บล.พาย:

BBL: บมจ. ธนาคารกรุงเทพ ยังดีอยู่

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 159.00 บาท ชอบ BBL ตรงที่มีงบดุลแข็งแกร่งพอรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น มีการเติบโตของกำไรที่มั่นคง อาจได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น และมีมูลค่าหุ้นไม่แพง คาดกำไรสุทธิ 2Q22 โต 17% YoY และ 4% QoQ คุณภาพสินเชื่อยังยืดหยุ่นดี ด้วยอัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อ (NPL ratio) ที่ทรงตัว และอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่แข็งแกร่ง พร้อมรับมือ กับ NPLs ใหม่

คาดกำไรสุทธิที่แข็งแกร่งใน 2Q22

  • คาดกำไรสุทธิ 2Q22 ที่ 7.4 พันล้านบาทในโตขึ้น 17% YoY (+4% QoQ) การเติบโต YoY ได้แรงหนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้น และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง ส่วนในเชิง QoQ คาดโตขึ้นเล็กน้อยจากรายได้การ ดำเนินงานที่สูงขึ้น ขณะที่คาดว่าอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) จะค่อนข้างทรงตัวที่ 2.1% ใน 2Q22 ประเมินอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย QoQ เป็น 50.1% (1Q22: 49.8%)
  • คาดสินเชื่อ 2Q22 โต 1% QoQ เพราะประเมินว่าสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อระหว่างประเทศจะโตขึ้น ในด้านคุณภาพสินเชื่อยังยืดหยุ่นดีด้วย NPL ratio ที่ทรงตัว 3.3% อัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ยังอยู่ในระดับสูงที่ 228% คาดว่าเพียงพอต่อการรับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคต

การเติบโตยังมั่นคงเหมือนเดิม

  • ด้วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น จึงคาดว่ากำไรสุทธิของธนาคารจะโตแข็งแกร่งต่อเนื่องที่ 15% YoY ในปี 2022 และ 11% ในปี 2023 ด้วยแรง หนุนจากการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง และรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้นจาก สินเชื่อที่โตต่อเนื่อง
  • คาดธนาคารจ่ายเงินปันผล 4.8 บาท/หุ้น ในปี 2022 และ 5.4 บาท/หุ้น ในปี 2023 คิดเป็นอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่ 3.6% ในปี 2022 และ 4% ในปี 2023 ตามลำดับ โดยคาดถึงอัตราการจ่ายปันผลที่ 30% ในปี 2022-23 ต่ำกว่า 36% ในปี 2019

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐานที่ 159.00 บาท

  • เลือก BBL เป็นหุ้นเด่นของกลุ่มธนาคาร คำแนะนำซื้อสะท้อน 1) งบดุลที่ยืดหยุ่นดี ด้วยอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ระดับสูง และฐานเงินทุนที่แข็งแกร่งพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคต 2) การเติบโตของกำไรสุทธิที่มั่นคง 3) ประโยชน์ที่อาจได้รับจากดอกเบี้ยขาขึ้นที่น่าจะช่วยหนุน NIM ขึ้น และ 4) มูลค่าหุ้นที่ไม่แพง มูลค่าพื้นฐานคำนวณด้วยวิธี Gordon Growth Model (ROE 6.5%, อัตราการเติบโต 2%) อิง 0.6x PBV’22E หรือ -0.5SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี (2017-2021)

Revenue breakdown

รายได้ของธนาคารมาจาก:

  • รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 82% ของรายได้รวมของธนาคารในปี 2021 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิถือเป็นรายได้หลัก หากการเติบโตของสินเชื่อของธนาคารและ NIM สูง รายได้นี้จะเติบโตสูงไปด้วย
  • รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ 22% ของรายได้รวมในปี 2021 โดยรายได้จากส่วนนี้ประกอบด้วยรายได้ค่าธรรมเนียมในการจัดการสินทรัพย์ และค่าธรรมเนียมวาณิชธนกิจ
  • รายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ 17% ของรายได้รวมในปี 2021 โดยรายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ ส่วนใหญ่มาจากกำไรจากการลงทุนการซื้อขายและกิจกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และรายได้เงินปันผล
- Advertisement -