านบาท (+17% YoY) ตามลำดับ จาก
1) สินเชื่อที่เพิ่มขึ้นปีละ +8% YoY จากการเข้ารวมพอร์ต KTBL ตั้งแต่ 2Q21 และจะเริ่มปล่อยสินเชื่อรายย่อยที่ครบวงจรผ่าน KTBL ใน 3Q21E
รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจที่คาดว่าจะดีขึ้นในปี 2022E จากการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้น ทั้งภาคบังคับ 2 เข็ม และ Booster (ภายใต้สมมติฐานที่วัคซีน Moderna จะเข้าไทยตั้งแต่เดือน ต.ค.) ที่จะช่วยสร้างภูมิได้ดี และทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อไม่เพิ่มขึ้นสูง,
2) ต้นทุนทางการเงินที่ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2.6% จากปีก่อนที่ 2.7% และ
3) credit cost จะทยอยลดลงเป็น 606 bps และ 455 bps จาก i. management overlay ที่สูงถึง 1.0 พันล้านบาท และ ii. อัตราการตั้งสำรองที่ลดลงจากการปล่อยสินเชื่อ secured (KTBL และพี่เบิ้ม)
Valuation/Catalyst/Risk
ราคาเป้าหมาย 90.00 บาท อิง 2022E PBV ที่ 7.4x (+3SD above 3-yr average PBV) จากผลการดำเนินงานที่จะขยายตัวต่อเนื่องคิดเป็น 2020-2022E EPS CAGR +18% หนุนโดยสภาพเศรษฐกิจที่จะกลับมาดีขึ้นในปี 2022E, การใช้จ่ายผ่านบัตรที่ดีขึ้น, การกระจายความเสี่ยงจากสินเชื่อไม่มีหลักประกันเป็นสินเชื่อที่มีหลักประกัน และจะมีบทบาทหลักที่จะเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อรายย่อยของ KTB