Daily Focus Selective Play

2022 SET Target: 1670

ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index แกว่งตัว Sideways ตามคาดโดยรีบาวด์ขึ้นมาได้เล็กน้อย 4.34 จุด หลังจากร่วงแรงวันก่อนหน้า การแกว่งตัวค่อนข้างแคบ และตลาดยังขาดปัจจัยใหม่เข้ามากระตุ้นอย่างชัดเจน หุ้นที่หนุนตลาดสูงสุดได้แค่ CPAL PTT ADVANC เป็นต้น สถาบันในประเทศพลิกมาชื่อสุทธิในตลาดหุ้น 1.1 พันลบ. ขณะที่นัก ลงทุนต่างชาติยังขายต่อเนื่องแต่บางลงเหลือ 747 ลบ. (แต่ Long Index Futures หนาแน่น 1.9 หมื่นสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index ยังคงแกว่ง Sideways กรอบ 1,565-1,580 จุด ภาพรวมตลาดยังขาดปัจจัยใหม่เข้ามาหนุน ขณะที่สัปดาห์นี้จะมีตัวเลขเศรษฐกิจสําคัญออกมามากขึ้น ทั้งเงินเฟ้อไทยและการจ้างงานของสหรัฐฯ โฟกัสของตลาดปัจจุบันยังคงอยู่ที่ความกังวลว่าเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ และยุโรปเสี่ยงเกิด Recession จากอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่ากรอบเป้าหมายมาก และอาจยาวนาน สะท้อนผ่าน Bond Yield ที่ปรับตัวลงโดยเฉพาะอายุ 10 ปี ส่งผลให้เกือบเห็นภาพ Inverted Yield Curve อีกครั้ง โดย Bond Yield 10Y-2Y ของสหรัฐฯแคบเพียง 0.05% เราคาดว่า 3Q22 จะเป็นไตรมาสที่ตลาดผันผวน และขึ้นอยู่กับเงินเฟ้อว่าจะชะลอตัวลงชัดเจนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยจะยังแข็งแกร่งกว่าหนุนจากเศรษฐกิจที่เร่งตัวและการเปิดประเทศ กลยุทธ์ยังเน้นลงทุนในหุ้น Value และ Selective หุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว และมีแนวโน้มกำไร 2Q22-2H22 ที่แข็งแกร่ง ถูกกระทบจากกำลังซื้อที่ชะลอ และต้นทุนที่ปรับขึ้นจํากัด

กลยุทธ์ : เน้นลงทุนหุ้น Value และหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว และแนวโน้มกำไร 2Q22-2H22 แข็งแกร่ง

หุ้นเด่นเดือน ก.ค. : CK, CPN, GFPT, KTB, MAKRO

หุ้นเด่นวันนี้ : SAPPE

  • แนะนํา “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 43 บาท
  • คาดกําไร 2Q22-3Q22 มีลุ้นทำ New High ต่อเนื่อง จากการส่งออกที่แข็งแกร่ง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  และผลบวกจากบาทอ่อน ชดเชยต้นทุนที่ปรับขึ้นได้ทั้งหมด
  • เราปรับเพิ่มกำไรขึ้นโดยคาดปี 2023-2025 จะโตเฉลี่ย +18% CAGR น่าประทับใจ โดยเฉพาะตลาดใหม่อย่างอินเดียที่กำลังจะเป็น Rising Star ถัดไป หลังเห็นสัญญาณการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอยู่ช่วงได้ Economy of scale ที่สุดจาก Utilization Rate ที่คาดเต็มในปี 2024 โดยจะเริ่มขยายกำลังการผลิตช่วงปลายปี 2023
  • แนวรับ 35.25//34 บาท แนวต้าน 37//38.50 บาท

Fund Flow : เมื่อวันศุกร์กระแสเงินทุนยังไหลออกจากภูมิภาคอีก US$734 ล้าน นำโดยไต้หวันและเกาหลีใต้ประเทศละ US$339-357 ล้าน ส่วนอาเซียนเม็ดเงินไหลออกทุกประเทศบางๆ โดยไทยไหลออกสูงสุดที่ US$21 ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนคาดว่ายังค่อนไปในทิศทางไหลออก ตลาดยังคงกังวลการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก รวมถึงเศรษฐกิจที่มีโอกาส Recession ในปีหน้า

