บล.พาย: 

KBANK บมจ.ธนาคารกสิกรไทย กลับสู่การดำาเนินงานปกติ

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 174.00 บาท มีมุมมองเชิงบวกต่อการร่วมทุนระหว่างธนาคารและ JMT คาดธนาคารจะทำกำไรได้มากขึ้นจากอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ที่สูงขึ้น และคุณภาพสินเชื่อที่ปรับดีขึ้น พัฒนาการดังกล่าวจะช่วยให้ธนาคารใช้เงินทุนของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งเน้นการขยายธุรกิจปกติของธนาคารที่สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น

การร่วมทุนระหว่างธนาคารและ JMT

  • ธนาคารได้ร่วมทุนกับบริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) เพื่อจัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์ เจเค จำกัด (JK AMC) ที่จะช่วยให้ธนาคารบริหารจัดการหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังมอบทางเลือกการชำระหนี้ให้ผู้กู้ยืมตามความเหมาะสมของความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้มากขึ้น
  • ธนาคารมีแผนขาย NPLs มูลค่า 5.0 หมื่นล้านบาทให้กับ JK AMC ภายในปี 2022 ซึ่งจะช่วยบรรเทา NPLs ในอนาคตลง ทั้งยังช่วยกระตุ้น NIM และลดความจำเป็นในการตั้งสำรองหนี้ฯ ในอนาคตลงอีกด้วย การขาย NPLs จะช่วยเพิ่มสภาพคล่อง และเอื้อให้ธนาคารหันมามุ่งเน้นธุรกิจปกติได้มากขึ้น
  • เมื่อดูจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ จึงคาดว่า NPLs ใหม่อาจมาจาก 1) สินเชื่อบางส่วนในมาตรการช่วยเหลือที่กลายเป็น NPLs 2) ผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และ 3) การเร่งปรับชั้นสินเชื่อขั้นที่ 2 เป็น NPLs

มองบวกต่อดีลร่วมทุน

  • มีมุมมองเชิงบวกต่อดีลร่วมทุนข้างต้นเ พราะจะช่วยยกระดับคุณภาพสินเชื่อ และการทำกำไรของธนาคารในอนาคตขึ้นได้ แต่ยังรอรายละเอียดเพิ่มเติม หลังประกาศงบ 2Q22 ในช่วงปลายเดือน ก.ค.
  • คงประมาณการการเติบโตของกำไรสุทธิที่ 14% YoY สำหรับปี 2022 และ 10% YoY สำหรับปี 2023 หนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้น และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 174.00 บาท

  • คงคำแนะนำ “ซื้อ” เพราะ 1) มีแนวโน้มการเติบโตที่มั่นคงจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้น 2) มีสำรองหนี้ฯ เพียงพอต่อ NPLs ใหม่ 3) มี upside จากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย และ 4) มูลค่าหุ้นน่าดึงดูด
  • มูลค่าพื้นฐานคำนวณด้วยวิธี Gordon Growth Model (ROE 9%, อัตราการเติบโตที่ 2%) อิง 0.8x PBV22E หรือ -0.5SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี

สรุปภาพรวมบริษัท บริหารสินทรัพย์ เจเค จํากัด (JK AMC)

  • JK AMC คือบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด (KVISION) ที่ KBANK ถือครองอยู่ทั้งหมด และบริษัทลูกของ JMT อย่างบริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จำกัด (JAM) โดย JK AMC ได้รับการอนุมัติสำหรับการจดทะเบียนเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แล้ว ทั้งนี้ KVISION ได้ถือหุ้นในสัดส่วน 50% ของจำนวนหุ้นที่ออก และจำหน่ายใน JK AMC ทั้งหมด ส่วนอีก 50% นั้นถือโดย JAM
  • JK AMC มีทุนแรกเริ่มสำหรับการจัดตั้งบริษัทที่ 1.0 หมื่นล้านบาท บริษัทประกอบธุรกิจบริหารจัดการ NPLs ซื้อ NPLs ที่มีและไม่มีหลักประกันจาก KBANK และสถานบันการเงินหรือบริษัทอื่น เพื่อนำการบริหารจัดการต่อ บริษัทมีเป้าหมายในการก้าวเป็นผู้เล่นเบอร์ 1 ในธุรกิจบริหารจัดการ NPLs ภายใน 3 ปี
  • KBANK มีแผนขาย NPLs มูลค่า 3.0 หมื่นล้านบาทให้กับ JK AMC ในเดือน มิ.ย. ทบต้นจากการขาย NPLs 2.0 หมื่นล้านบาทที่จะขายใน 2H22 ทาง KBANK จึงคาดว่าเงินทุนขั้นที่ 1 ของตนจะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด โดยนอกจากพัฒนาการดังกล่าวจะทำให้ NPLs ของธนาคารลดลงแล้วอาจช่วยให้อัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ทรงตัวในระดับราว 158% ณ 1Q22 ได้ ทั้งนี้ ถ้าอิงสมมติฐานว่า KBANK จะขาย NPLs จำนวน 5.0 หมื่นล้านบาทให้กับ JK AMC จะทำให้ NPLs โดยรวมของธนาคารลดลงอย่างมากเหลือราว 5.65 หมื่นล้านบาท จาก 1.06 แสนล้านบาทใน 1Q22 ขณะที่ NPL ratio อาจลดลงเหลือประมาณ 2% หลังการขาย NPLs 5.0 หมื่นล้านบาท เทียบกับ 3.8% ใน 1Q22 แต่ NPLs โดยรวมของธนาคารอาจออกมาสูงกว่าคาดเพราะ 1) NPLs ใหม่ที่เกิดจากการปรับชั้นสินเชื่อขั้นที่ 2 เป็น NPLs และ 2) สินเชื่อบางส่วนในมาตรการช่วยเหลือที่กลายเป็น NPLs
  • ผู้บริหารระบุว่า JK AMC จะเริ่มดำเนินงานใน 3Q22 และน่าจะเริ่มรับรู้รายได้ใน 4Q22 ขณะที่คาดว่า JK AMC จะทำกำไรสุทธิได้ตั้งแต่ปีแรกของการดำเนินงาน เมื่อดูจากประวัติการทำกำไรของ JMT จึงคาดว่า JK AMC จะมีอัตรากำไรสุทธิที่ประมาณ 20%-30%
  • ผู้บริหารคาดพอร์ต JK AMC จะเพิ่มเป็น 1.0 แสนล้านบาทในปี 2025 ด้วย NPLs ใหม่ที่มาจาก KBANK และสถาบันการเงินอื่น

Revenue breakdown

รายได้ธนาคารมาจาก 3 แหล่งดังนี้

  • รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ คิดเป็น 73% ของรายได้รวมในปี 2021 และนับเป็นรายได้ก้อนใหญ่ที่สุดของธนาคาร  ปัจจัยสนับสนุนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ คือ การเติบโตของสินเชื่อและอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM)
  • รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ คิดเป็น 22% ของรายได้รวมในปี 2021 ประกอบด้วยรายได้จากค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมค่าธรรมเนียมการขายประกันผ่านธนาคาร และค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการสินทรัพย์
  • รายได้อื่นๆ คิดเป็น 6% ของรายได้รวมในปี 2021 ประกอบด้วยกำไรการลงทุน กำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินตามมูลค่ายุติธรรมที่บันทึกผ่านงบกำไรขาดทุน ค่าเบี้ยประกันรายได้เงินปันผล และรายได้อื่นๆ
- Advertisement -