ประเด็นสำคัญวันนี้

(0) สัปดาห์นี้ตัวเลขเศรษฐกิจมากขึ้น ทั้งเงินเฟ้อไทยเดือน มิ.ย. ที่ตลาดคาด +7.5% Y-Y เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ +7.1% Y-Y รายงานการประชุม FOMC ครั้งก่อน รวมถึงตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ซึ่งตลาดคาดปรับตัวลงเหลือ 2.5 แสนตำแหน่งจากเดือนก่อนที่ 3.9 แสนตำแหน่ง และตามด้วยตัวเลขสําคัญที่สุดในสัปดาห์หน้า คือ เงินเฟ้อเดือน มิ.ย. ของสหรัฐฯ ตลาดคาด +8.6% Y-Y คาดตลาดยังอยู่ในช่วงแกว่งตัว Sideways ในกรอบกว้าง และความกังวงหลักยังอยู่ที่โอกาสเกิด Recession ในปีหน้า สะท้อนผ่าน Bond Yield ที่ปรับร่วงแรง

(+) DELTA ระยะสั้นคาดกําไรปกติ 2Q22 จะยังเติบโต +8% Q-Q, +70% Y-Y แม้ยังมีปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบและแรงงาน ทำให้ยังไม่สามารถขยายกำลังการผลิตให้ได้ทัน แต่ถูกหักล้างด้วยคำสั่งซื้อที่ยังแข็งแกร่งของ Data Center และการฟื้นตัวของรายได้ EV รวมถึงค่าเงินบาทอ่อนค่า และคาดกำไร 3Q22 จะเร่งตัวขึ้นอาจเป็นจุดสูงสุดของปี ตามปัจจัยฤดูกาล คาดหวังปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบจะทยอยคลี่คลาย หลังจีนผ่อนคลายล็อกดาวน์ เราคาดกำไรปกติปี 2022-2023 +62% Y-Y และ +10% Y-Y ตามลำดับ คงราคาเป้าหมาย 330 บาท ราคาหุ้นปรับลง -16% YTD จึงปรับคำแนะนําขึ้นเป็น “เก็งกำไร”

(+) BH คาดกำไร 2Q22 ชะลอเล็กน้อย -2% Q-Q แต่โต 3x Y-Y จากผู้ป่วยต่างชาติที่ฟื้นตัวโดดเด่นมาก และคาดกลับสสู่ระดับ 84% เทียบกับก่อน COVID-19 นำโดยตลาดตะวันอกกลางและ CLMV แม้จะมีผลกระทบจากรอมฎอน ขณะที่ผู้ป่วยไทยปรับตัวขึ้นดีกว่าก่อน COVID-19 แล้วราว 15-20% ระยะถัดไปมี Upside จากตลาดซาอุฯ หลังฟื้นสัมพันธ์ และมีจํานวนประชากรมากกว่า UAE 2 เท่า เราปรับประมาณการกำไรปี 2022 ขึ้นเป็น +139% Y-Y ส่วนปี 2023 ยังคาด +38 Y-Y ปรับเพิ่มราคาเป้าหมายปี 2023 เป็น 210 บาท แนะนำ “ซื้อ” (Source: FSSIA)

(+) ตลาดดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 321.83 จุด หรือ 1.05% ปิดที่ 31,097.26 จุด จากการเข้าซื้อหุ้นในวันแรกของ 3Q22 ก่อนวันหยุดยาวในช่วงสุดสัปดาห์นี้ ขณะที่มีรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ปรับลงเป็น 52.7 ในเดือนมิ.ย. ต่ำกว่า 57.0 ในเดือนพ.ค. แต่สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ 52.4

(0) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดทรงตัว แม้มีการปรับขึ้นของหุ้นกลุ่มปลอดภัย แต่มีแรงกดดันจากการขายหุ้น Semiconductor และกลุ่มที่เกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์

(+) ตลาดหุ้นเอเชีย ปรับขึ้น ตามทิศทางตลาดหุ้นดาวโจนส์ ท่ามกลางติดตามธนาคารกลางออสเตรเลียและมาเลเซียประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้

(-) ค่าเงินบาท อ่อนค่าลง อยู่ที่บริเวณ 35.66 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX เพิ่มขึ้น 2.67 ดอลลาร์ หรือ 2.5% ปิดที่ 108.43 ดอลลาร์/บาร์เรล จากความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันตึงตัวในตลาดโลก

(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 5.8 ดอลลาร์ หรือ 0.32% ปิดที่ 1,801.5 ดอลลาร์/ออนซ์ จากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 1,041.90 / -8.41

- Advertisement -